ไทยแลนด์
Tuesday 26th of November 2024
0
نفر 0

กะอ์บะฮ์ สัญลักษณ์อรัช (บัลลังก์) ของพระเจ้าบนหน้าแผ่นดิน

กะอ์บะฮ์ สัญลักษณ์อรัช (บัลลังก์) ของพระเจ้าบนหน้าแผ่นดิน


กะอ์บะฮ์ สัญลักษณ์อรัช (บัลลังก์) ของพระเจ้าบนหน้าแผ่นดิน

 

กะอ์บะฮ์ คือตัวแทนของอรัช (บัลลังก์) แห่งอัลลอฮ์ บนหน้าแผ่นดิน ซึ่งตั้งอยู่ ณ บัยตุลมะอ์มูร การเดินเวียนรอบกะอ์บะฮ์ ประหนึ่งการเดินเวียนรอบอรัชของพระองค์ของบรรดามลาอิกะฮ์ อรัชได้ถูกประทานลงมาในรูปของบัยตุลมะอ์มูร และบัยตุลมะอ์มูรก็มาในรูปของกะอ์บะฮ์เพื่อปรากฏเป็นรูปลักษณ์ตามธรรมชาติแก่มนุษย์

 


    กะอ์บะฮ์ คือตัวแทนของอรัช (บัลลังก์) แห่งอัลลอฮ์ บนหน้าแผ่นดิน ซึ่งตั้งอยู่ ณ บัยตุลมะอ์มูร การเดินเวียนรอบกะอ์บะฮ์ ประหนึ่งการเดินเวียนรอบอรัชของพระองค์ของบรรดามลาอิกะฮ์ อรัชได้ถูกประทานลงมาในรูปของบัยตุลมะอ์มูร และบัยตุลมะอ์มูรก็มาในรูปของกะอ์บะฮ์เพื่อปรากฏเป็นรูปลักษณ์ตามธรรมชาติแก่มนุษย์

 
กะอ์บะฮ์ คือ สัญลักษณ์ของอรัชของพระเจ้าบนหน้าแผ่นดิน

 

อัลลอฮ์(ซบ.) ทรงประสงค์ที่จะสร้างมนุษย์ให้บริสุทธิ์ดั่งมลาอิกะฮ์ พระองค์จึงให้ผลงานของมลาอิกะฮ์ (ทูตสวรรค์) ปรากฏในตัวมนุษย์ ดังเช่นที่พระองค์มีบัญชาให้มนุษย์ถือศีลอด

 

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِن قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ

 

“โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย การถือศีลอดถูกกำหนดแล้วสำหรับพวกเจ้า ดั่งที่ถูกกำหนดสำหรับบรรดาก่อนหน้าพวกเจ้าเพื่อพวกเจ้าจะได้สำรวมตนจากความชั่ว” (1)

 

การถือศีลอดก็เพื่อให้มนุษย์หลีกเลี่ยงความสุขตามธรรมชาติ ในแง่หนึ่งมนุษย์จึงเหมือนบรรดามลาอิกะฮ์ ที่ระวังการกิน การดื่ม และการกระทำเยี่ยงเดรัจฉาน พระองค์จึงตรัสในตอนท้ายโองการว่า “เพื่อพวกเจ้าจะได้สำรวมตน” ขณะเดียวกันพระองค์มีบัญชาให้มนุษย์เดินเวียนรอบวิหารกะอ์บะฮ์ ซึ่งเทียบเท่ากับบัยตุลมะอ์มูร ณ อรัช (บัลลังก์) ของพระองค์ เนื่องจากบรรดามลาอิกะฮ์ได้เวียนว่ายรอบอรัชของอัลลอฮ์เพื่อรำลึกถึงอัลลอฮ์ ทำการสรรเสริญด้วยพระนามของพระองค์ และวิงวอนขออภัยโทษต่ออัลลอฮ์ให้กับคนอื่น และอัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงสร้างกะอ์บะฮ์ ให้มนุษย์บนหน้าแผ่นดิน เพื่อให้มนุษย์ผู้มีศรัทธาเคร่งครัด เดินเวียนรอบ พร่ำรำลึกถึงพระองค์ และวิงวอนขออภัยโทษให้คนอื่น กะอ์บะฮ์ เขตหวงห้าม ฮะรัม บ่อน้ำซัมซัม หินดำ รุกยะมานีแต่ละอย่างล้วนเป็นสัญลักษณ์ ที่แสดงให้เห็นถึงการมีอยู่ของอัลลอฮ์ ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านั้นถือว่ามีบทบาทสูงมากต่อการรู้จักพระองค์

 

รายงานฮะดีษกล่าวว่า “กะอ์บะฮ์” คือตัวแทนของอรัชบนหน้าแผ่นดิน ซึ่งตั้งอยู่ ณ บัยตุลมะอ์มูร การเดินเวียนรอบกะอ์บะฮ์ ประหนึ่งการเดินเวียนรอบอรัชของพระองค์โดยบรรดามลาอิกะฮ์ อรัชได้ถูกประทานลงมาในรูปของบัยตุลมะอ์มูร และบัยตุลมะอ์มูรก็มาในรูปของกะอ์บะฮ์เพื่อปรากฏเป็นรูปลักษณ์ตามธรรมชาติแก่มนุษย์

 

รายงานฮะดีษกล่าวว่า กะอ์บะฮ์ คือตัวแทนของ บัยตุลมะอ์มูร และบัยตุลมะอ์มูรคือ ตัวแทนของอรัช ในความหมายคือ ถ้าหากฮุจญาตคนหนึ่งเขาเดินเวียนรอบ (เฏาะวาฟ) กะอ์บะฮ์ ด้วยคุณความดีที่สมควรจะเป็น เท่ากับเขาได้ขึ้นไปสู่ บัยตุลมะอ์มูร และเมื่อเขาขึ้นไปถึงบัยตุลมะอ์มูรได้ แสดงให้เห็นว่าเขาได้ปฏิบัติฮัจญ์อิบรอฮีมสมบูรณ์แบบแล้ว และเขาได้ไปถึงยังอรัชของอัลลอฮ์ดังฮะดีษที่กล่าวว่า “หัวใจของผู้ศรัทธาคือ อรัชเราะฮ์มาน”

 
กะอ์บะฮ์ คือ บ้านแห่งอิสรภาพ

 

เพื่อให้คุณสมบัติของคำว่า อิสรภาพ หรือการมีอิสรภาพ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของบรรดามลาอิกะฮ์ปรากฎในตัวมนุษย์ (เนื่องจากบรรดามลาอิกะฮ์ เป็นผู้มีอิสระจากมารยาทต่ำทราม อบายมุข กิเลสตัณหาและความชั่วทั้งหลาย) ดังนั้น อัลลอฮ์(ซบ.) จึงแนะนำบัยตุลลอฮ์ของพระองค์ว่า เป็นบ้านแห่งอิสรภาพ เพื่อให้ประชาชนได้เดินเวียนรอบ (เฏาะวาฟ) กะอ์บะฮ์อย่างมีอิสระ ซึ่งความหมายของเดินเวียน (เฏาะวาฟ) รอบๆ บ้านที่เป็นอิสระก็คือ การได้รับอิสรภาพ และการเรียนรู้จักความเป็นอิสระ อัลกุรอานแนะนำกะอ์บะฮ์ว่าเป็นบ้านแห่งอิสรภาพไว้ 2 ที่ด้วยกันคือ

 

وَلْيَطَّوَّفُوا بِالْبَيْتِ الْعَتِيقِ

 

“และจงให้พวกเขาเวียนรอบบ้านแห่งอิสระ (กะอ์บะฮ์)” (2)

 

ثُمَّ مَحِلُّهَا إِلَى الْبَيْتِ الْعَتِيقِ

 

“สถานที่ (เชือดพลี) ของมันบริเวณบ้านแห่งอิสระ” (3)

 

คำว่า “อะตีก” หมายถึง อิสระ นั่นหมายถึงว่าบ้านหลังนี้เป็นอิสระ ต่างไปจากมัสญิดอื่นๆ

 

ซึ่งบางครั้งมัสญิดหลังนั้นอาจเป็นทรัพย์สินของใครบางคน ขณะที่บัยตุลลอฮ์ ไม่เคยตกเป็นกรรมสิทธิ์หรือตกเป็นทรัพย์สินของใคร และนอกจากอัลลอฮ์แล้วไม่มีมีผู้ใดมีสิทธิ์เป็นเจ้าของบัยตุลลอฮ์ กะอ์บะฮ์คือบ้านที่เป็นอิสระจากการถือกรรมสิทธิ์ครอบครอง มิใช่ทรัพย์สินใของผู้ใด หรือรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่งหากแต่เป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ์ (ซบ.) แต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น ท่านจึงสามารถเดินเวียนรอบ (เฏาะวาฟ) ได้อย่างอิสระ เพื่อจะได้เข้าใจถึงความเป็นอิสระ ไม่ทำตัวให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของใคร หรือตกเป็นทาสความคิดของผู้ใด หรือตกเป็นทาสอารมณ์แห่งตน ผู้คุ้มครองช่วยเหลือท่านจะต้องมิใช่ผู้ใดอื่นนอกจากอัลลอฮ์เท่านั้น

 

กะอ์บะฮ์ คือ “บ้านซึ่งไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของใคร และไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ” (4 )

 
การเดินเฏาะวาฟรอบกะอ์บะฮ์

 

บ่งบอกให้เห็นถึงความเป็นอิสระของมนุษย์ และเขาจะต้องไม่ทำตัวให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ หรือเป็นทาสของใคร ทั้งความคิดและการกระทำ อย่าปล่อยให้ผู้ใดมาครอบครองตัวเราทั้งภายนอกและภายใน อย่าปล่อยให้ตัวเองตกเป็นทาสของอำนาจฝ่ายต่ำ คนโลภคือ ผู้ตกเป็นทาสของอำนาจฝ่ายต่ำ เขาได้ทำตัวให้เป็นทาสของปีศาจแห่งกิเลส เขาจึงเป็นอันตรายต่อสังคม และศาสนา

 

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “ทาสแห่งความปรารถนา ตกต่ำยิ่งกว่าทาสที่ถูกซื้อมาเสียอีก” (5)

 

ทาสที่ถูกซื้อมามีเกียรติ ส่วนมนุษย์ที่ตกเป็นทาสอารมณ์นั้นต่ำต้อย การเดินเวียนรอบกะอ์บะฮ์จะทำให้มนุษย์หลุดพ้น และเป็นอิสระจากกิเลสตัณหา โมหะ ราคะ และอำนาจฝ่ายต่ำ ดังนั้นมนุษย์ที่หลุดพ้นจากกิเลสตัณหา และความโกรธกริ้วจึงกล่าวได้ว่าเขาอยู่ในหมู่มลาอิกะฮ์ เนื่องจากมลาอิกะฮ์ไม่มีคุณลักษณะเหล่านี้ ดังนั้น เมื่อใบหม่อนกลายเป็นเส้นไหมชั้นดีได้ฉันใดมนุษย์ที่ผ่านการอบรมก็สามารถเทียบชั้นมลาอิกะฮ์ได้ฉันนั้น ฮัจญ์ จึงเป็นพิธีกรรมที่ดีที่สุดที่จะทำให้มนุษย์เข้าสู่ชั้นของมลาอิกะฮ์

 

ดังนั้นถ้าบุคคลหนึ่งเดินทางไปซิยารัตกะอ์บะฮ์ แล้วเขายังไม่สะอาด ก็ถือว่าฮัจญฺของเขาไร้ค่า ถ้าบุคคลหนึ่งเดินเวียนรอบกะอ์บะฮ์ ครองอิฮ์รอมมุ่งหน้าไปสู่บัยตุลอะตีก แต่ตัวเขายังไม่เป็นอิสระ ถือว่าฮัจญ์ของเขาไร้ค่า เนื่องจากบาปกรรม และโซ่ตรวนแห่งกิเลสมิได้ถูกปลดเปลื้องออกไปจากเขา

 

คำกล่าวของอิมามซอดิก (อ.) ที่กล่าวว่า “การมองไปที่กะอ์บะฮ์คือ อิบาดะฮ์” (6 ) ก็เนื่องจากว่า กะอ์บะฮ์ เป็นตัวแทนของอรัชแห่งอัลลอฮ์และเป็นแหล่งกำเนิดของความสะอาดทั้งปวง บ้านที่มีความสง่างามแห่งนี้ เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นอิสระ ผู้ที่เดินเวียนรอบเขาจึงอิสระจากการเป็นข้าทาสบริพานของบุคคลอื่น ที่นอกเหนือจากอัลลอฮ์ ฉะนั้น การมองไปยังแหล่งกำเนิดที่สะอาดจึงเป็น อิบาดะฮ์ การมองไปยังแหล่งกำเนิดเสรีภาพเป็น อิบาดะฮ์ และการมองไปยังตัวแทนของอรัชแห่งอัลลอฮ์ก็เป็นอิบาดะฮ์

 
เชิงอรรถ

 

1- อัลกุรอาน บทอัลบะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 183

2- อัลกุรอาน บทฮัจญ์ โองการที่ 29

3- อัลกุรอาน บทฮัจญ์ โองการที่  33

4- วะซาอิลุชชีอะฮ์ เล่ม 9 หน้า 347

5- ฆุรรอรุลฮิกัม ฮะดีษที่ 6298

6- บิฮารุลอันวาร เล่ม 99 หน้า 65

 

ขอขอบคุณ เว็บไซต์ iicth

 

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

กำเนิดจักรวาล
...
ชีวประวัติอิมามอะลี (อ.)
มหัศจรรย์ 7 ประการของศาสดาอีซา ...
...
...
โอ้ ...
ภารกิจของ “นัฟซุซซะกียะฮ์” ...
กุรอานกับเรื่องฟ้าผ่า
28 ซอฟัร ...

 
user comment