ไทยแลนด์
Saturday 23rd of November 2024
0
نفر 0

ตะวัซซุลในอิสลามตามอัลกุรอานและซุนนะฮ์

หลักการตะวัซซุลนั้นมีหลักฐานยืนยันทั้งในแง่สติปัญญาและตัวบททางศาสนา ตะวัซซุล หมายถึง การที่คนเรานำเสนอบุคคลใดหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดณ พระองค์ เพื่อให้พระ
ตะวัซซุลในอิสลามตามอัลกุรอานและซุนนะฮ์

หลักการตะวัซซุลนั้นมีหลักฐานยืนยันทั้งในแง่สติปัญญาและตัวบททางศาสนา


ตะวัซซุล หมายถึง การที่คนเรานำเสนอบุคคลใดหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดณ พระองค์ เพื่อให้พระองค์ตอบรับดุอาตามที่เราต้องการ ทุกคนทราบดีว่าเหตุปัจจัยต่างๆคือหนทางสู่เป้าหมาย ไม่ว่าจะในแง่วัตถุวิสัยหรือในแง่จิตวิญญาณ สัจธรรมนี้ครอบคลุมแม้กระทั่งกรณีของพืชและสัตว์ทั่วไปในชีวิตประจำวัน มนุษย์พยายามใช้สติปัญญาและสัญชาตญาณของตนในการค้นหาเหตุปัจจัยที่ช่วยพัฒนา คุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้นซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ความเจริญรุดหน้าทางด้านเทคโนโลยีอันน่าทึ่งของมนุษย์ล้วนเกิดจากการไข ปริศนาเกี่ยวกับเหตุปัจจัยต่างๆและนำมาใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมอย่างไรก็ดี ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า ชีวิตมนุษย์มิได้จำกัดอยู่เพียงชีวิตทางวัตถุวิสัยเท่านั้น เพราะแกนสำคัญของชีวิตมนุษย์ก็คือจิตวิญญาณอันตั้งอยู่บนพื้นฐานของกลไกเหตุ และผลเช่นเดียวกัน


อัลกุรอานสอนผู้ศรัทธาให้เฟ้นหาสื่อกลางเพื่อเชื่อมสัมพันธ์กับพระองค์ว่า :


يَأَيُّهَا الَّذِينَ ءَامَنُوا اتَّقُوا اللَّهَ وَابْتَغُوا إِلَيْهِ الْوَسِيلَةَ وَ جَاهِدُوا فى سبِيلِهِ لَعَلَّكمْ تُفْلِحُونَ  


.โอ้ผู้ศรัทธาเอ๋ยจงยำเกรงพระบัญชาของพระองค์ และจงแสวงหาสื่อกลางสู่พระองค์และจงต่อสู้ในหนทางของพระองค์ หวังว่าสูเจ้าจะได้รับชัยชนะ” อัลมาอิดะฮ์, 35
โองการข้างต้นระบุชัดเจนว่า การเชื่อมสัมพันธ์ของพระองค์กระทำได้โดยผ่านสื่อกลางที่จะทำให้มีความใกล้ชิดกับพระองค์เชิงจิตวิญญาณ ถามว่าอะไรคือสื่อกลางในที่นี้?
 ฮะดีษมากมายหลายบทที่ปรากฏในตำราฮะดีษทั้งฝ่ายชีอะฮ์และซุนหนี่ต่างระบุว่าท่านนบีและวงศ์วานของท่านคือสื่อกลางที่ดีที่สุดในการเชื่อมสัมพันธ์กับพระองค์


อัลกุรอาน นอกจากโองการที่กล่าวแล้ว โองการที่ 97 ซูเราะห์ยูซุฟ กล่าวว่า:


قَالُوایَا أَبَانَا اسْتَغْفِرْ لَنَا ذُنُوبَنَا إِنَّا کُنَّا خَاطِئِینَ قَالَسَوْفَ أَسْتَغْفِرُ لَکُمْ رَبِّی إِنَّهُ هُوَ الْغَفُورُ الرَّحِیمُ


พี่น้องของยูซุฟได้ขอร้องบิดา (ยะอฺกูบ) ให้ขอลุแก่โทษแก่พวกเขาโดยกล่าวว่า โอ้ พ่อของเรา โปรดขออภัยโทษแก่เราในความผิดของเรา แท้จริง เราเป็นผู้ผิด
อัลกุรอาน บทเตาบะฮฺ กล่าวถึงการขออภัยโทษของศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ให้แก่บิดาของท่าน


(وَمَا كَانَ اسْتِغْفَارُ إِبْرَاهِيمَ لِأَبِيهِ)


ซึ่งเป็นการบ่งชี้ให้เห็นว่า บทบาทของดุอาอฺของบรรดาศาสดา(อ.) ในการขออภัยโทษให้แก่บุคคลอื่น  อัลกุรอาน ซูเราะห์เตาบะฮฺ, 114


รายงานจำนวนมากมายจากสายรายงานทั้งชีอะฮฺและซุนนียฺ, กล่าวถึงบทบาทสำคัญของการตะวัซซุล หนังสือ วะฟาอุลวะฟา เขียนโดยซัมฮูดี (ซุนนีย์) กล่าวว่า:

 

یقول السمهودي فی کتابه (وفاء الوفا) و هو من أهل السنة:
ان التوسل بالرسول وطلب الشفاعة من الرسول جائزة مطلقا سواء کانت قبل ولادته ام بعدها و قبل رحلته او بعدهاو سواء فی عالم البرزخ ام القیامة، ثم یذکر السمهودی روایة حول توسل النبي آدم (ع)بنبي الرحمة محمد(ص) عن عمر بن الخطاب :
اللّهم إنّي أسألك و أتوجه إلیك  بنبیّك محمّد نبي الرّحمة یا محمّد إنّي توجهت بك إلى ربّي في حاجتي لتقضي لي ‌


การขอความช่วยเหลือและชะฟาอะฮฺจากท่านศาสดา(ซ็อล ฯ) จากตำแหน่งและบุคลิกภาพของท่าน, หรือก่อนการสร้างท่านเป็นสิ่งอนุญาตทั้งสิ้น ตลอดจนหลังการกำเนิดและก่อนการจากไปของท่าน หรือหลังจากการจากไป, ในโลกบัรซัคและในวันฟื้นคืนชีพ หลังจากนั้นเขาได้กล่าวอีกว่า  มีรายงานเกี่ยวกับการตะวัซซุลของศาสดาอาดัม (อ) ที่มีไปยังท่านนบี มุฮัมมัด จากอุมัร บิน ค็อฏฏอบได้กล่าวว่า


ข้าแด่อัลลอฮ์ ฉันขอวิงวอนต่อพระองค์ผ่านนบีของพระองค์ มุฮัมมัด ศาสดาแห่งเมตตา โอ้มุฮัมมัด ฉันขอผ่านยังท่านถึงพระผู้อภิบาลของฉันในความต้องการของฉัน โปรดทำให้สำเร็จด้วยเถิด


และได้กล่าวอีกว่ ศาสดาอาดัมได้วอนขอต่ออัลลฮฺ(ซบ.) จากความรู้ที่ว่าในอนาคตจะมีการสร้างศาสดาอิสลามขึ้นมาว่า :


"یا رب اسئلك بحق محمد (ص) لما غفرت لي"


“โอ้พระผู้อภิบาล ฉันขอวิงวอนต่อพระองค์ ด้วยสิทธิของมุฮัมมัด ขอทรงโปรดอภัยแก่ฉันเถิด”


(วะฟาอุลวะฟาอฺ, เล่ม 3, หน้า 1371)


รายงานบทอื่นจากซุนนีย์ที่บันทึกไว้ เช่น นะซาอียฺและติรมิซียฺ กล่าวว่า :


มีชายตาบอดคนหนึ่งได้ขอให้ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ดุอาอฺแก่เขาเพื่อการชะฟาอะฮฺอาการป่วยไข้, ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้สั่งให้เขาดุอาอฺเช่นนี้ว่า:


اللهم اني اسئلك واتوجه اليك بنيك محمد نبي الرحمة


โอ้ อัลลอฮฺ ฉันขอวิงวอนต่อพระองค์ และขอมุ่งสู่พระองค์ ผ่านศาสดาของพระองค์ มุฮัมมัด ศาสดาแห่งเมตตาโอ้ มุฮัมมัด ณ เบื้องพระพักตร์ของพระผู้อภิบาลของฉัน ฉันขอมุ่งยังท่าน โปรดทำให้ดุอาอฺของฉันถูกยอมรับ โอ้ อัลลอฮฺ โปรดให้นบีเป็นผู้ให้ชะฟาอะฮฺแก่ฉัน”


و ینقل عن البیهقي قوله: أصاب الناس فی زمن الخلیفة الثاني سنتان من القحط فجاء بلال مع مجموعة من الصحابة إلى قبر الرسول (ص)، فوقف عنده و قال: (یا رسول الله استسقِ لأمتك فإنهم قد هلکوا  
  التفسیر الأمثل، ج 4، ص 368 ـ 369


รายงานจาก บัยฮะกียฺ กล่าวว่า ช่วงยุคสมัยการปกครองของเคาะลิฟะฮฺอุมัร มีความแห้งแล้งมากประมาณเกือบ2 ปี ท่านบิลาลพร้อมกับศอฮาบะฮฺท่านอื่นได้เดินทางไปยังหลุมฝังศพของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) แล้วกล่าวว่า:


 โอ้ ยาเราะซูลลุลลอฮฺ โปรดขอฝนให้แก่ประชาชาติของท่านด้วย เนื่องจากความ (แห้งแล้ง) กำลังจะคร่าชีวิตพวกเรา


source : alhassanain
0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

นะบูวะห์ (ตอนที่ 5)
...
อิมามฮุเซนฺ (อ.) คือ ใคร
ซิกรุลลอฮ์ด้วยจิต
...
สาเหตุการกล่าวคำปฏิญาณในอิสลาม
มุนาญาต อัชชากกีน ...
ปรัชญาแห่งอุปสรรคในชีวิต
บันทึกประวัติ “ปาเลสไตน์” ...
มารู้จักอิมามมะฮฺดีย์

 
user comment