ไทยแลนด์
Sunday 24th of November 2024
0
نفر 0

การรำลึกถึงเรื่องราวของศาสดายูนุส (อ.) การขจัดความทุกข์ระทมและความเศร้าโศก

การรำลึกถึงเรื่องราวของศาสดายูนุส (อ.) การขจัดความทุกข์ระทมและความเศร้าโศก


การรำลึกถึงเรื่องราวของศาสดายูนุส (อ.) การขจัดความทุกข์ระทมและความเศร้าโศก

 

ท่านศาสดายูนุส (อ. ) ได้ชี้นำประชาชนท่ามกลางหมู่ชนของตนเป็นเวลายาวนาน แต่ระยะเวลา 23 ปี ของการประกาศเชิญชวนของท่าน มีประชาชนเพียงสองคนเท่านั้นที่ศรัทธาต่อท่าน ท่านจึงสาปแช่งหมู่ชนของตน และพระผู้เป็นเจ้าได้ทรงสัญญาต่อท่านว่าจะลงโทษพวกเขาในช่วงเวลาหนึ่งที่จะมาถึง ท่านศาสดายูนุส (อ.) จึงได้เดินทางออกจากเมือง แต่หนึ่งในบรรดาสหายของท่านยังคงอยู่ในเมืองนั้นและได้ทำการตักเตือนประชาชนให้เกรงกลัวการลงโทษของพระผู้เป็นเจ้า และเรียกร้องพวกเขาให้ทำการเตาบะฮ์ (สารภาพผิดและกลับตัวกลับใจ)

 

      บรรดาผู้ที่ได้เห็นสัญญาณต่างๆ ของการลงโทษที่ถูกสัญญาไว้นั้น พวกเขาจึงทำการเตาบะฮ์และร้องไห้คร่ำครวญ จนกระทั่งพระผู้เป็นเจ้าได้ทรงเลิกล้มการลงโทษของพระองค์ไปจากพวกเขา ศาสดายูนุส (อ.) ด้วยความคาดคิดว่าประชาชนได้ถูกทำลายลงแล้วจึงเดินทางกลับไปยังเมือง แต่เมื่อได้เห็นว่าทุกอย่างยังคงเป็นปกติและประชาชนยังคงง่วนอยู่กับการทำงานของตน ท่านจึงรู้สึกโกรธแค้นและออกจากเมืองไปโดยไม่ได้ทูลขออนุญาตจากพระผู้เป็นเจ้า และได้เดินทางออกสู่ทะเลโดยเรือลำหนึ่ง

 

      ในระหว่างทางปลายักษ์ได้จู่โจมเรือของท่าน และด้วยพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงสูงส่ง มันได้กลืนท่านศาสดายูนุส (อ.) เข้าไปในท้องโดยที่ท่านไม่ได้รับอันตรายใดๆ เมื่อท่านศาสดายูนุส (อ.) ได้รู้สึกตัวขึ้นมา (ภายในท้องปลานั้น) ก็ได้ตระหนักถึงความผิดพลาดของตน ท่านได้ร้องไห้คร่ำครวญและวิงวอนเตาบะฮ์ (สารภาพผิด) ต่อพระผู้เป็นเจ้า โดยที่การเตาบะฮ์ (สารภาพผิด) ของท่านได้ถูกกล่าวถึงในคัมภีร์อัลกุรอาน ส่วนหนึ่งของโองการอัลกรุอานซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “ซิกร์ ยูนูซียะฮ์” บรรดานักวิชาการศาสนา (อุละมาอ์) และนักรหัสยะ (อาริฟ) ได้รายงานคุณสมบัติพิเศษจำนวนมากมายของมันไว้

 

      คัมภีร์อัลกุรอานได้กล่าวว่า

 

وَذَا النُّونِ إِذ ذَّهَبَ مُغَاضِبًا فَظَنَّ أَن لَّن نَّقْدِرَ عَلَيْهِ فَنَادَىٰ فِي الظُّلُمَاتِ أَن لَّا إِلَٰهَ إِلَّا أَنتَ سُبْحَانَكَ إِنِّي كُنتُ مِنَ الظَّالِمِينَ فَاسْتَجَبْنَا لَهُ وَنَجَّيْنَاهُ مِنَ الْغَمِّ وَكَذَٰلِكَ نُنجِي الْمُؤْمِنِينَ

 

“และ (จงรำลึกถึงเรื่องราวของ) ซันนูน (ศาสดายูนุส) เมื่อเขาจาก (กลุ่มชนของเขา) ไปด้วยความโกรธ แล้วเขาคิดว่าเราคงจะไม่ทำให้เขาได้รับความคับแค้นใดๆ อย่างแน่นอน ดังนั้นเขาจึงวิงวอนในท่ามกลางความมืดมิดว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ท่าน มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์ แท้จริงข้าฯ เป็นหนึ่งในหมู่ผู้อธรรมทั้งหลาย ดังนั้นเราจึงตอบรับการวิงวอนของเขา และเราได้ช่วยให้เขารอดพ้นจากความทุกข์ระทม และเช่นนั้นแหละที่เราจะให้ความรอดพ้นแก่บรรดาผู้ศรัทธา”

 

(อัลกุรอานบทอัลอันบิยาอ์ โองการที่ 87)

 

     ซิกร์ ยูนุซียะฮ์ หมายถึงการกล่าวประโยคที่ว่า

 

لَّا إِلَٰهَ إِلَّا أَنتَ سُبْحَانَكَ إِنِّي كُنتُ مِنَ الظَّالِمِينَ

 

“ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ท่าน มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์ แท้จริงข้าฯ เป็นหนึ่งในหมู่ผู้อธรรมทั้งหลาย”

 

ผลและคุณค่าต่างๆ ของ “ซิกร์ ยูนุซียะฮ์”

 

ประการแรก : การขจัดความทุกข์ระทมและความเศร้าโศก

 

     ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า : ฉันประหลาดใจต่อผู้ที่หวั่นกลัวจากสี่สิ่ง แล้วไฉนเขาจึงไม่ขอความช่วยเหลือจากสี่สิ่ง :

 

     1. ฉันประหลาดใจต่อบุคคลที่หวาดกลัว แต่ไฉนเขาจึงไม่ขอความช่วยเหลือจากพระดำรัสของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเกริกเกียรติ ผู้ทรงเกรียงไกร ที่ทรงตรัสว่า

 

حَسْبُنَا اللَّهُ وَ نِعْمَ الْوَكيلُ

 

“อัลลอฮ์ทรงเพียงพอแก่เราแล้ว และทรงเป็นผู้รับมอบหมายที่ดีเยี่ยม”

 

      และฉันได้ยินอัลลอฮ์ผู้ทรงเกริกเกียรติ ผู้ทรงเกรียงไกร ทรงตรัสต่อท้ายประโยคนี้ว่า

 

فَانْقَلَبُوا بِنِعْمَةٍ مِنَ اللَّهِ وَ فَضْلٍ لَمْ يَمْسَسْهُمْ سُوءٌ

 

 "แล้วพวกเขาได้กลับมา พร้อมด้วยความโปรดปรานและความกรุณาจากอัลลอฮ์ โดยมิได้มีความเลวร้ายใดๆ ประสบแก่พวกเขา"

 

      2. ฉันประหลาดใจต่อบุคคลที่ทุกข์โศก แต่ไฉนเขาจึงไม่ขอความช่วยเหลือจากพระดำรัสของพระองค์ที่ทรงตรัสว่า

 

لا إِلهَ إِلَّا أَنْتَ سُبْحانَك إِنِّي كنْتُ مِنَ الظَّالِمِينَ

 

   "ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์ แท้จริงข้าฯ เป็นหนึ่งในหมู่ผู้อธรรมทั้งหลาย"

 

     และฉันได้ยินอัลลอฮ์ผู้ทรงเกริกเกียรติ ผู้ทรงเกรียงไกร ทรงตรัสต่อท้ายประโยคนี้ว่า

 

فَاسْتَجَبْنا لَهُ وَ نَجَّيْناهُ مِنَ الْغَمِّ وَ كذلِك نُنْجِي الْمُؤْمِنِينَ

 

“ดังนั้นเราจึงตอบรับการวิงวอนของเขา และเราได้ช่วยให้เขารอดพ้นจากความทุกข์ระทม และเช่นนั้นแหละที่เราจะให้ความรอดพ้นแก่บรรดาผู้ศรัทธา”

 

      3. ฉันประหลาดใจต่อบุคคลที่มีผู้วางแผนร้ายต่อเขา แต่ไฉนเขาจึงไม่ขอความช่วยเหลือจากพระดำรัสของพระองค์ที่ทรงตรัสว่า

 

وَ أُفَوِّضُ أَمْرِي إِلَي اللَّهِ إِنَّ اللَّهَ بَصِيرٌ بِالْعِبادِ

 

“และฉันขอมอบหมายกิจการงานของฉันแด่อัลลอฮ์ แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงมองเห็นปวงบ่าว (ของพระองค์)”

 

      และฉันได้ยินอัลลอฮ์ผู้ทรงเกริกเกียรติ ผู้ทรงเกรียงไกร ทรงตรัสต่อท้ายประโยคนี้ว่า

 

فَوَقاهُ اللَّهُ سَيِّئاتِ ما مَكرُوا

 

“ดังนั้น อัลลอฮ์ได้ทรงปกป้องเขาให้พ้นจากความเลวร้ายทั้งหลายที่พวกเขาวางแผน”

 

     4. ฉันประหลาดใจต่อบุคคลที่ปรารถนาโลกนี้และเครื่องประดับของมัน แต่ไฉนเขาจึงไม่ขอความช่วยเหลือจากพระดำรัสของพระองค์ที่ทรงตรัสว่า

 

ما شاءَ اللَّهُ لا قُوَّةَ إِلَّا بِاللَّهِ

 

“สิ่งใดที่อัลลอฮ์ทรงประสงค์ (ย่อมเกิดขึ้น) ไม่มีพลังใดๆ (ที่จะช่วยเราได้) นอกจากโดย (การอนุมัติของ) อัลลอฮ์”

 

      และฉันได้ยินอัลลอฮ์ ผู้ทรงเกริกเกียรติ ผู้ทรงเกรียงไกร ทรงตรัสต่อท้ายประโยคนี้ว่า

 

إِنْ تَرَنِ أَنَا أَقَلَّ مِنْك مالًا وَ وَلَداً فَعَسي رَبِّي أَنْ يُؤْتِيَنِ خَيْراً مِنْ جَنَّتِك

 

"หากท่านเห็นว่าฉันด้อยกว่าท่านในด้านทรัพย์สมบัติและลูกหลาน ดังนั้น บางทีพระผู้อภิบาลของฉันจะทรงประทานให้ฉันดีกว่าสวนของท่าน" และหวังว่ามันจะถูกตอบรับ (1)

 

      ท่านอิมามซอดิก (อ.) ได้กล่าวไว้ในคำรายงานอีกบทหนึ่งว่า : โองการนี้สำหรับการขจัดความทุกข์กังวลและความเศร้าโศก

 

لَا إِلَهَ إِلَّا أَنْتَ سُبْحَانَك إِنِّي كنْتُ مِنَ الظَّالِمِينَ قَالَ اللَّهُ سُبْحَانَهُ فَاسْتَجَبْنا لَهُ وَ نَجَّيْناهُ مِنَ الْغَمِّ وَ كذلِك نُنْجِي الْمُؤْمِنِينَ

 

“ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์ แท้จริงข้าฯ เป็นหนึ่งในหมู่ผู้อธรรมทั้งหลาย ดังนั้นเราจึงตอบรับการวิงวอนของเขา และเราได้ช่วยให้เขารอดพ้นจากความทุกข์ระทม และเช่นนั้นแหละที่เราจะให้ความรอดพ้นแก่บรรดาผู้ศรัทธา” (2)

 

     ในอีกรายงานหนึ่ง ท่านอิมามซอดิก (อ.) ได้กล่าวว่า : ใครก็ตามที่ประสบความทุกข์โศก หรือมีผู้วางแผนร้ายต่อเขา หรือประสบกับบะลาอ์ (ความทุกข์ยาก) หลังจากนมาซอีซาในค่ำวันศุกร์ ให้เขาอ่านโองการนี้

 

لا إِلهَ إِلَّا أَنْتَ سُبْحانَك إِنِّي كنْتُ مِنَ الظَّالِمِينَ

 

“ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์ แท้จริงข้าฯ เป็นหนึ่งในหมู่ผู้อธรรมทั้งหลาย” (3)

 

ประการที่สอง : เพื่อการมีบุตร

 

      ชายคนหนึ่งได้กล่าวกับท่านอิมามซอดิก (อ.) ว่า “ข้าพเจ้าขอพลีเพื่อท่าน! ข้าพเจ้าไม่มีบุตร” ท่านอิมาม (อ.) ได้กล่าวว่า “ในขณะที่เจ้าจะหลับนอนกับภรรยาของเจ้า จงอ่านโองการนี้สามครั้ง อินชาอัลลอฮ์ตะอาลา (หากพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่งทรงประสงค์) พระองค์จะทรงประทานบุตรแก่เจ้า

 

وَ ذَا النُّونِ إِذْ ذَهَبَ مُغاضِباً فَظَنَّ أَنْ لَنْ نَقْدِرَ عَلَيْهِ فَنادي فِي الظُّلُماتِ أَنْ لا إِلهَ إِلَّا أَنْتَ سُبْحانَك إِنِّي كنْتُ مِنَ الظَّالِمِينَ

 

“และ (จงรำลึกถึงเรื่องราวของ) ซันนูน (ศาสดายูนุส) เมื่อเขาจาก (กลุ่มชนของเขา) ไปด้วยความโกรธ แล้วเขาคิดว่าเราคงจะไม่ทำให้เขาได้รับความคับแค้นใดๆ อย่างแน่นอน ดังนั้นเขาจึงวิงวอนในท่ามกลางความมืดมิดว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์ แท้จริงข้าฯ เป็นหนึ่งในหมู่ผู้อธรรมทั้งหลาย” (4)

 

ประการที่สาม : การแสวงหาความต้องการ (ฮาญัต)

 

      ท่านอิมามฮุเซน (อ.) กล่าวว่า : เมื่อใดก็ตามที่ท่านมีความต้องการ (ฮายัต) หนึ่ง ดังนั้นจงทำนมาซ 4 ร่อกะอัต (ทำทีละ 2 ร่อกะอัต) อินชาอัลลอฮ์ (หากอัลลอฮ์ทรงประสงค์) พระองค์จะทรงประทานสิ่งที่ท่านต้องการให้

 

      ในร่อกะอัตแรก : หลังจากฟาติหะฮ์ ให้อ่านโองการนี้ 7 ครั้ง

 

وَ حَسْبُنَا اللَّهُ وَ نِعْمَ الْوَكيلُ

 

“อัลลอฮ์ ทรงเพียงพอแก่เราแล้ว และทรงเป็นผู้รับมอบหมายที่ดีเยี่ยม”

 

     ในร่อกะอัตที่สอง : หลังจากฟาติหะฮ์ ให้อ่านโองการนี้ 7 ครั้ง

 

ما شاءَ اللَّهُ لا قُوَّةَ إِلَّا بِاللَّهِ إِنْ تَرَنِ أَنَا أَقَلَّ مِنْك مالًا وَ وَلَداً

 

“สิ่งใดที่อัลลอฮ์ทรงประสงค์ (ย่อมเกิดขึ้น) ไม่มีพลังใดๆ (ที่จะช่วยเราได้) นอกจากโดย (การอนุมัติของ) อัลลอฮ์ หากท่านเห็นว่าฉันด้อยกว่าท่านในด้านทรัพย์สมบัติและลูกหลาน”

 

     ในร่อกะอัตที่สาม : หลังจากฟาติหะฮ์ ให้อ่านโองการนี้ 7 ครั้ง

 

لا إِلهَ إِلَّا أَنْتَ سُبْحانَك إِنِّي كنْتُ مِنَ الظَّالِمِينَ

 

“ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์ แท้จริงข้าฯ เป็นหนึ่งในหมู่ผู้อธรรมทั้งหลาย”

 

      ในร่อกะอัตที่สี่ : หลังจากฟาติหะฮ์ ให้อ่านโองการนี้ 7 ครั้ง

 

وَ أُفَوِّضُ أَمْرِي إِلَي اللَّهِ إِنَّ اللَّهَ بَصِيرٌ بِالْعِبادِ

 

“และฉันขอมอบหมายกิจการงานของฉันแด่อัลลอฮ์ แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงมองเห็นปวงบ่าว (ของพระองค์)” (5)

 

      นมาซคิเฎร (อ.) ในคืนวันศุกร์ : การนมาซนี้มี 4 ร่อกาอัต (ทำทีละ 2 ร่อกาอัต)  ในทุกร่อกะอัต หลังจากอ่านฟาติหะฮ์แล้ว ให้อ่าน 100 ครั้ง ว่า

 

وَ ذَا النُّونِ إِذْ ذَهَبَ مُغاضِباً فَظَنَّ أَنْ لَنْ نَقْدِرَ عَلَيْهِ فَنادي فِي الظُّلُماتِ أَنْ لا إِلهَ إِلَّا أَنْتَ سُبْحانَك إِنِّي كنْتُ مِنَ الظَّالِمِينَ فَاسْتَجَبْنا لَهُ وَ نَجَّيْناهُ مِنَ الْغَمِّ وَ كذلِك نُنْجِي الْمُؤْمِنِينَ وَ أُفَوِّضُ أَمْرِي إِلَي اللَّهِ إِنَّ اللَّهَ بَصِيرٌ بِالْعِبادِ فَوَقاهُ اللَّهُ سَيِّئاتِ ما مَكرُوا وَ حاقَ بِآلِ فِرْعَوْنَ سُوءُ الْعَذابِ

 

“และ (จงรำลึกถึงเรื่องราวของ) ซันนูน (ศาสดายูนุส) เมื่อเขาจาก (กลุ่มชนชองเขา) ไปด้วยความโกรธ แล้วเขาคิดว่าเราคงจะไม่ทำให้เขาได้รับความคับแค้นใดๆ อย่างแน่นอน ดังนั้นเขาจึงวิงวอนในท่ามกลางความมืดมิดว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์ แท้จริงข้าฯ เป็นหนึ่งในหมู่ผู้อธรรมทั้งหลาย ดังนั้นเราจึงตอบรับการวิงวอนของเขา และเราได้ช่วยให้เขารอดพ้นจากความทุกข์ระทม และเช่นนั้นแหละที่เราจะให้ความรอดพ้นแก่บรรดาผู้ศรัทธา ฉันขอมอบหมายกิจการงานของฉันแด่อัลลอฮ์ แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงมองเห็นปวงบ่าว (ของพระองค์) ดังนั้นอัลลอฮ์ได้ทรงปกป้องเขาให้พ้นจากความเลวร้ายทั้งหลายที่พวกเขาวางแผน และการลงโทษที่เลวร้ายยิ่งได้อุบัติแก่วงศ์วานของฟิรเอาน์”

 

      หลังจากให้สลามแล้วให้กล่าว 100 ครั้ง ว่า  

 

لاَحَوْلَ وَلاَقُوَّةَ إِلاَّ بِاللهِ الْعَلِيِّ الْعَظِيْمِ

 

“ไม่อานุภาพและพลังอำนาจใด นอกจากด้วยการอนุมัติของอัลลอฮ์ผู้ทรงสูงส่ง ผู้ทรงยิ่งใหญ่”

 

     และต่อจากนั้นให้วิงวอนขอสิ่งที่ต้องการจากอัลลอฮ์ อินชาอัลลอฮ์ (หากอัลลอฮ์ทรงประสงค์) มันจะสัมฤทธิ์ผล (6)

 

ประการที่สี่ : ซิกร์ (คำกล่าวรำลึก) ในนมาซฆุฟัยละฮ์

 

     นมาซฆุฟัยละฮ์มี 2 ร่อกาอัต ซึ่งให้กระทำหลังนมาซมัฆริบ และ “ซิกร์ ยูนุซียะฮ์” เป็นหนึ่งในซิกร์ (คำกล่าวรำลึก) ของนมาซนี้ โดยที่ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า : ในร่อกาอัตแรก หลังจากบทฟาติหะฮ์แล้วให้อ่านโองการนี้

 

وَ ذَا النُّونِ إِذْ ذَهَبَ مُغاضِباً فَظَنَّ أَنْ لَنْ نَقْدِرَ عَلَيْهِ فَنادي فِي الظُّلُماتِ أَنْ لا إِلهَ إِلَّا أَنْتَ سُبْحانَك إِنِّي كنْتُ مِنَ الظَّالِمِينَ فَاسْتَجَبْنا لَهُ وَ نَجَّيْناهُ مِنَ الْغَمِّ وَ كذلِك نُنْجِي الْمُؤْمِنِينَ

 

“และ (จงรำลึกถึงเรื่องราวของ) ซันนูน (ศาสดายูนุส) เมื่อเขาจาก (กลุ่มชนชองเขา) ไปด้วยความโกรธ แล้วเขาคิดว่าเราคงจะไม่ทำให้เขาได้รับความคับแค้นใดๆ อย่างแน่นอน ดังนั้นเขาจึงวิงวอนในท่ามกลางความมืดมิดว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์ แท้จริงข้าฯ เป็นหนึ่งในหมู่ผู้อธรรมทั้งหลาย ดังนั้นเราจึงตอบรับการวิงวอนของเขา และเราได้ช่วยให้เขารอดพ้นจากความทุกข์ระทม และเช่นนั้นแหละที่เราจะให้ความรอดพ้นแก่บรรดาผู้ศรัทธา”

 

     และในร่อกาอัตที่สอง หลังจากบทฟาติหะฮ์แล้ว ให้อ่านโองการนี้

 

وَ عِنْدَهُ مَفاتِحُ الْغَيْبِ لا يَعْلَمُها إِلَّا هُوَ وَ يَعْلَمُ ما فِي الْبَرِّ وَ الْبَحْرِ وَ ما تَسْقُطُ مِنْ وَرَقَةٍ إِلَّا يَعْلَمُها وَ لا حَبَّةٍ فِي ظُلُماتِ الْأَرْضِ وَ لا رَطْبٍ وَ لا يابِسٍ إِلَّا فِي كتابٍ مُبِينٍ

 

“และ ณ พระองค์นั้นมีบรรดากุญแจแห่งความเร้นลับ โดยที่ไม่มีใครรู้กุญแจเหล่านั้นได้นอกจากพระองค์เท่านั้น และพระองค์ทรงรู้สิ่งที่อยู่ในแผ่นดินและในทะเล และไม่มีใบไม้ใดร่วงหล่นลงนอกจากพระองค์จะทรงรู้มัน และไม่มีเมล็ดพืชใดซึ่งอยู่ในความมืดทั้งหลายของแผ่นดิน และไม่มีสิ่งที่เปียกชื้น และสิ่งที่แห้งใด นอกจากจะอยู่ในบันทึกอันชัดแจ้ง”

 

และในดุอาอ์กุนูตให้อ่านว่า  

 

اَللّـهُمَّ اِنّي أَسْأَلُكَ بِمَفاتِحِ الْغَيْبِ الَّتي لا يَعْلَمُها اِلاّ اَنْتَ اَنْ تُصَلِّيَ عَلى مُحَمَّد وَآلِهِ وَاَنْ تَفْعَلَ بي كَذا وَكَذا

 

“โอ้อัลลอฮ์! แท้จริงข้าฯ วอนขอต่อพระองค์ โดยผ่านบรรดากุญแจแห่งความเร้นลับ ซึ่งไม่มีใครรู้กุญแจเหล่านั้นได้นอกจากพระองค์เท่านั้น ขอพระองค์ทรงประทานพรแด่มุฮัมมัดและวงศ์วานของท่าน และโปรดบันดาลแก่ข้าฯ ...” (แทนที่คำว่า “كَذا وَكَذا” ด้วยทุกความต้องการ (ฮายัต) ที่ต้องการวิงวอนขอ)

 

     และต่อจากนั้นให้กล่าวว่า

 

اَللّـهُمَّ اَنْتَ وَلِيُّ نِعْمَتي وَالْقادِرُ عَلى طَلِبَتي تَعْلَمُ حاجَتي فَأَسْأَلُكَ بِحَقِّ مُحَمَّد وَآلِهِ عَلَيْهِ وَ عَلَيْهِمُ السَّلامُ لَمّا قَضَيْتَها لي

 

“โอ้อัลลอฮ์! พระองค์คือเจ้าของความโปรดปราน (เนี๊ยะอ์มัต) ของข้าฯ และทรงเป็นผู้เดชานุภาพต่อสิ่งที่เป็นความต้องการของข้าฯ พระองค์ทรงรอบรู้ถึงความต้องการของข้าฯ ดังนั้นข้าฯ ขอวิงวอนต่อพระองค์ ด้วยสิทธิ์ของมุฮัมมัดและวงศ์วานของท่าน (ขอความสันติพึงมีแด่ท่านและเขาเหล่านั้น) ได้โปรดทำให้มันสัมฤทธิ์ผลแก่ข้าฯ ด้วยเถิด” (7)

 

     มีรายงานว่า ผู้ใดก็ตามที่กระทำนมาซนี้ แล้วเขาวอนขอสิ่งที่ต้องการ (ฮาญัต) จากอัลลอฮ์ พระองค์จะทรงประทานให้ในสิ่งที่เขาวิงวอนขอ

 

เชิงอรรถ :

 

(1) มันลา ยะห์ฎุรุฮุ้ลฟะกีฮ์, เล่มที่ 4, หน้าที่ 392, ฮะดีษที่ 5835

(2) ตะห์ซีบุลอะห์กาม, เล่มที่ 6, หน้าที่ 171, ฮะดีษที่ 7

(3) บิฮารุ้ลอันวาร, เล่มที่ 9, หน้าที่ 191, ฮะดีษที่ 31

(4) อัลกาฟี, เล่มที่ 6, หน้าที่ 10, ฮะดีษที่ 10

(5) วะซาอิลุชชีอะฮ์, เล่มที่ 8, หน้าที่ 115, หมวดที่ 12, ฮะดีษ 10205

(6) ญะมาลุ้ลอุสบูอ์, หน้าที่ 126

(7) ฟะลาหุซซาอิล, หน้าที่ 246

 

แปลและเรียบเรียงโดย : เชคมูฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

 

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

อิมามอะลี ...
"ฝน"ในอัลกุรอาน
ชีวประวัติท่านฮัมซะฮ์ บิน ...
หลักปฏิบัติในอิสลาม ...
สิทธิมนุษยชนในอิสลาม
ความพอเพียงในอิสลาม
อิมามมุฮัมมัด บากิร (อ) ...
ฮะดีษนี้น่าเชื่อถือหรือไม่? : ...
ศาสดาและวงศ์วานผู้ทรงเกียรติ
ถ้าหากท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ...

 
user comment