ไทยแลนด์
Tuesday 24th of December 2024
0
نفر 0

ตัฟซีรซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์ ตอนที่ 2

ตัฟซีรซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์ ตอนที่ 2


อายะฮ์ที่ 2

اَلحَمدُلِلّهِ رَبِّ العَالَمِين

ความหมาย

การขอบคุณและการสรรเสริญทั้งมวลเป็นเอกสิทธิ์ของอัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก

 

คำอธิบาย

 

 อัลลอฮ์ (ซบ. ) คือ พระผู้อภิบาลสรรพสิ่งทั้งหลายที่อยู่ในฟากฟ้าแผ่นดิน และในระหว่างทั้งสอง

 

อัลกุรอานกล่าวว่า

 

رَبُّ السَّمَاوَاتِ وَالأرضِ وَمَابَينَهُمَا (1)

 

 และพระองค์คือ

 

  هُوَ رَبُّ كلِّ شَيءٍ ( 2)

 

ชึ่งท่านอิมามอะลี (อ.) ได้อธิบายอายะฮ์นี้ว่า "พระองค์ คือ พระผู้อภิบาลสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต"

 

ในบางครั้งคำว่า عَالَمِين หมายถึง มวลมนุษยชาติ แต่ทว่า คำนี้ส่วนใหญ่ใช้ในความหมายว่า "สรรพสิ่งทั้งมวล"

 

อายะฮ์นี้ ชี้ให้เห็นว่า พระผู้อภิบาลและบริหารทุกสรรพสิ่งนั้นคือ อัลลอฮ์ (ซบ.)มิใช่เทพเจ้าตามความเชื่อผิดๆ ของบางกลุ่มชนและบางประชาชาติที่ว่าทุกสิ่งและทุกปรากฏการณ์นั้นมีเทพเจ้าองค์หนึ่งคอยดูแลบริหารอยู่


นอกจากซูเราะฮ์อัล-ฟาติฮะฮ์แล้ว อายะฮ์ اَلحَمدُلِلّه ยังปรากฏอยู่ในต้นซูเราะฮ์อัล-อันอาม  อัล-กะฮ์ฟิ อัช-ซะบาอ์ และอัล –ฟาฎิร ด้วยอีก เช่นเดียวกัน แต่มีข้อแตกต่างกันตรงที่ว่าในซูเราะฮ์อัล-ฟาติฮะฮ์


رَبِّ العَالَمِين
 

ได้ถูกกล่าวไว้หลังจากอายะฮ์ข้างต้น


อนึ่ง การอภิบาลของอัลลอฮ์ (ซบ.) ก็คือวิถีทางในการชี้นำของพระองค์นั่นเอง กล่าวคือ หลังจากการสร้างสรรค์สรรพสิ่งต่างๆ พระองค์ได้ทรงตระเตรียมเส้นทางของการอภิบาลและการพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์ให้กับสรรพสิ่งเหล่านั้น ดังที่อัลกุรอานได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า

 

رَبُّنَا الَّذى اعطَى كُلَّ شَىءٍ خَلقَهُ ثُمّ هَدَى(3)

 

ความว่า "พระผู้อภิบาลของเราคือผู้ทรงให้กำเนิดแก่ทุกสรรพสิ่ง หลังจากนั้นทรงชี้นำเส้นทางแห่งความสมบูรณ์"


พระองค์ทรงสอนให้ผึ้งรู้ว่า จะต้องดูดน้ำหวานจากพืชชนิดใด ทรงสอนมดให้รู้ถึงวิธีเก็บสะสมอาหารกักตุนไว้กินในฤดูหนาว และทรงสร้างร่างกายมนุษย์ในลักษณะที่ว่า เมื่อใดก็ตามที่เลือดไม่เพียงพอร่างกายจะสร้างเลือดใหม่ขึ้นมาทดแทน พระผู้เป็นเจ้าที่มีคุณลักษณะดังกล่าวนี้ย่อมเป็นผู้ที่คู่ควรต่อการสรรเสริญและขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง


"ฮัมด์" เป็นคุณลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของมนุษย์ที่ผสมผสานกันระหว่างการสรรเสริญ และการขอบคุณ กล่าวคือ โดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์จะทำการสรรเสริญเยินยอความสวยงามและความสมบูรณ์ (แม้ว่าสิ่งนั้นจะไม่ให้ประโยชน์ใดๆ กับเขาก็ตาม) และในขณะเดียวกัน มนุษย์จะขอบคุณต่อความโปรดปรานและความเอื้ออารีที่เขาได้รับ ดังนั้น อัลลอฮ์ (ซบ.) จึงเป็นผู้ที่คู่ควรที่สุดต่อการสรรเสริญเนื่องจากความงดงามและความสมบูรณ์ของพระองค์และเป็นผู้ที่คู่ควรต่อการขอบคุณเนื่องจากความโปรดปรานและความเอื้ออารีของพระองค์


อนึ่ง การขอบคุณและการสรรเสริญอัลลอฮ์ (ซบ. ) นั้นไม่มีข้อขัดแย้งแต่ประการใดกับการขอบคุณเพื่อนมนุษย์ ทั้งนี้ด้วยเงื่อนไขที่ว่าการขอบคุณดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามคำบัญชาของอัลลอฮ์ (ซบ.)และอยู่ในวิถีทางของพระองค์


اَلحَمدُلِلّهِ คือ ปฎิกริยาหนึ่งที่เกิดมาจากภายในจิตวิญญาณของผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ (ซบ.) และถือเป็นวิธีการขอบคุณอัลลอฮ์ (ซบ.)ที่ดีที่สุด บุคคลใดก็ตามที่ทำการสรรเสริญทุกๆ ความสมบูรณ์และความสวยงาม ไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ใดและด้วยภาษาใดก็ตามแท้ที่จริงแล้ว เขากำลังสรรเสริญผู้เป็นต้นกำเนิดของสิ่งเหล่านั้นอยู่


บทเรียนและประเด็นสำคัญจากอายะฮ์


1.رَبِّ العَالَمِين

หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างอัลลอฮ์ (ซบ.)กับสรรพสิ่งทั้งหลายนั้น เป็นความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและถาวร

2.رَبِّ العَالَمِين หมายถึง ทุกสรรพสิ่งอยู่ภายใต้การอภิบาลของอัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงเอกะ

3.رَبِّ العَالَمِين หมายถึง การพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์ และการอภิบาลนั้นมีความเป็นไปได้อยู่ในทุกสรรพสิ่ง

4. อายะฮ์ اَلحَمدُلِلّهِ رَبِّ العَالَمِين ชี้ให้เห็นว่า พระผู้อภิบาลสรรพสิ่งต่าง ๆ นั้นคืออัลลอฮ์ (ซบ.) มิใช่เทพเจ้า เทวดา ผีสางนางไม้ หรือนักบวช นักพรต


5.คำว่า رَبِّ ชี้ให้เห็นว่าา อัลลอฮ์ (ซบ.) เป็นทั้งเจ้าของผู้มีอำนาจสิทธิขาดและเป็นทั้งผู้จัดการบริหารกิจการทั้งหมดของสิ่งที่อยู่ใต้กรรมสิทธิ์ของพระองค์ทั้งนี้เนื่องจากคำว่า رَبِّ นั้นหมายรวมถึงการเป็นเจ้าของและผู้บริหารกิจการด้วยเช่นกัน ดังที่อัลกุรอาน กล่าวว่า

 

لَهُ الخَلقُ وَالأمرُ تَبَارَكَ الَّلهُ رَبُّ العَالَمِين(4)
 

ความว่า "การสร้างและการบริหารกิจการของโลกแห่งสรรพสิ่งถูกสร้างนั้นอยู่ในอำนาจสิทธิขาดของพระองค์แต่เพียงผู้เดียวอัลลอฮฺพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลกนั้นทรงจำเริญยิ่ง"

 

6. พระองค์ คือ พระผู้อภิบาลสรรพสิ่งทั้งมวล กล่าวคือ พระองค์ทรงอภิบาลมนุษย์ด้วยกับการชี้นำและการอบรมสั่งสอนของบรรดาศาสนทูต ซึ่งเรียกการอภิบาลประเภทนี้ว่า "การอภิบาลด้วยการกำหนดกฎเกณฑ์และข้อบัญญัติ "ส่วนสัตว์พืชและสิ่งไม่มีชีวิตทั้งหลายนั้น พระองค์ทรงอภิบาลด้วยการนำสิ่งเหล่านั้นไปสู่ขั้นตอนต่าง ๆ ของความสมบูรณ์ ซึ่งเรียกการอภิบาลประเภทนี้ว่า "การอภิบาลด้วยกฎเกณฑ์ธรรมชาติของการสร้างสรรค์" เช่น เมล็ดพืชเจริญเติบโตด้วยไปตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่อัลลอฮฺ (ซบ.)ทรงกำหนดไว้จนกระทั่งให้ดอกผล

 

7. اَلحَمدُلِلَّهِ คือ การเริ่มต้นของการขอพร (ดุอาอ์) ในทุกรูปแบบ ดังที่ปรากฏในฮะดีษบทหนึ่งว่า "การขอพรจะบกพร่อง ไม่สมบูรณ์ หากพวกท่านไม่เริ่มต้นด้วยการสรรเสริญอัลลอฮ์ (ซบ.). (5 )

 

8.اَلحَمدُلِلّهِ เป็นทั้งถ้อยคำของมวลผู้ศรัทธาที่พวกเขาจะกล่าวในบทเริ่มต้นคัมภีร์อัล-กุรอาน และการวิงวอนขอพรจากอัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงสูงส่ง อีกทั้งยังเป็นถ้อยคำของชาวสวรรค์ ซึ่งพวกเขาจะกล่าวในบั้นปลายของกิจการงานดังที่อัล-กุรอานกล่าวว่า

 

وَآخِرُ دَعواهُم اَنِ الحَمدُلّلّهِ رَبِّ العَالَمِينَ

 

ความว่า "ถ้อยคำสุดท้ายของพวกเขาคือการสรรเสริญ และการขอบคุณเป็นเอกสิทธิ์ของอัลลอฺ. พระผู้อภิบาลแห่งกากลโลก(6)

 

9. ตามรายงานฮะดีษคำว่า اَلحَمدُلِلّهِ رَبِّ العَالَمِين ถือเป็นการขอบคุญอัลลอฮ์ (ซบ.) ที่ดีที่สุด


อ้างอิง


1. ซูเราะฮ์อัล-อะอ์รอฟ 54


2. ซูเราะฮ์-อันอาม 64


3. ซูเราะฮ์ฎอฮา 50


4.ซูเราะฮ์อัลอะอ์รอฟ 54


5.ตัฟซีรอะฏีบุล-บะยาน


6.ซูเราะฮ์ยูนุส 10

 

ที่มา ตัฟซีร นูร เขียนโดย ฮุจญตุลอิสลาม มุฮ์ซิน กะรออะตี

 

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

การตักลีดในทัศนะอิสลาม
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัลนัศร์ ตอนที่ ๑
...
ตรรกะในการตัฟซีรกุรอาน
...
ตัฟซีรซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์ ...
...
ดุอาประจำวันที่ 28 ...
อะไรคือความหมายของ “วันต่าง ๆ ...

 
user comment