ไทยแลนด์
Saturday 23rd of November 2024
0
نفر 0

อิมามมะฮ์ดีจะปรากฏกายที่ไหน?

อิมามมะฮ์ดีจะปรากฏกายที่ไหน?

หลังจากที่บรรยากาศทางการเมืองในสามดินแดน คือ "อิหร่าน" "อิรัก" และ "ฮิญาซ" สงบลง ทั้งหมดจะรับฟังคำสั่งของท่านอิมาเว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลามมมะฮ์ดี (อ.) และท่านอิมาม (อ.) จะเลือกเอาเมือง “กูฟะฮ์” เป็นเมืองหลวงของท่าน เพื่อที่จะขับเคลื่อนไปสู่ดินแดนส่วนต่างๆ ที่เหลือของโลก บรรดาผู้ปราชัยที่ยังคงเหลืออยู่ของกองทัพซุฟยานี จะรวมตัวกันอยู่ในดินแดนชาม (ซีเรีย) แน่นอนในงานนี้บรรดามหาอำนาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องและอยู่เบื้องหลัง ผลของสงครามระดับโลกที่จะเกิดขึ้นก่อนการปรากฏกาย (ซุฮูร) ของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) บรรดาประเทศที่มีอำนาจจะพบกับความอ่อนแอ หมดเรี่ยวแรงและลมหายใจรวยริน ซุฟยานีจะเป็นแนวต้านทานและโล่สำหรับรัฐบาลเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดินแดน "ปาเลสไตน์" จะเป็นศูนย์กลางของวิกฤตใน "ตะวันออกกลาง"

ก่อนการปรากฏกาย (ซุฮูร) ของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) และการรวมตัวของคนเหล่านี้ จะก่อให้เกิดการจลาจลและวิกฤตการณ์ต่างๆ ในเขตชายแดนภาคเหนือของอิรัก ด้วยเหตุนี้ท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) จึงจัดเตรียมกองทัพของท่านเพื่อจัดการกับพวกเขา ท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) จะตั้งค่ายพักในพื้นที่ “มะร่อญุน อัซรออ์” และดูเหมือนว่าการยืนหยัดและการปฏิวัติของประชาชนในดินแดนชามจะเป็นสาเหตุทำให้ซุฟยานีล่าถอยและย้อนกลับไปยังดินแดนปาเลสไตน์ และเขาพร้อมด้วยไพร่พลในกองทัพของเขาจะรวมตัวกันที่นั้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับสงครามครั้งยิ่งใหญ่ในการพิชิต “อัลกุดส์” (นครเยรูซาเล็ม) เนื่องจากคำรายงาน (ริวายะฮ์) ทั้งหลายได้กล่าวว่า ท่านอิมาม (อ.) จะตั้งค่ายพักในพื้นที่ “มะร่อญุน อัซรออ์” (1) และในช่วงเวลาเดียวกันนั้นซุฟยานีจะอยู่ในเมือง “รอมละฮ์”

ท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า : “ต่อจากนั้นมะฮ์ดี (อ.) พร้อมด้วยบรรดาผู้ช่วยเหลือของเขาจะมายัง “มะร่อญุน อัซรออ์” ในช่วงเวลานั้นเอง ประชาชนจำนวนมากมายจะเข้าสมทบกับเขา และในช่วงเวลาดังกล่าวซุฟยานีจะอยู่ในเมือง “ร็อมละฮ์” จนกระทั่งทั้งสองกองทัพนี้จะมามาเผชิญหน้ากัน และวันนั้นคือวันของการเลือกและการเปลี่ยนแปลงและการแลกเปลี่ยน ชาวชีอะฮ์จำนวนมากที่อยู่กับซุฟยานีจะแปรพรรคเข้าสมทบกับกองทัพของอิมามมะฮ์ดี (อ.) และจำนวนมากของผู้ที่เคยอยู่ร่วมกับวงศ์วาน (อาลิ) มุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ก็จะแปรพรรคเข้าสมทบกับซุฟยานี แต่ละคนจะเข้าสมทบในค่ายของตัวเอง และจะเข้าอยู่ภายใต้ธงรบของตัวเอง และวันนั้นจะเป็นวันแห่งการเลือก การเปลี่ยนแปลงและการแลกเปลี่ยน” ( 2)

เพื่อที่จะทำให้ข้อพิสูจน์และเหตุผลต่างๆ เป็นที่สมบูรณ์แก่กองทัพดังกล่าว ท่านอิมาม (อ.) พยายามที่จะเจรจาพูดคุยกับพวกเขา เพื่อว่าบางทีบางส่วนของพวกเขาจะได้รับทางนำ (ฮิดายะฮ์) และจะทำให้แนวรบด้านในของพวกเขาเกิดความสั่นคลอน ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เองท่านอิมาม (อ.) จะเรียกร้องเชิญชวนซุฟยานีมาสู่การเจรจา
อิบนุฮัมมาด ได้กล่าวว่า : “ซุฟยานีจะตอบรับคำเชิญของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) และยอมเข้าสู่การเจรจากับท่าน เขาจะมอบภารกิจทั้งมวลให้กับท่านอิมาม (อ.) และยอมให้สัตยาบัน (บัยอัต) ต่อท่าน แต่เมื่อซุฟยานีกลับไปยังพรรคพวกของเขา (ชาวเผ่า) กัลบ์ ได้ทำให้เขารู้สึกเสียใจ ทำให้เขาต้องการที่จะทำลายคำมั่นสัญญาของเขา ท่านอิมาม (อ.) จึงได้จัดเตรียมทัพเพื่อทำสงครามกับเขา และท่านอิมามจะทำให้เขาพบกับความปราชัย และในท้ายที่สุด พระผู้เป็นเจ้าจะทรงพิชิตโรมด้วยมือของท่าน” (3)
ประโยคสุดท้ายของคำรายงานนี้ หมายถึงประโยคที่ว่า “พระผู้เป็นเจ้าจะทรงพิชิตโรมด้วยมือของท่าน” เป็นการชี้ถึงประเด็นที่ว่า กองกำลังของชาวโรม (อาจหมายถึงยุโรปและตะวันตก) และชาวยิวและอื่นๆ เพื่อที่จะรับมือกับคลื่นและการขยายตัวของอิสลาม พวกเขาจะให้การสนับสนุนซุฟยานี อิสลามที่ได้เริ่มต้นขึ้นจาก “คาบสมุทรอาหรับ” และดินแดน “ชาม” และเครื่องแห่งสงครามต่างๆ ที่น่าหวาดกลัวระหว่างทั้งสองฝ่าย (หมายถึงระหว่างมุสลิมในฝ่ายหนึ่งและผู้ที่ยังคงเหลืออยู่ของกองทัพผู้ปฏิเสธ (กุฟร์) ซึ่งประกอบด้วยกรุงโรม ชาวยิวและประชาชนส่วนอื่นๆ) ก็จะเริ่มขับเคลื่อนหมุนไป ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ในฮะดีษ (วจนะ) ที่มุสลิม ติรมีซีและอะห์มัด อิบนิฮันบัล ได้รายงานมาจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) ซึ่งท่านกล่าวว่า

لاتقوم الساعة حتی یقاتل المسلمون الیهود فیقتلهم المسلمون

“วันสิ้นโลกจะยังไม่เกิดขึ้น จนกว่าชาวมุสลิมจะต่อสู้กับชาวยิวและชาวมุสลิมจะสังหารพวกเขา” (4

พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่งได้ทรงตรัสไว้ในคัมภีร์อัลกุรอานว่า


وَ قَضَیْنَا إِلَى بَنِی إِسْرَائِیلَ فِی الْکِتَابِ لَتُفْسِدُنَّ فِی الْأَرْضِ مَرَّتَیْنِ وَ لَتَعْلُنَّ عُلُوّاً کَبِیراً* فَإِذَا جَاءَ وَعْدُ أُولاَهُمَا بَعَثْنَا عَلَیْکُمْ عِبَاداً لَنَا أُولِی بَأْسٍ شَدِیدٍ فَجَاسُوا خِلاَلَ الدِّیَارِ وَ کَانَ وَعْداً مَفْعُولاً* ثُمَّ رَدَدْنَا لَکُمُ الْکَرَّةَ عَلَیْهِمْ وَ أَمْدَدْنَاکُمْ بِأَمْوَالٍ وَ بَنِینَ وَ جَعَلْنَاکُمْ أَکْثَرَ نَفِیراً* إِنْ أَحْسَنْتُمْ أَحْسَنْتُمْ لِأَنْفُسِکُمْ وَ إِنْ أَسَأْتُمْ فَلَهَا فَإِذَا جَاءَ وَعْدُ الْآخِرَةِ لِیَسُوءُوا وُجُوهَکُمْ وَ لِیَدْخُلُوا الْمَسْجِدَ کَمَا دَخَلُوهُ أَوَّلَ مَرَّةٍ وَ لِیُتَبِّرُوا مَا عَلَوْا تَتْبِیراً

“และเราได้แจ้งแก่วงศ์วานของอิสรออีล ไว้ในคัมภีร์ (ของพวกเขา) ว่า แน่นอนยิ่งพวกเจ้าจะก่อความเสียหายในแผ่นดินสองครั้ง และแน่นอนยิ่ง พวกเจ้าจะกำเริบเสิบสานอย่างใหญ่หลวง ดังนั้นเมื่อสัญญา (การลงโทษ) ครั้งแรกจากทั้งสองครั้งมาถึง เราได้ส่งบรรดาบ่าวของเราผู้มีพลังอำนาจเข้มแข็งมาจัดการกับพวกเจ้า โดยที่พวกเขาได้บุกตะลุยเข้าค้นตามบ้านเรือน (ของพวกเจ้า เพื่อสังหารและยึดชิงทรัพย์สินของพวกเจ้า) และนั่นเป็นสัญญาที่ได้เกิดขึ้นแล้ว ต่อมาเราได้ให้พวกเจ้ากลับมีอำนาจเหนือพวกเขาอีกครั้งหนึ่ง และเราได้ช่วยให้พวกเจ้ามีทรัพย์สินและบุตรหลานจำนวนมาก และเราได้ทำให้พวกเจ้ามีรี้พลมากมายกว่าเดิม หากพวกเจ้าทำความดี พวกเจ้าก็ทำดีแก่ตัวของเจ้าเอง และหากพวกเจ้าทำความชั่ว นั่นก็แก่ตัวพวกเจ้าเอง ต่อมาเมื่อสัญญาครั้งสุดท้ายมาถึง (พวกเขาจะมา) เพื่อทำให้ใบหน้าของพวกเจ้าพบกับความเศร้าโศก และเพื่อพวกเขาจะเข้าไปในมัสยิดเหมือนเช่นที่พวกเขาได้เข้าไปแล้วในครั้งแรก และทำลายสิ่งที่พวกเขาได้ครอบครองไว้อย่างหมดสิ้น” (5)

ในการอรรถาธิบายโองการนี้ อัยยาชี ได้อ้างอิงคำรายงานจากฮุมรอน โดยเขาได้เล่าว่า ท่านอิมามบากิร (อ.) ได้อ่านโองการนี้ คือ

بَعَثْنَا عَلَیْکُمْ عِبَاداً لَنَا أُولِی بَأْسٍ شَدِیدٍ

         “เราได้ส่งบรรดาบ่าวของเราผู้มีพลังอำนาจที่เข้มแข็งมาจัดการกับพวกเจ้า”
 
จากนั้น ท่านกล่าวว่า

هو القائم واصحابه أولي بأس شديد

         “เขาคือ อัลกออิม (อิมามมะฮ์ดี) และบรรดาสหายของเขา คือผู้มีพลังอำนาจที่เข้มแข็ง” (6)

ท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) จะปลดปล่อยอัลกุดส์ (เยรูซาเล็ม) และจะนำกิบลัตแห่งแรกของชาวมุสลิม (มัสยิดอัลอักซอ) กลับคืนมาสู่เจ้าของที่แท้จริงของมัน และจะทำให้แผ่นดินเต็มเปี่ยมไปด้วยความยุติธรรมและความเที่ยงธรรม หลังจากที่ได้พบกับการกดขี่และความอธรรมอย่างมากมาย กงล้อของกองทัพแห่งผู้ปฏิเสธและผู้กลับกลอกจะไม่หยุดการเคลื่อนไหว แต่ทว่าบรรดาประเทศและรัฐบาลทั้งหลายที่ให้การสนับสนุนซุฟยานี จะจัดเตรียมทัพของตนเพื่อโจมตีมุสลิมอีกครั้งหนึ่ง ตามรูปการแล้วท่านศาสดาอีซา (อ.) (หรือพระเยซู) จะลงมายังแผ่นดินภายหลังจากการปลดปล่อย “อัลกุดส์” (เยรูซาเล็ม) แล้ว เนื่องจากคำรายงาน (ริวายะฮ์) ทั้งหลายไม่ได้พูดถึงสิ่งใดเกี่ยวกับบทบาทของท่านในการทำสงครามครั้งนี้ไว้เลย แต่ทว่าได้เน้นย้ำถึงบทบาทของท่านภายหลังจากสงครามครั้งนี้ และบอกว่าท่านจะลงมาและจะนมาซตามหลังท่านอิมามมะฮ์ดี (อ) คำรายงาน (ริวายะฮ์) ได้กล่าวว่า

“ในวันศุกร์และในขณะที่จะทำการนมาซ ในช่วงเวลานั้นเอง อีซาบุตรของมัรยัม (อ.) จะลงมาจากฟากฟ้า เขาจะสวมใส่เสื้อผ้าชุดสีแดงสองชิ้น โดยน้ำมันจะหยดลงจากศีรษะของเขา เขาเป็นผู้มีรูปร่างที่งดงามและมีใบหน้าขาวผ่อง และมีความละม้ายคล้ายคลึงกับอิบรอฮีม (อ.) เป็นอย่างมาก มะฮ์ดี (อ.) จะมาสัมผัสมือ (และกล่าวทักทายต้อนรับ) เขา และจะแจ้งข่าวดีถึงชัยชนะต่อเขา ในช่วงเวลานั้นเองมะฮ์ดี (อ.ญ.) จะกล่าวกับเขาว่า “โอ้ท่านรูฮุลลอฮ์! จงก้าวออกไปข้างหน้าและจงเป็นอิมามนำนมาซแก่ประชาชนเถิด” และอีซา (อ.) จะกล่าวว่า “ทว่ามัน (การนำนมาซญะมาอะฮ์) เป็นหน้าที่ของท่าน โอ้บุตรของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์!” (7)

มัสตูร บินฆีลาน ได้กล่าวถามท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ว่า

 : “ในวันนั้นใครจะเป็นผู้นำนมาซประชาชน?” ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ตอบว่า : “มะฮ์ดี (อ) จากลูกหลานของฉัน" ( 8)


เชิงอรรถ :

[1] “มะร่อญุน อัซรออ์” (مرج عذراء) ชนบทแห่งหนึ่งในดามัสกัส

[2] ตัฟซีร อัลอัยยาชี, เล่มที่ 1, หน้าที่ 66

[3] กิตาบุลฟิตัน, มะรูซี, หน้าที่ 218

[4] มุสนัด, อะห์มัด อินุฮันบัล, เล่มที่ 2, หน้าที่ 417

[5] ซูเราะฮ์อัลอิสรออ์ (17)/อายะฮ์ที่ 4-7

[6] ตัฟซีร นูรุษษะกอลัยน์, เล่มที่ 3, หน้าที่ 138

[7] มัจญ์มะอุนนูร็อยน์ วะ มุลตะก็อลบะห์ร็อยน์, อบุลฮะซัน มัรนะดี, หน้าที่ 283

[8] บิฮารุ้ลอันวาร, เล่มที่ 51, หน้าที่ 80 ผู้เขียน: นะซีร อัลฮุซัยนี


ขอขอบคุณเว็บไซต์ซอฮิบซะมาน

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ชื่อและสายตระกูลของซุฟยานี
มุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ...
ซากีนะฮ์(อ.) ...
ความสำคัญของเพื่อนบ้าน
...
ที่มาของตัฟซีรอัลกุรอานของ ...
...
...
ฆอดีรคุม ...
ชีวิตคู่ในอิสลาม

 
user comment