อรรถาธิบายดุอาอ์ ประจำวันที่ 12 เดือนรอมฎอน
بسم الله الرحمن الرحيم
اللّهمّ زَینّي فیهِ بالسّتْرِ والعَفافِ
واسْتُرني فیهِ بِلباسِ القُنوعِ والکَفافِ
واحْمِلني فیهِ علی العَدْلِ والإنْصافِ
وامِنّي فیهِ من کلِّ ما أخافُ بِعِصْمَتِك یا عِصْمَةَ الخائِفین
ความหมาย :
โอ้อัลลอฮ์ โปรดประดับประดาข้าฯด้วยการปกปิดความผิดและประทานความบริสุทธิ์
และทรงสวมใส่อาภรณ์แห่งความสำรวมและความระมัดระมัดระวังแก่ข้าฯ
โปรดให้ข้าฯ ดำรงมั่นอยู่กับความยุติธรรมและดุลยภาพ
โปรดให้ข้าฯปลอดภัยจากความหวาดกลัวทั้งมวล
ด้วยการคุ้มครองของพระองค์ โอ้ พระผู้ทรงคุ้มครองผู้หวาดกลัวทั้งหลาย
คำอธิบาย :
اللّهمّ زَینّي فیهِ بالسّتْرِ والعَفافِ
โอ้อัลลอฮ์ ในเดือนรอมฎอนนี้โปรดประดับประดาข้าฯ ด้วยสองสิ่งด้วยเถิด คือ “ปกปิดความผิดและประทานความบริสุทธิ์”
คำว่า “ซิตร์” คือ การปกปิดบาปต่างๆของเพื่อนมนุษย์ หากคนๆหนึ่งมีข้อบกพร่องแล้วมันเกี่ยวข้องตรงไหนกับเรา ? ช่างโชคดีเสียเหลือเกินสำหรับบ่าวที่ใส่ใจความบกพร่องของตนเอง และไม่สนใจในความบกพร่องของคนอื่น หากเพื่อนของเจ้ามีข้อบกพร่องและไม่ดี ก็อย่าไปบอกคนอื่น การนินทาเป็นสิ่งที่ฮะราม จะทำให้อะมั้ลที่เราได้ทำเป็นเวลาสี่สิบวันนั้นต้องสูญเปล่า อีกทั้งการงานที่ดีของผู้นินทาจะถูกบันทึกในสมุดการงานของผู้ที่ถูกนินทา
เป็นการดียิ่งหากจะมีการพูดแต่ในสิ่งที่ดีของเพื่อนมนุษย์ บุคคลที่ไม่สนใจข้อบกพร่องและสิ่งที่ไม่ดีของคนอื่นเขาย่อมมีเครื่องประดับกายที่ดีที่สุด
สิ่งที่สองที่เราขอในวันนี้ คือ “ความบริสุทธิ์” นั้นหมายความว่า การไม่ทำบาปและมีความบริสุทธิ์ทางจิตวิญญาณที่จะไม่ไปแตะต้องความผิดบาป ดังนั้นการไม่เปิดเผยข้อบกพร่องและสิ่งไม่ดีของคนอื่นและการมีความบริสุทธิ์นั้นเป็นประโยคแรกของบทดุอาอ์ในวันนี้ที่เราได้วิงวอนขอจากพระองค์
ประโยคถัดมา
واسْتُرني فیهِ بِلباسِ القُنوعِ والکَفافِ
โอ้อัลลอฮ์ โปรดสวมใส่อาภรณ์สองอย่างให้กับข้าฯด้วยเถิด อาภรณ์แห่งความสำรวมและความระมัดระมัดระวัง(ความเพียงพอ)
“กะฟาฟ” ความระมัดระวังและความเพียงพอ หมายถึง เพียงพอในสิ่งที่มีอยู่ในการดำเนินชีวิต หากร่ำรวยมหาศาลอาจจะทำให้ต้องเผชิญกับบททดสอบอย่างหนัก และหากแบมือขอทานจากบุคคลอื่นก็จะทำให้ต่ำต้อย ดังนั้นจึงวิงวอนจากพระองค์ให้ประทานชีวิตที่เรียบง่ายและมีความเพียงพอ
“กะนาอัต” การสำรวมจะก่อให้เกิดเกียรติแก่มนุษย์ ผู้ใดที่มีความสำรวมพระองค์ก็จะทรงรักและให้เกียรติเขา
สมบัติที่ดีที่สุด คือ การสำรวมตน และการสำรวมตนคือทุนชีวิตที่ไม่มีวันหมดสิ้น การสำรวมตน คือ การพอใจในสิ่งที่มีอยู่ และเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความโลภ
ประโยคถัดมา
واحْمِلني فیهِ علی العَدْلِ والإنْصافِ وامِنّي فیهِ من کلِّ ما أخافُ
โอ้อัลลอฮ์ โปรดให้ข้าฯ ดำรงมั่นอยู่กับความยุติธรรม และโปรดให้ข้าฯมีความอินศ็อฟ “ดุลยภาพ”
โอ้อัลลอฮ์ สิ่งใดที่ข้าฯมีความหวาดกลัวโปรดให้ข้าฯปลอดภัยจากความหวาดกลัวทั้งมวล
หากข้าฯถูกข่มขู่และคุกคาม โปรดให้การคุ้มครองข้าฯให้ปลอดภัยด้วยเถิด
ประโยคสุดท้าย
بِعِصْمَتِك یا عِصْمَةَ الخائِفین
ด้วยการคุ้มครองของพระองค์ โอ้พระผู้ทรงคุ้มครองผู้หวาดกลัวทั้งหลาย โอ้พระผู้ทรงให้การคุ้มครองบรรดาผู้วิงวอนต่อพระองค์ โอ้พระองค์ โปรดทรงตอบรับการวิงวอนขอของข้าฯในวันนี้ด้วยเถิด
บมความโดย เชคอิบรอฮิม อาแว