ไทยแลนด์
Monday 25th of November 2024
0
نفر 0

อรรถาธิบาย ดุอาอ์ประจำวันที่ 23 เดือนรอมฎอน

อรรถาธิบาย ดุอาอ์ประจำวันที่ 23 เดือนรอมฎอน

อรรถาธิบาย ดุอาอ์ประจำวันที่ 23 เดือนรอมฎอน

 

بسم الله الرحمن الرحيم

اَللّـهُمَّ اغْسِلْني فیهِ مِنَ الذُّنُوبِ

وَطَهِّرْني فیهِ مِنَى الْعُیُوبِ

وَامْتَحِنْ قَلْبي فیهِ بِتَقْوَى الْقُلُوبِ

یا مُقیلَ عَثَراتِ الْمُذْنِبینَ

 
ความหมาย

 

โอ้อัลลอฮ์ โปรดชำระล้างบาปต่างๆ โปรดขจัดความบกพร่องทั้งหลาย โปรดทดสอบจิตใจของข้าฯด้วยความสำรวมตนต่อพระองค์ โอ้พระผู้ทรงอภัยในความผิดพลาดของผู้ทำบาปทั้งหลาย

 

คำอธิบาย

 

اَللّـهُمَّ اغْسِلْني فیهِ مِنَ الذُّنُوبِ

 

โอ้อัลลอฮ์ ในวันนี้โปรดชำระล้างบาปต่างๆของข้าฯด้วยเถิด

 

เมื่อเราเป็นแขกรับเชิญของใครบางคน เราจะอาบน้ำแต่งตัวให้สะอาดเรียบร้อยเพื่อเข้าร่วมงาน  ในเดือนรอมฎอนอันจำเริญนี้เราได้รับเกียรติเป็นแขกของพระองค์  แต่ถามว่าเราได้ทำการชำระล้างความสกปรกด้านจิตใจของเราแล้วหรือยัง?  หัวใจของเราถูกขัดสนิมที่เกาะติดอยู่บนหัวใจแล้วหรือยัง ?


 
شَهْرٌ دُعِیتُمْ فِیهِ إِلَی ضِیافَةِ اللَّهِ

 

เป็นเดือนที่พวกท่านถูกเชิญเป็นแขกของพระองค์อัลลอฮ์(ซบ)  ซึ่งพวกท่านเป็นแขกผู้มีเกียรติของพระองค์ที่ได้นั่งสำรับอาหารที่มีความบารอกัตจากพระองค์  เราจำต้องมีความพร้อมในการเป็นแขกครั้งนี้ ด้วยการมีหัวใจที่สะอาดบริสุทธิ์ ด้วยเหตุนี้เราจึงวิงวอนจากพระองค์ให้ชำระล้างบาปต่างๆของเราและเปิดโอกาสให้เราได้เป็นแขกที่ดีและคู่ควรของพระองค์

 

ในโองการและฮะดิษ ได้กล่าวว่า พระองค์จะทรงอภัยบาปทุกประการของปวงบ่าว

 

إِنَّ اللَّهَ يَغْفِرُ الذُّنُوبَ جَمِيعًا

 

ความว่า แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงอภัยความผิดทั้งหลายทั้งมวล

 

แต่จะมีสิ่งหนึ่งที่พระองค์จะไม่ทรงอภัยโทษนั้นคือ การตั้งภาคี ดังโองการกล่าวว่า

 

إِنَّ اللَّهَ لَا يَغْفِرُ أَن يُشْرَكَ بِهِ

 

แท้จริงอัลลอฮ์ จะไม่ทรงอภัยโทษให้แก่บุคคลที่ตั้งภาคีกับพระองค์

 

“ความหมายของการชำระล้างบาป”


หมายความว่า  ขอพระองค์โปรดชำระล้างบาปต่างๆเหล่านี้อย่าให้เหลือร่องรอยของบาปในเรือนร่างและจิตวิญญาณของเรา เพื่อที่จะไม่ให้บาปต่างๆเหล่านี้เป็นอุปสรรค์และตัวขวางกั้นให้เราใกล้ชิดยังพระองค์  ซึ่งในวันนี้เราได้วิงวอนขอให้พระองค์โปรดชำระล้างบาปต่างๆให้เรามีความสะอาดบริสุทธิ์เพื่อสามารถก้าวไปถึงตำแหน่งทางจิตวิญญาณที่สูงส่ง

 

ประโยคถัดมา


 
 وَ طَهِّرْنِي فِیهِ مِنَ الْعُیوبِ

 

โอ้อัลลอฮ์ ในวันนี้โปรดขจัดความบกพร่องทั้งหลายของเราด้วยเถิด


 
การนินทา การโอ้อวด การอิจฉาริษยาและ....ล้วนเป็นข้อบกพร่องของมนุษย์  ซึ่งการงานที่บกพร่องจะไม่ถูกตอบรับจากพระองค์

 

ริวายะห์


การงานหรืออะมั้ลของเราจะต้องผ่านไปถึงฟากฟ้าชั้นที่เจ็ด  ในแต่ชั้นฟ้าจะกล่าวกับทุกข้อบกพร่องว่า  “หยุด”  และเจ้าหน้าที่ดูแลชั้นฟ้าที่หนึ่งก็จะดูสมุดบันทึกและสมุดการงาน หากเห็นว่ามีการบันทึกการนินทาของเราแล้ว  ก็จะกล่าวว่า  “จงขว้างอะมั้ลนี้กลับคืนเจ้าของเสีย”  และอะมั้ลก็จะหยุดอยู่ตรงฟากฟ้าชั้นแรก  และฟากฟ้าชั้นอื่นๆก็เช่นกันจะทำการตรวจสอบอะมั้ลในลักษณะเช่นนี้.....

 

หนังสือบิฮารุล อันวาร เล่ม 67 , 68  

 

ประโยคถัดมา

 

وَ امْتَحِنْ قَلْبِي فِیهِ بِتَقْوَی الْقُلُوبِ

 

โปรดทดสอบจิตใจของข้าฯ ด้วยความสำรวมตนต่อพระองค์

 

หากเราจะเปรียบเทียบคำสอนของศาสนาแล้วเปรียบเสมือนไฟจราจร มีทั้งไฟแดงและไฟเขียว  ไฟแดงเป็นสัญลักษณ์และขอบเขตที่ต้องห้าม ส่วนไฟเขียวเป็นสัญลักษณ์และขอบเขตที่อนุมัติ  ดังนั้นสามารถกล่าวได้ว่า ตักวา คือการไม่ฝ่าไฟแดง

 

และการระมัดระวังไฟแดงก็มีสองรูปแบบ  บางครั้งจะหยุดไฟแดงเนื่องจากกลัวถูกใบสั่ง(ปรับและลงโทษ) และบางครั้งเพื่อเคารพในกฎจราจรและกฎหมายของประเทศ ซึ่งการกระทำในรูปแบบที่สองเป็นสิ่งดีกว่า


บุคคลที่มีความยำเกรงมากในวันกิยามัตเขาก็จะมีสถานะที่ดีที่สุด  เนื่องจากในโลกนี้เขาจะปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์อย่างเคร่งครัด


 
อัลลอฮ์ กล่าวว่า

 

وَالَّذِينَ اتَّقَوْا فَوْقَهُمْ يَوْمَ الْقِيَامَةِ ۗ وَاللَّهُ يَرْزُقُ مَن يَشَاءُ بِغَيْرِ حِسَابٍ

 

บรรดาผู้ยำเกรงนั้นจะสถานภาพที่ เหนือกว่าพวกเขา(บรรดาผู้ปฏิเสธ)ในวันกิยามะฮ์และอัลลอฮ์จะทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ โดยปราศจากการคำนวณนับ

 

และพระองค์ทรงตรัสว่า

 

لِلَّذِينَ اتَّقَوْا عِندَ رَبِّهِمْ جَنَّاتٌ تَجْرِي مِن تَحْتِهَا الْأَنْهَارُ خَالِدِينَ فِيهَا وَأَزْوَاجٌ مُّطَهَّرَةٌ وَرِضْوَانٌ مِّنَ اللَّهِ ۗ وَاللَّهُ بَصِيرٌ بِالْعِبَادِ

 

ความว่า บรรดาผู้ที่ยำเกรงนั้น ณ พระผู้เป็นเจ้าของพวกเขา พวกเขาจะได้รับบรรดาสวนสวรรค์ ซึ่งมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านอยู่เบื้องล่าง โดยที่พวกเขาจะพำนักอยู่ในสวนสวรรค์เหล่านั้นตลอดกาลและจะได้รับบรรดาคู่ครองที่บริสุทธิ์ และความพึงใจจากอัลลอฮ์ด้วย และอัลลอฮ์นั้นทรงเห็นบรรดาบ่าวทั้งหลาย

 

ดังนั้นในวันนี้แม้นว่าเราจะมีความผิดบาปและข้อบกพร่องอันมากมาย  แต่ด้วยความเมตตาของพระองค์ โปรดชำระล้างความผิดบาปของเราและนำเราสู่ตำแหน่งที่สูงส่งของความยำเกรง ณ พระองค์ด้วยเถิด

 

ประโยคสุดท้าย

 

یا مُقِیلَ عَثَرَاتِ الْمُذْنِبِین

 

โอ้พระผู้ทรงอภัยในความผิดพลาดของผู้ทำบาปทั้งหลาย

 

บทความโดย เชคอิบรอฮิม อาแว

 

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

กุรอานกับการแต่งกาย
ถุงเท้ามุสลิมะฮ์
ดุอาอ์ คือ ตัวกำหนดอิหม่าน”
กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการถือศีลอด
อะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ในอัล-กุรอาน
อัลกุรอาน คัมภีร์แห่งทางนำ
...
คุณลักษณะของมนุษย์ผู้สมบูรณ์
...
การเป็นศาสดาคนสุดท้ายของโลก

 
user comment