เอกภาพอิสลาม(วะฮ์ดะฮ์)ในมุมมองของนักวิชาการ
เป็นที่ประจักษ์ว่าจุดประสงค์ของบรรดานักปราชญ์อิสลามที่มีความคิดพัฒนา มีความเห็นพร้องต้องกันอย่างเป็นเอกฉันท์ว่า คำว่าเอกภาพไม่ได้หมายถึงการรวมเอาสำนักคิดต่างๆ ที่มีอยู่เข้าด้วยกันให้เป็นหนึ่งเดียว
หรือเลือกเอาเฉพาะประเด็นที่มีความคล้ายเหมือน และละทิ้งประเด็นที่มีความแตกต่างกันออกไป แน่นอน สิ่งนี้ไม่กินต่อสติปัญญาและไม่ใช่บทสรุปของความรู้ด้วย ทว่าจุดประสงค์ของบรรดานักปราชญ์คือ การร่วมมือกันขจัดปัญหาของมุสลิม และร่วมกันยืนหยัดต่อสู้กับศัตรู
ท่านอัลลามะฮฺ อามีนี
กล่าวว่าความเชื่อและทัศนะของนิกายมีความแตกต่างกัน แต่ไม่มีผู้ใดคิดที่จะทำลายรากอันเป็นแก่นของอัล-กุรอาน ที่กล่าวว่า “ผู้ศรัทธานั้นเป็นพี่น้องกัน” แม้ว่าบางครั้งการถกเถียงกันในบางเรื่องทางวิชาการ หรือทางหลักเทววิทยา และนิกายจะเลยเถิดไปมากก็ตาม ซึ่งเป็นแบบอย่างของพวกสะละฟี โดยมีศอฮาบะฮ์และตาบิอีนอยู่ในชั้นแนวหน้า
เราในฐานะของนักเขียนวิจารณ์แห่งโลกอิสลาม จะมีความขัดแย้งกันทั้งในเรื่องอุซูลและหลักปลีกย่อย แต่ก็มีจุดร่วมที่คล้ายเหมือนนั่นคือ
อีมานที่มีต่ออัลลอฮฺและเราะซูลของพระองค์ พวกเราต่างมีจิตวิญญาณและความรักเดียวกันนั่น คือจิตวิญญาณแห่งอิสลามและคำบริสุทธิ์
ท่านชะฮีดมุเฏาะฮะรีย์
จงรู้ไว้เถิดว่าจุดประสงค์ของนักปราชญ์อิสลาม ในคำว่าเอกภาพอิสลามกล่าวคือเอกาพไม่ได้หมายถึงการรวมเอาสำนักคิดต่างๆ ที่มีอยู่เข้าด้วยกันให้เป็นหนึ่งเดียว หรือเลือกเอาเฉพาะประเด็นที่มีความคล้ายเหมือน และละทิ้งประเด็นที่มีความแตกต่างกันออกไป แน่นอน สิ่งนี้ไม่กินต่อสติปัญญาและไม่ใช่บทสรุปของความรู้ด้วย ทว่าจุดประสงค์ของบรรดานักปราชญ์คือ การร่วมมือกันขจัดปัญหาของมุสลิม และร่วมกันยืนหยัดต่อสู้กับศัตรู
ท่านอายะตุลลอฮฺมุฮัมมัดบากิรซ็อดรฺ ตลอดอายุขัยของฉันได้ทุ่มเทเพื่อเรื่องเอกภาพและความสมานฉันท์ระหว่างซุนนีย์กับชีอะฮฺ ฉันสนับสนุนและปกป้องทุกข่าวสารและทุกความเชื่อที่จะทำให้พวกเขารักกัน ฉันเป็นลูกหลานซุนนียฺ พอๆกับที่เป็นลูกหลานชีอะฮฺ
40 ปีก่อนหน้านี้ วิชาการของท่านได้ถูกเผยแผ่ในเลบานอนโดยอิมามมูซาซ็อดร์ ในปี 1384 ท่านได้ส่งจดหมายถึงเชคฮะซันคอลิด อุละมาซุนนียฺ และเสนอแนะในเชิงวิชาการเรื่องเอกภาพ ในจดหมายอิมาม กล่าวถึงเอกภาพด้านฟิกฮฺ และรวมอีดอีสลามให้เป็นหนึ่งเดียวกันว่า ท่านจงพิจารณาข้อเสนอว่าให้ตรวจสอบดวงใจด้วยเครื่องมือสมัยใหม่ และประกาศวันอีดด้วยหลักวิชาการเพื่อมุสลิมจะได้มีอีดวันเดียวกัน หรือพิจารณาการอะซานอันเป็นที่ยอมรับของทั้งหมด หนึ่งปีหลังจากส่งจดหมาย ท่านได้นำเสนอเรื่องนี้ต่อที่ประชุม มัจญฺมะบุฮูซอิสลามี ในกอเฮเราะฮฺประเทศอียิปต์ ซึ่งได้ทำให้ท่านกลายเป็นสมาชิกถาวรของสมัชชาอิสลามในที่สุด ในปีนั้นเองท่านได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ อัลมุเซาวิร เรื่องเอกภาพนิกายหลังจากเอกภาพด้านฟิกฮฺเกิดขึ้นแล้วว่า มีความเป็นไปได้สูง แต่ไม่ใช่เฉพาะการเสวนาของผู้นำนิกายเท่านั้น
การเข้าร่วมงานต่างๆ ของอิมามมูซาซ็อดร์กับอุละมาอฺซุนนีย์ในเลบานอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานรำลึกถึงอายะตุลลอฮฺฮะกีม ที่สภาสูงสุดชีอะฮฺได้จัดขึ้น การกล่าวเทศนาวันศุกร์ในอัลอัซฮัร การนมาซร่วมกับพวกเขา เหล่านี้คือภารกิจที่นักปราชญ์ชีอะฮฺได้กระทำในหนทางของเอกภาพอิสลาม ซึ่งนักปราชญ์รุ่นหลังก็ได้ดำเนินตามวิถีของท่าน ชะฮีดซ็อดร์ทราบดีว่า เอภาพจะเกิดขึ้นได้ก็เมือนักวิชาการอิสลามต้องบริหารร่วมกัน ท่านได้เขียนในจดหมายที่ส่งถึง เชคฮะซันคอลิด ว่า “การจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ต้องพิจารณาให้รอบครอบต้องกำหนดบทบาท และขอความร่วมมือจากเยาวชนในประเทศนี้ จากอุละมาอฺ และเจ้าหน้าของรัฐ ตลอดจนกลุ่มประเทศอาหรับอื่น และต้องให้มุสลิมทั่วโลกและนักวิชาการช่วยกันปลุกระดมในทุกที่เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง และนี่คือหน้าที่ๆ อยู่ในความสามารถของเรา ถ้าหากจะให้เอกภาพเกิดขึ้น เป็นหน้าที่ของเราที่ต้องวางโปรแกมและกระทำร่วมกัน เพื่อให้เกิดมาตรฐานในความร่วมมือ” บนหลักการดังกล่าว กิจกรรมสังคม ท่านอิมามมูซาซ็อดร์ จึงไม่ได้เป็นผู้นำสำหรับชีอะฮฺเท่านั้น ทว่ารวมไปถึงบรรดาเยาวชนของเลบานอนทั้งหมดด้วย บางคนคิดว่าเอกภาพเป็นเพียงอุดมคติ แต่อิมามมูซาซ็อดรถือว่ามันคือชีวิตสำหรับอิสลาม เมื่อกล่าวว่า เอกภาพ การร่วมมือกันและการพัฒนางาน มิใช่เป็นเพียงเป้าหมายสูงสุดของศาสนาหรือเป็นคำสั่งเสียของท่านเราะซูลเท่านั้น ทว่าการมีอยู่ของเรา เกียรติยศของเราและบุตรหลานของเราขึ้นอยู่กับสิ่งนี้ แน่นอน มันคือชีวิตของเรา ดังนั้น เอกภาพไม่ควรเป็นแต่สโลแกน หรือคำพูด หรือข้อเขียนเท่านั้น ทว่าต้องเป็นอุดมการณ์ ที่เกิดจากใจและเป็นวิถีทางที่จะเดินต่อไปเป็นแนวคิดที่ต้องรู้จักอนาคต แน่นอน สิ่งนี้ไม่ใช่สิ่งอื่นใดนอกจากความพยายามด้านแนวคิดอันสูงส่ง และการให้ความสำคัญพิเศษที่เกิดจากจิตด้านใน เมื่อนั้นเอกภาพจึงจะเกิดขึ้นและบุคคลอื่นจะนำไปเป็นแบบอย่าง
ท่านอิมามมูซาซ็อดร์ เชื่อว่าเอกภาพคือความจำเป็นสำหรับชีวิตมุสลิม ท่านกล่าวว่า การบีบบังคับให้มุสลิมเป็นหนึ่งเดียวกันมิใช่เป็นเพียงคำสั่งเสียของท่านเราะซูล ทว่าความจำเป็นในชีวิตและสติปัญญาก็สำทับเรื่องนี้ไว้ ซึ่งการมีอยู่ของเราขึ้นอยู่กับสิ่งนี้ จุดประสงค์ของฉันเรื่องเอกภาพของมุสลิม ไม่ใช่เป็นการกล่าวซ้ำเยี่ยงคนหูหนวกตาบอด ทว่าจุดประสงค์คือ เอกภาพที่มีความหมายสมบูรณ์ทั้งให้ด้านความคิดและสติปัญญาของเรา และเราพยายามทำไปตามโปรแกมนั้น
ท่านอัลลามะฮฺเฏาะบาเฏาะบาอียฺ บรรดาชีอะฮฺในยุคแรกของอิสลามไม่เคยแตกแถวออกไปจากมุสลิมส่วนใหญ่ พวกเขามีส่วนร่วมและให้ความช่วยเหลือในกิจกรรมของส่วนใหญ่ ปัจจุบัน เป็นความจำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคนที่ต้องเห็นพร้องบนหลักการแห่งศาสนาศักดิ์สิทธิ์ เพื่อจะได้หลุดพ้นจากการบีบบังคับของศัตรูในปัจจุบัน และต้องปล่อยวางความขัดแย้งด้านวิชาการโดยหันหน้ามารวมกันเป็นหนึ่งเดียว
ท่านซัยยิดกุฎบ์ มุสลิมตามคำกล่าวของอัล-กุรอานที่ว่า «ผู้ซึ่งพวกเขายืนหยัด» ดังนั้น เบื้องต้นสิ่งที่จำเป็นที่สุด การกระทำที่สำคัญที่สุด และความเร่งด่วนที่จะต้องกระทำคือ การก่อตั้งสังคมให้เป็นปึกแผ่นดังที่กุรอานกล่าวว่า จงยึดให้มั่น เนื่องจากเงื่อนไขของความสุขจะเกิดขึ้นคือ การกระทำร่วมกัน และต้องไม่ปล่อยให้ความแตกแยกต่างๆ เป็นตัวทำลาย
ท่านซัยยิดมุฮัมมัดฮุซัยนฺ กาชิฟุลฆอฏออ์ รากฐานของอิสลามวางอยู่บน 2 หลักการคือ เตาฮีดและการยึดมั่นบนเตาฮีด
ท่านซัยยิดมุฮัมมัด เฆาะซาลียฺ ศาสนากำชับให้ออกห่างจากการทะเลาะและความแตกแยก และเชิญชวนไปสู่ความเป็นเอกภาพ อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า จงยึดมั่นสายเชือกโดยพร้อมเพียงกันและจงอย่าแตกแยก อีกโองการหนึ่งกล่าวว่า จงอย่าวิวาทและจงอย่าโต้เถียง แต่น่าเสียดายว่าพวกเราทั้งหลายต่างประพฤติขัดแย้งกับโองการที่ชัดเจนเหล่านี้ เราต่างฝ่ายต่างต่อต้านอีกฝ่ายหนึ่งในนามของศาสนา และแต่ละฝ่ายจะเลือกเดินในหนทางของตนเอง และนั่นคือความอคติถือตนเป็นศัตรูกับพี่น้องมุสลิมอีกฝ่ายหนึ่ง
ท่านซัยยิดอับดุลฮุซัยนฺ ชะรัฟฟุดดีน ถ้าความแตกต่างของทั้งสองคือการเมือง การรวมกันของทั้งสองก็คือการเมือง ชีอะฮฺและซุนนีย์ นับตั้งแต่วันแรกเขาได้แยกกันเพราะการเมือง ทุกวันนี้เขาปล่อยละเว้นการเมืองเหล่านั้นเสีย
ท่านเชคมะฮฺมูด ชัลตูต ได้ยึดมั่นสารของท่านอายะตุลลอฮฺ บุรูญิดดียฺที่นำเสนอเรื่องความสมานฉันท์ด้านสำนักคิด ท่านได้กล่าวกับผู้มีความอคติทั้งหลายว่า ศาสนาอิสลามไม่เคยบังคับให้ผู้ใดต้องปฏิบัติตามสำนักคิดใด สำนักคิดญะอฺฟะรีย์ หรือรู้จักกันในนามของอิมามมียะฮฺ 12
อิมาม การถือปฏิบัติตามสำนักคิดดังกล่าวตามชัรอียฺแล้วเหมือนกับการถือปฏิบัติตามสี่สำนักคิด ถือว่าอนุญาต ดังนั้นเป้นการดีถ้ามุสลิมทั้งหลายต่างยอมรับความจริงข้อนี้ และปล่อยวางความอคติของตนที่มีต่อสำนักคิดใดสำนักคิดหนึ่งโดยเฉพาะออกไปเสีย เนื่องจากศาสนาของพระเจ้าไม่ได้บังคับเรื่องนิกาย
ท่านเชคมุฮัมมัด อับดุ ลูกศิษย์ซัยยิดญะมาลุดดีน ถือว่าความแตกแยกคือศัตรูตัวฉกาจ ท่านกล่าวว่า ความแตกแยกคือความอ่อนแอของนิกายและศาสนา และเป็นแผนร้ายของศัตรู ศัตรูพยายามสร้างความแตกแยกและความแตกต่างให้เกิดขึ้นในอิสลาม โดยใช้ความแตกต่างและความอ่อนแอทางนิกายและศาสนาเป็นเครื่องมือ พวกเขาทำให้หัวใจของผู้ศรัทธาเกิดความอคติต่อกัน และพยายามทำให้พวกเขาห่างไกลจากแก่นแท้ของอิสลาม สร้างความแคลงใจให้เกิดขึ้นในหัวใจของมุสลิม ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างมุสลิมกับศาสนาคับแคบลง
เชคมุฮัมมัด อับดุ ความสามัคคีเปรียบเสมือนเป็นผลไม้อันหอมหวานของต้น ที่มีทั้งลำต้น กิ่งก้าน และใบมากมาย รากแก้วของมันคือ จริยธรรมอันสูงส่ง และเป็นวาญิบสำหรับมุสลิมทุกคนที่ต้องเรียนรู้แก่นของอิสลาม เพื่อเขาจะได้รับผลประโยชน์จากผลไม้ของมัน
เชคมะฮฺมูดชัลตูต ผู้นำมุสลิมในยุคแรกของอิสลามมีวิสัยทัศน์ทางความรู้แตกต่างกัน แต่กระนั้นพวกเขาก็ให้เกียรติและเคารพต่อกัน ให้อภัยกันและกัน เขาไปเดินทางไปเยี่ยมกันถามไถ่ถึงกันและกัน และเรียนรู้เรื่องราวจากกันและกัน
อัลลามะฮฺ กาชิฟุลฆิฎอ จำเป็นต้องรู้ไว้ว่าจุดประสงค์ของความสมานฉันท์ระหว่างสำนักคิดในอิสลาม ไม่ได้หมายถึงการขจัดรากแห่งความขัดแย้งระหว่างพวกเขาให้หมดไป ทว่าความหวังและเป้าหมายที่สำคัญที่สุดคือ การไม่ปล่อยให้ความขัดแย้งนั้นกลายเป็นศัตรูต่อกัน หรือปล่อยให้ความใกล้ชิดกลายเป็นความห่างไกล
ท่านอิมามโคมัยนี (รฏ.) ผู้นำผู้ยิ่งใหญ่แห่งโลกอิสลาม กล่าวว่า ความแยกแตกมาจากชัยฎอน ส่วนความสามัคคีมาจากพระผู้เมตตา
ท่านชะฮีดอายะตุลลอฮฺ ซัยยิดมุฮัมมัดตะกียฺ ฮะกีม ความขัดแย้งมากมายระหว่างซุนนียฺและชีอะฮฺ เกิดจากการมุสาและการโฆษณาชวนเชื่อที่มดเท็จ ซึ่งมาจากรัฐบาลกดขี่ที่แฝงตัวอยู่ท่ามกลางความมืดมิด
ท่านมุฮัมมัดริฏอ เราะชีด หนึ่งในปัญหาใหญ่ของสำนักคิดต่างๆ ในอิสลามคือ การโกหกให้ร้ายกันและกัน ทั้งที่ต่างฝ่ายมีเจตนาต้องการไปให้ถึงยังสัจธรรมความจริง ด้วยเหตุนี้ แต่ละคนจึงเป็นมุจญฺตะฮิด และมุจญฺตะฮิดนั้นแม้ว่าจะทำความผิดพลาดก็ได้รับอภัยเสมอ
ท่านดร. อุมมัรฟุรูฆ ความขัดแย้งทั้งหมดที่เกิดขึ้นระหว่างสำนักคิดต่างๆ เกี่ยวข้องกับเรื่องการค้าขาย และการอิบาดะฮฺเท่านั้น ส่วนเรื่องความเชื่อที่มีค่ออัลลอฮฺ และเราะซูลของพระองค์พวกเขาไม่มีความขัดแย้งกันแม้แต่นิดเดียว
ท่านชะฮีดมุรตะฎอมุเฏาะฮะรีย์ ผู้ที่ไม่เห็นชอบให้มุสลิมร่วมเป็นหนึ่งเดียวกัน เนื่องจากพวกเขาเข้าใจความหมายคำว่า เอกภาพผิดเพี้ยนไปจากหลักการและเหตุผล และอ้างว่านั่นเป็นเอกภาพทางสำนักคิด ขณะที่นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ในอิสลามไม่เคยมีเจตนาที่จะทำให้มุสลิมทั้งหมดเป็นชีอะฮฺ หรือเป็นซุนนียฺ ทว่าต้องการให้ทุกคนเผชิญปัญหาร่วมกัน
ท่านซัยยิดอะฮฺมัด โคมัยนี นับเป็นเวลานานแล้วที่สังคมอิสลามกล่าวถึง ความเป็นเอกภาพให้หมู่มุสลิมและความสมานฉันท์ระหว่างประเทศ แต่ในเชิงปฏิบัติยังไม่มีการกระทำที่เป็นรูปธรรมให้เห็นประจักษ์ แต่ตราบใดที่จิตวิญญาณแห่งความคิดเรื่องเตาฮีด และรากหลักอันทรงคุณค่าที่จำเป็นสำหรับสังคมกล่าวคือ ความเป็นเอกภาพ ยังไม่เกิดขึ้นความเพียรพยายามเหล่านั้นก็ไร้ซึ่งความหมายและมรรคผลทั้งปวง
ท่านอัลลามะฮฺ ชะรัฟฟุดดีน
เมื่อใดที่มุสลิมรู้สึกเป็นห่วงเป็นใยกันและกัน เวลานั้นเอกภาพก็จะเกิดขึ้น
ท่านอัลลามะฮฺมุฮัมมัด ตะกีย์กุมมี ผู้นำสร้างความสมานฉันท์ การขจัดอุปสรรคปัญหาระหว่างมุสลิมให้หมดไป และสร้างความสามัคคีให้เกิดตามมาเท่ากับเป็นการทำให้อิสลามยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ความขัดแย้งที่ไม่ใช่รากของศาสนาจะไม่บั่นทอนความศรัทธาเด็ดขาด และจะไม่ทำให้ผู้ใดหลุดโคจรของอิสลามแน่นอน
อิมามมูซาซ็อดรฺ เหตุผลหลักที่สำนักคิดต่างๆ ในอิสลามต้องห่างไกลกัน เนื่องจากการไม่รู้จักกันและกันของบรรดามุสลิม
ท่านอายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี ถ้าหากตัวเราทำลายเอกภาพเสียเอง ตะวันออกและตะวันตกก็จะรวมหัวกันมาทำลายเราอย่างแน่นนอน และเราก็จะไปไม่ถึงเป้าหมาย
ท่านอุสตาดอะฮฺมัด อะมีน มิซรียฺ มันช่างเป็นความเศร้าใจทั้งที่เรามีอัลลอฮฺเพียงองค์เดียว มีศาสดาคนเดียวกัน และมีอัล-กุรอานฉบับเดียวดัน แต่ประชาชาติกับทะเลาะเบาะแว้งกันในรายละเอียดปลีกย่อย อีกทั้งยังหาเหตุผลมาทำลายล้างกัน
ขอขอบคุณเว็บไซต์ตักรีบมะซอฮิบอิสลาม