ไทยแลนด์
Tuesday 24th of December 2024
0
نفر 0

แนวทางในการเผชิญหน้ากับบรรดาศาสดาในทัศนะของอัลกุรอาน

แนวทางในการเผชิญหน้ากับบรรดาศาสดาในทัศนะของอัลกุรอาน

แนวทางในการเผชิญหน้ากับบรรดาศาสดาในทัศนะของอัลกุรอาน

บรรดาพวกที่ต่อต้านบรรดาศาสดา พวกเขาพยายามใช้วิธีการต่าง ๆ ต่อสู้เพื่อขัดขวางความก้าวหน้า และเว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลามความสำเร็จในการเผยแพร่ของศาสดา เช่น

1.    การดูถูกเหยียดหยามและให้การเย้ยหยัน ชนกลุ่มแรกจะพยายามทำลายบุคลิกภาพของบรรดาศาสดาแห่งพระเจ้า โดยการพูดจาดูถูกดูแคลน เยาะเย้ย และพูดเสียดสีล้อเล่นต่าง ๆ นานา เพื่อให้ประชาชนเบื่อหน่ายบรรดาศาสดาและไม่ต้องสนใจอีกต่อไป
อัล-กุรอาน หลายโองการ เช่น บทอัลฮิจญฺริ โองการที่ 11, บทยาซีน โองการที่ 30, บทซุครุฟ โองการที่ 7, และบทอัล-มุฏ็อฟฟิฟีน โองการที่ 29-32 กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า

إِنَّ الَّذِينَ أَجْرَ‌مُوا كَانُوا مِنَ الَّذِينَ آمَنُوا يَضْحَكُونَ
وَإِذَا مَرُّ‌وا بِهِمْ يَتَغَامَزُونَ  وَإِذَا انقَلَبُوا إِلَىٰ أَهْلِهِمُ انقَلَبُوا فَكِهِينَ  وَإِذَا رَ‌أَوْهُمْ قَالُوا إِنَّ هَـٰؤُلَاءِ لَضَالُّونَ  وَمَا أُرْ‌سِلُوا عَلَيْهِمْ حَافِظِينَ

แท้จริงบรรดาผู้กระทำผิดนั้น เคยหัวเราะเยาะบรรดาผู้ศรัทธา เมื่อบรรดาผู้ศรัทธาเดินผ่านพวกเขาไป พวกเขาจะหลิ่วตาเย้ยหยัน เมื่อพวกเขากลับไปยังพวกพ้องของพวกเขา พวกเขาก็กลับไปอย่างตลกคะนอง เมื่อพวกเขาเห็นบรรดาผู้ศรัทธาพวกเขาก็กล่าวว่า แท้จริงชนเหล่านี้เป็นผู้หลงทาง (อัล-กุรอาน บทอัล-มุฏ็อฟฟิฟีน โองการที่ 29-32)

2. โกหกและใส่ร้ายบรรดาศาสดาอย่างน่ารังเกียรติที่สุด เมื่อพวกเขาเริ่มโกหกพวกเขาก็เริ่มใส่ร้ายป้ายสีบรรดาศาสดาอย่างไม่เป็นธรรม เช่น กล่าวหาว่าบรรดาศาสดาเป็นบ้าเสียสติหรือวิกลจริตต่าง ๆ นานา อัล-กุรอาน บทอัล-อะอฺรอฟ โองการที่ 66, บทอัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 13, และบทอัล-มุอฺมินูน โองการที่ 25 กล่าวถึงคำใส่ร้ายป้ายสีของพวกเขาโดยบรรดาพวกปฏิเสธกล่าวว่า

إِنْ هُوَ إِلَّا رَ‌جُلٌ بِهِ جِنَّةٌ فَتَرَ‌بَّصُوا بِهِ حَتَّىٰ حِينٍ
 

เขามิได้เป็นอะไรนอกจากเป็นคนบ้า ดังนั้น พวกท่านจงอดทนคอยเขาสักระยะเวลาหนึ่ง (อัล-กุรอานบทอัล-มุอฺมินูน โองการที่ 25)  

เมื่อบรรดาศาสดาได้แสดงปาฏิหาริย์ (มุอฺญิซะฮฺ) ให้ประชาชนได้รับรู้ พวกเขาก็ยิ่งใส่ร้ายป้ายสีมากกว่าเดิมว่า จิตใจของพวกเขาเผลอเรอ บรรดาผู้อธรรมต่างกระซิบกระซาบระหว่างกันว่า เขา (มุฮัมมัด) นี้มิใช่ใครอื่น นอกจากเป็นสามัญชนเยี่ยงพวกเจ้า พวกเจ้าจะยอมรับมายากล ทั้ง ๆ ที่เจ้าก็รู้เห็นอยู่ว่ามันเป็นมายากลกระนั้นหรือ (อัล-กุรอานบทอัลอัมบิยาอฺ / 3)

หรือในบทอัซซาริยาต โองการที่ 39, 52, 53, บทอัลเกาะมัร โองการที่ 2 ก็กล่าวไว้ในทำนองเดียวกันนี้

หรือบางครั้งก็กล่าวหาว่าคัมภีร์เป็นเพียงนิยายที่เคยเล่าขานกันมาแล้วในอดีต อัล-กุรอานกล่าวเน้นคำพูดของพวกเขาว่า

وَمِنْهُم مَّن يَسْتَمِعُ إِلَيْكَ  وَجَعَلْنَا عَلَىٰ قُلُوبِهِمْ أَكِنَّةً أَن يَفْقَهُوهُ وَفِي آذَانِهِمْ وَقْرً‌ا
 وَإِن يَرَ‌وْا كُلَّ آيَةٍ لَّا يُؤْمِنُوا بِهَا
 حَتَّىٰ إِذَا جَاءُوكَ يُجَادِلُونَكَ يَقُولُ الَّذِينَ كَفَرُ‌وا إِنْ هَـٰذَا إِلَّا أَسَاطِيرُ‌ الْأَوَّلِينَ

ในหมู่พวกเขามีบางคนสดับฟัง (คำพูด) เจ้าอยู่บ้าง แต่เราได้เอาม่านปิดกั้นหัวใจของพวกเขาเพื่อจะได้ไม่เข้าใจ เราได้ให้หูของพวกเขาตึงหนวก (เนื่องจากความดื้อรั้น) แม้พวกเขาจะเห็นสัญญาณทั้งหมดพวกเขาก็จะไม่ศรัทธา จนกระทั่งพวกเขาได้มาหาเจ้าแล้วโต้เถียงกับเจ้า บรรดาผู้ที่ปฏิเสธกล่าวว่า นี่มิใช่อะไรอื่น นอกจากบรรดาสิ่งขีดเขียนอันไร้สาระของคนก่อน ๆ เท่านั้น (นิยายโบราณ) (อัล-กุรอาน บทอัลอันอาม / 25)

เมื่อบรรดาโองการของเราถูกอ่านให้แก่พวกเขาฟัง พวกเขาก็กล่าวว่า เราได้ยินแล้วหากเราประสงค์ เราก็จะพูดเช่นนี้เช่นนั้นแน่นอน สิ่งนี้ใช่อื่นใดไม่ นอกจากถ้อยคำที่ถูกขีดเขียนไว้ของคนก่อน ๆ เท่านั้น (อัล-กุรอาน บทออันฟาล / 31)

وَإِذَا قِيلَ لَهُم مَّاذَا أَنزَلَ رَ‌بُّكُمْ  قَالُوا أَسَاطِيرُ‌ الْأَوَّلِينَ

เมื่อได้ถูกกล่าวแก่พวกเขาว่า พระเจ้าของพวกเจ้าได้ประทานอะไรลงมา พวกเขาก็กล่าวว่า นิยายสมัยก่อน (อัล-กุรอาน บทอัลนะฮฺลิ / 24)

لَقَدْ وُعِدْنَا نَحْنُ وَآبَاؤُنَا هَـٰذَا مِن قَبْلُ إِنْ هَـٰذَا إِلَّا أَسَاطِيرُ‌ الْأَوَّلِينَ
 

แท้จริงเราและบรรพบุรุษของเราได้ถูกสัญญามาก่อนแล้วในเรื่องนี้ มันมิใช่อะไรอื่นนอกจากเป็นนิยายเหลวไหลสมัยก่อนเท่านั้น (อัล-กุรอาน บทอัลมุอฺมินูน / 83)

وَقَالُوا أَسَاطِيرُ‌ الْأَوَّلِينَ اكْتَتَبَهَا فَهِيَ تُمْلَىٰ عَلَيْهِ بُكْرَ‌ةً وَأَصِيلًا


และพวกเขากล่าวว่า อัล-กุรอานเป็นนิยายของประชาชาติสมัยก่อนที่เขียนกันขึ้นแล้วถูกนำมาอ่านให้ขึ้นใจ ทั้งเวลาเช้าและเวลาเย็น (อัล-กุรอาน บทอัลฟุรกอน / 5)

لَقَدْ وُعِدْنَا هَـٰذَا نَحْنُ وَآبَاؤُنَا مِن قَبْلُ إِنْ هَـٰذَا إِلَّا أَسَاطِيرُ‌ الْأَوَّلِينَ

โดยแน่นอน เราได้ถูกสัญญาในเรื่องนี้มาก่อน ทั้งเราและบรรพบุรุษของเรา เรื่องนี้มิใช่อะไรอื่น นอกจากเป็นนิทานโกหกสมัยก่อน (อัล-กุรอาน บทอัลนัมลิ /68)

وَالَّذِي قَالَ لِوَالِدَيْهِ أُفٍّ لَّكُمَا أَتَعِدَانِنِي أَنْ أُخْرَ‌جَ وَقَدْ خَلَتِ الْقُرُ‌ونُ مِن قَبْلِي وَهُمَا يَسْتَغِيثَانِ اللَّـهَ وَيْلَكَ آمِنْ إِنَّ وَعْدَ اللَّـهِ حَقٌّ فَيَقُولُ مَا هَـٰذَا إِلَّا أَسَاطِيرُ‌ الْأَوَّلِينَ

ผู้ที่กล่าวแก่บิดามารดาของเขา ว่า อุฟ แก่ท่านทั้งสอง ท่านทั้งสองขู่ฉันว่าฉันจะถูกให้ออกมาฟื้นคืนชีพอีกกระนั้นหรือ ทั้ง ๆ ที่หลายศตวรรษก่อนหน้าฉันได้ล่วงลับไปแล้ว และเขาทั้งสองร้องขอความช่วยเหลือต่ออัลลอฮฺ พลางกล่าวแก่ลูกว่า ความหายนะ จงประสบแก่เจ้า จงศรัทธาเถิด แท้จริงสัญญาของอัลลอฮฺนั้นเป็นความจริง แล้วเขาก็พูดว่า เรื่องนี้มิใช่อะไรอื่นนอกจากเป็นนิยายเหลวไหลสมัยก่อนเท่านั้น (อัล-กุรอาน บทอัลอะฮฺกอฟ / 17)

إِذَا تُتْلَىٰ عَلَيْهِ آيَاتُنَا قَالَ أَسَاطِيرُ‌ الْأَوَّلِينَ
 

เมื่ออายาต (อัลกุรอาน) ทั้งหลายของเราถูกสาธยายแก่เขา เขากล่าวว่าเป็นนิยายเหลวไหลสมัยก่อน (อัล-กุรอาน บทอัลเกาะลัม / 15)

إِذَا تُتْلَىٰ عَلَيْهِ آيَاتُنَا قَالَ أَسَاطِيرُ‌ الْأَوَّلِينَ

เมื่ออายาต (อัลกุรอาน) ทั้งหลายของเราถูกสาธยายแก่เขา เขากล่าวว่าเป็นนิยายเหลวไหลสมัยก่อน (อัล-กุรอาน บทอัลมุฏ็อฟฟิฟีน / 13)

2.    โต้เถียง เมื่อบรรดาศาสดาใช้วาทศิลป์และเหตุผลอันชัดแจ้งมากด้วยกับวิทยปัญญาพูดกับพวกเขา บางครั้งก็ใช้วิธีโต้แย้งแบบสร้างสรรค์ หรือทำการตักเตือนประชาชนด้วยแบบอย่างอันดีงาม ท่านเตือนพวกเขาถึงปรากฏการณ์ที่อาจเกิดจากการปฏิเสธ หรือการตั้งภาคีเทียบเคียงพระเจ้า และการอธรรมต่าง ๆ อีกทั้งยังได้กล่าวถึงผลสรุปอันเป็นประโยชน์กับชีวิตอันบรมสุขยิ่ง ที่เกิดจากการเคารพภักดีต่อพระเจ้าองค์เดียว ผลรางวัลตอบแทนแก่บรรดาผู้ศรัทธาและประกอบคุณงามความดี ทั้งโลกนี้และโลกหน้า แต่น่าเสียดายว่าบรรดาผู้ปฏิเสธที่อธรรมขัดขวางประชาชน และกีดกันมิให้พวกเขาได้ฟังเรื่องราวเหล่านี้ หลังจากนั้นได้อ้างเหตุผลอันอ่อนแอแก่ประชาชน และพยายามที่จะยัดเหยียดสิ่งผิดให้ประชาชนได้รับรู้ อัล-กุรอาน กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า

وَقَالَ ٱلَّذِينَ كَفَرُوا۟ لَا تَسْمَعُوا۟ لِهَٰذَا ٱلْقُرْءَانِ وَٱلْغَوْا۟ فِيهِ لَعَلَّكُمْ تَغْلِبُونَ

บรรดาผู้ปฏิเสธกล่าวว่า พวกท่านอย่าฟังอัล-กุรอาน แต่จงทำเสียงอึกทึกในขณะนั้น หวังว่าพวกท่านจะมีชัยชนะ (อัล-กุรอาน บทฟุซซิลัต / 26)

وَكَذَٰلِكَ جَعَلْنَا لِكُلِّ نَبِيٍّ عَدُوًّا شَيَاطِينَ الْإِنسِ وَالْجِنِّ يُوحِي بَعْضُهُمْ إِلَىٰ بَعْضٍ زُخْرُ‌فَ الْقَوْلِ غُرُ‌ورً‌ا  وَلَوْ شَاءَ رَ‌بُّكَ مَا فَعَلُوهُ  فَذَرْ‌هُمْ وَمَا يَفْتَرُ‌ونَ

ในทำนองนั้นเราได้ให้มีศัตรูขึ้นแก่นบีทุกคนทั้งบรรดาชัยฏอนมนุษย์และญิน โดยที่พวกเขาจะกระซิบกระซาบด้วยคำพูดหลอกลวงไร้แก่นสาน พวกเขาจะกล่าวแก่อีกบางคนว่า ถ้าหากพระผู้อภิบาลของเจ้าทรงประสงค์พวกเขาก็จะไม่กระทำเช่นนั้น ด้วยเหตุนี้ เจ้าจงปล่อยพวกเขาและสิ่งที่พวกเขาอุปโลกน์ไว้เช่นนั้น (อัล-กุรอาน บทอัลอันอาม / 112)

وَلَا تَأْكُلُوا مِمَّا لَمْ يُذْكَرِ‌ اسْمُ اللَّـهِ عَلَيْهِ وَإِنَّهُ لَفِسْقٌ  وَإِنَّ الشَّيَاطِينَ لَيُوحُونَ إِلَىٰ أَوْلِيَائِهِمْ لِيُجَادِلُوكُمْ  وَإِنْ أَطَعْتُمُوهُمْ إِنَّكُمْ لَمُشْرِ‌كُونَ

พวกเจ้าจงอย่าบริโภคสิ่งที่พระนามของอัลลอฮ์มิได้ถูกกล่าวการกระทำเช่นนั้นเป็นบาป บรรดาชัยฏอนจะกระซิบกระซาบแก่บรรดาสหายของตน เพื่อพวกเขาจะได้โต้เถียงกับพวกเจ้าถ้าหากพวกเจ้าเชื่อฟังพวกเขา พวกเจ้าก็จะเป็นตั้งภาคีคนหนึ่ง (อัล-กุรอาน บทอัลอันอาม / 121)

เมื่อพวกเขารู้สึกว่าพ่ายแพ้ต่อบรรดาศาสดา พวกเขาจะอ้างและถือเอาเฉพาะแบบอย่างของบรรพบุรุษเป็นแนวทางยึดมั่นสำหรับพวกตน อัล-กุรอาน กล่าวว่า

وَإِذَا قِيلَ لَهُمُ اتَّبِعُوا مَا أَنزَلَ اللَّـهُ قَالُوا بَلْ نَتَّبِعُ مَا أَلْفَيْنَا عَلَيْهِ آبَاءَنَا  أَوَلَوْ كَانَ آبَاؤُهُمْ لَا يَعْقِلُونَ شَيْئًا وَلَا يَهْتَدُونَ

และเมื่อกล่าวแก่พวกเขาว่า จงปฏิบัติตามสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมาเถิด พวกเขาก็กล่าวว่า มิได้ เราจะปฏิบัติเฉพาะสิ่งที่เราได้พบบรรดาบรรพบุรุษของเราเคยปฏิบัติมาเท่านั้น และถึงแม้ว่าบรรพบุรุษของพวกเขาไม่เข้าใจสิ่งใด และทั้งไม่ได้รับแนวทางอันถูกต้องก็ตามกระนั้นหรือ
 (อัล-กุรอาน บทอัลบะเกาะเราะฮฺ / 170)

พวกเขาจะกล่าวอ้างว่าความร่ำรวยและทรัพย์สินเงินทองจำนวนมากมายของพวกเขา เป็นผลที่สืบเนื่องมาจากความเจริญรุ่งเรืองของบรรดาบรรพบุรุษ ส่วนความอ่อนแอความยากจนและความล้าหลังเป็นของกลุ่มชนที่ปฏิบัติตามบรรดาศาสดา อันเป็นเหตุผลทางความเชื่อและการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง อัล-กุรอาน กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า

وَقَالَ مُوسَىٰ رَ‌بَّنَا إِنَّكَ آتَيْتَ فِرْ‌عَوْنَ وَمَلَأَهُ زِينَةً وَأَمْوَالًا فِي الْحَيَاةِ الدُّنْيَا رَ‌بَّنَا لِيُضِلُّوا عَن سَبِيلِكَ  رَ‌بَّنَا اطْمِسْ عَلَىٰ أَمْوَالِهِمْ وَاشْدُدْ عَلَىٰ قُلُوبِهِمْ فَلَا يُؤْمِنُوا حَتَّىٰ يَرَ‌وُا الْعَذَابَ الْأَلِيمَ

มูซาได้กล่าวว่า โอ้ พระผู้อภิบาลของเราพระองค์ทรงประทานทรัพย์สินและความสำราญแห่งชีวิตทางโลก แก่ฟิรเอาน์และพลพรรคของเขา โอ้ พระผู้อภิบาลของเราพวกเขาจะทำให้ (ปวงบ่าว) หลงออกไปจากแนวทางของพระองค์ โอ้ พระผู้อภิบาลของเราโปรดทำลายทรัพย์สินของพวกเขา โปรดทำให้หัวใจของพวกเขาแข็งกระด้างเพื่อจะได้ไม่ต้องศรัทธา จนกว่าพวกเขาจะเห็นการลงโทษอันเจ็บปวด (อัล-กุรอาน บทยูนุส / 88)

وَإِذَا جَاءَتْهُمْ آيَةٌ قَالُوا لَن نُّؤْمِنَ حَتَّىٰ نُؤْتَىٰ مِثْلَ مَا أُوتِيَ رُ‌سُلُ اللَّـهِ اللَّـهُ أَعْلَمُ حَيْثُ يَجْعَلُ رِ‌سَالَتَهُ  سَيُصِيبُ الَّذِينَ أَجْرَ‌مُوا صَغَارٌ‌ عِندَ اللَّـهِ وَعَذَابٌ شَدِيدٌ بِمَا كَانُوا يَمْكُرُ‌ونَ
 

พวกเขายังใช้ข้อแอบอ้างต่าง ๆ นานาเท่าที่จะสรรหามาได้เพื่อเป็นข้อโต้เถียงกับบรรดาศาสดา เช่น กล่าวว่าเพราะเหตุใดพระเจ้าจึงไม่แต่งตั้งศาสดาที่เป็นมะลักลงมา ทำไมพระเจ้าไม่ส่งเทวทูตลงมาพร้อมกับศาสดา ทำไมพระเจ้าไม่ให้พวกเขาร่ำรวยมีทรัพย์สินเงินทองมากมายเหมือนกับพวกเรา ซึ่งความดื้อดึงของพวกเขาไปไกลสุดโต่งจนกระทั่งพวกเขากล่าวว่า ถ้าหากพวกเราศรัทธาวะฮฺยูต้องประทานลงมาที่พวกเราแน่นอน หรือไม่พวกเราก็คงได้เห็นพระเจ้าและได้ยินคำพูดของพระองค์ด้วยตัวเอง อัล-กุรอาน บทอัล-อันอาม โองการที่ 124

บทอันนิซาอฺ โองการที่ 153 และบทอัล-บะเกาะเราะฮฺ กล่าวว่า บรรดาผู้ที่ไม่รู้กล่าวว่า ไฉนอัลลอฮจึงไม่ตรัสแก่พวกเรา หรือไม่มีโองการมายังพวกเรา ในทำนองเดียวกันบรรดาชนรุ่นก่อนพวกเขา ก็กล่าวเช่นเดียวกับคำพูดของพวกเขา โดยที่หัวใจของพวกเขาคล้ายคลึงกัน แท้จริงเราได้แจกแจงสัญญาณต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจนแล้ว แก่พวกที่ศรัทธามั่น (อัล-กุรอาน บทอัลบะเกาะเราะฮฺ / 118)

4. การขู่บังคับกรรโชก เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่อัล-กุรอานกล่าวว่าบรรดาพวกปฏิเสธได้ใช้เผชิญหน้ากับบรรดาศาสดาและผู้เจริญรอยตาม ซึ่งพวกเขาได้ขู่บังคับ ทรมาน หรือบางครั้งขับไล่ออกจากบ้านเมือง ขว้างปาด้วยก้อนหิน หนักที่สุดคือการไล่สังหาร ดังปรากฏคำยืนยันไว้ในบทอิบรอฮีม โองการที่ 13 บท บทฮูด โองการที่ 91 บทมัรยัม โองการ 46 บทยูนุส โองการ 18 และบทอัลฆอฟิร โองการที่ 26 โดยกล่าวว่า ฟิรเอานฺ กล่าวว่า จงปล่อยข้า ข้าจะฆ่ามูซา และให้เขาวิงวอนขอต่อพระเจ้าของเขา แท้จริงฉันเกรงว่าเขาจะมาเปลี่ยนศาสนาของพวกเจ้า หรือจะก่อการร้ายให้เกิดขึ้นในแผ่นดิน (บทอัลฆอฟิร / 26)

อีกด้านหนึ่งพวกเขาจะใช้วิธีการบริจาคทรัพย์สินเป็นการขัดขวางการเผยแผ่ของบรรดาศาสดา โดยบริจาคทรัพย์สินแล้วนั้นแก่ประชาชนเพื่อให้พวกเขาหันเหออกจากแนวทาง อัล-กุรอาน กล่าวว่า

แท้จริงบรรดาผู้ปฏิเสธ พวกเขาจะบริจาคทรัพย์สินของพวกเขาเพื่อขัดขวางให้ผู้คนออกจากการงานของอัลลอฮฺ แล้วพวกเขาก็จะบริจาคต่อไป ภายหลังทรัพย์สินนั้นจะกลายเป็นความเสียใจแก่พวกเขา แล้วพวกเขาจะได้รับความปราชัย และบรรดาผู้ปฏิเสธจะถูกต้อนไปสู่นรกญะฮันนัม (อัล-กุรอานบทอัลฟาล / 36)

5. การใช้ความป่าเถื่อนโหดร้ายและการสังหาร ในที่สุดเพื่อพวกเขาเห็นว่าความอดทนอดกลั้น และการยืนหยัดของบรรดาศาสดานานวันจะยิ่งเข้มแข็งขึ้นเรื่อย ๆ ความเสียหายได้เกิดแด่พวกเขา อัล-กุรอาน กล่าวว่า ทำไมเล่าเราจึงไม่มอบความไว้วางใจแด่อัลลิอฮ แน่นอน พระองค์ทรงชี้นำทางทั้งหลายแก่เรา และเราจะอดทนต่อการที่พวกเจ้าทำร้ายเรา ซึ่งบรรดาผู้มอบความไว้วางใจ พึงไว้วางใจแด่อัลลอฮเท่านั้น (บทอิบรอฮีม / 12) พวกเขาเล็งเห็นว่านานวันเข้าบรรดาผู้ศรัทธายิ่งมากขึ้น การโฆษณาชวนเชื่อและการงานต่าง ๆ ของพวกเขาไม่ประสบความสำเร็จ พวกเขาจึงใช้แผนการสุดท้ายเพื่อจัดการขบวนการของศาสดาให้สิ้นซาก โดยเริ่มต้นด้วยการขู่บังคับ การใช้ความป่าเถื่อนเข้าทำร้ายจนกระทั่งการฆ่าสังหารชีวิตบรรดาศาสดา ซึ่งมีศาสดาจำนวนไม่น้อยที่พวกเขาสังหารชีวิตไป ทำให้สังคมมนุษย์ส่วนใหญ่ถูกกีดกันจากการปฏิบัติตามมนุษย์ที่ดีที่สุด อันเป็นความเมตตาอันใหญ่หลวงจากพระเจ้า อัล-กุรอานกล่าวว่า

พวกเขาจึงถูกหวดด้วยความอัปยศและความขัดสน และพวกเขาถูกอัลลอฮฺกริ้วโกรธ นั่นเป็นเพราะพวกเขาปฏิเสธสัญญาณต่างๆ ของอัลลอฮฺ และสังหารบรรดาศาสดาโดยอยุติธรรม นั่นเป็นบาปที่พวกเขาละเมิด (อัล-กุรอาน บทอัล-บะเกาะเราะฮฺ / 61)

คราวใดที่ศาสดานำสิ่งที่ไม่สบอารมณ์ของสูเจ้ามา สูเจ้าได้แสดงความยโสโอหัง พร้อมกับปฏิเสธบางกลุ่มและสังหารอีกบางกลุ่มกระนั้นหรือ (อัล-กุรอาน บทอัล-บะเกาะเราะฮฺ / 87)

จงกล่าวเถิด ถ้าหากพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธาจริงไฉนก่อนหน้านี้พวกเจ้าจึงสังหารบรรดาศาสนทูตของอัลลอฮฺ (อัล-กุรอาน บทอัล-บะเกาะเราะฮฺ / 91)

แท้จริงบรรดาผู้ปฏิเสธโองการทั้งหลายของอัลลอฮฺ สังหารบรรดานบีโดยอยุติธรรม และสังหารบรรดาผู้ที่กำชับให้มีความยุติธรรมในหมู่ประชาชน ดังนั้น จงแจ้งข่าวการลงโทษอันเจ็บปวด (ของพระเจ้า) แก่พวกเขาเถิด (อัล-กุรอาน บทอัลอาลิอิมรอน / 21)

ความขัดสนจะถูกฟาดลงบนพวกเขา นั่นเป็นเพราะว่าพวกเขาเคยปฏิเสธบรรดาโองการของอัลลอฮฺ และสังหารบรรดานบีโดยอยุติธรรม (อัล-กุรอาน บทอัลอาลิอิมรอน / 112)

การที่พวกเขาสังหารบรรดานบีโดยอยุติธรรม (เราจะบันทึกไว้) และเราจะกล่าวว่าพวกเจ้าจงลิ้มการลงโทษแห่งเปลวเพลิงเถิด (อัล-กุรอานบทอัลอาลิอิมรอน / 181)

นอกจากโองการเหล่านี้แล้วยังมีโองการในบทอัล-มาอิดะฮฺ โองการทีท 70 บทอันนิซาอฺ โองการที่ 155 กล่าวถึงเรื่องการลงโทษอัน เนื่องจากบาปกรรมที่พวกเขาได้สังหารบรรดานบีของพระเจ้า

ขอขอบคุณเว็บไซต์อัชชีอะฮ์

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

การตักลีดในทัศนะอิสลาม
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัลนัศร์ ตอนที่ ๑
...
ตรรกะในการตัฟซีรกุรอาน
...
ตัฟซีรซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์ ...
...
ดุอาประจำวันที่ 28 ...
อะไรคือความหมายของ “วันต่าง ๆ ...

 
user comment