ไทยแลนด์
Saturday 23rd of November 2024
0
نفر 0

สาเหตุการกล่าวคำปฏิญาณในอิสลาม

สาเหตุการกล่าวคำปฏิญาณในอิสลาม ประโยคคำปฏิญาณ (อัชฮะดุ อันลา อิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ) ได้นำเอาประโยคปฏิเสธขึ้นหน้าก่อนการปฏิญาณ (ในความเป็นเอกะของพระองค์) มีเหตุผลอันใดหรือ? คำตอบแบบย่อๆก็คือ คำว่า ชะฮาดะตัยนฺ หมายถึง การผนวกเอาสองประโยคเข้ามา
สาเหตุการกล่าวคำปฏิญาณในอิสลาม



สาเหตุการกล่าวคำปฏิญาณในอิสลาม

 

ประโยคคำปฏิญาณ (อัชฮะดุ อันลา อิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ) ได้นำเอาประโยคปฏิเสธขึ้นหน้าก่อนการปฏิญาณ (ในความเป็นเอกะของพระองค์) มีเหตุผลอันใดหรือ?

คำตอบแบบย่อๆก็คือ คำว่า ชะฮาดะตัยนฺ หมายถึง การผนวกเอาสองประโยคเข้ามาด้วยกัน กล่าวคือ คำปฏิญาณประโยคแรกที่กล่าวว่า

(อัชฮะดุ อันลา อิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ หมายความว่า ข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้า นอกจากพระองค์อัลลอฮ์ เพียงองค์เดียว) เพื่อพิสูจน์และสารภาพถึงความเป็นหนึ่งเดียวของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งเฉพาะเจาะจงและคู่ควรยิ่งแก่การเคารพภักดี สำหรับองค์พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก

ส่วนคำปฏิญาณที่สอง (อัชฮะดุ อันนะ มุฮัมมะดัน เราะซูลลุลอฮฺ หมายความว่า ข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่า แท้จริงมุฮัมมัด คือ ศาสนทูตแห่งพระองค์อัลลอฮ์ ) เพื่อพิสูจน์และปฏิญาณว่า

ท่านนบีมุฮัมมัด คือ ศาสนทูตแห่งอิสลาม มิได้พิสูจน์การเป็นศาสนทูตคู่ควรแก่ท่านนบี

ด้วยเหตุนี้ การกล่าวชะฮาดัตอันแรก จึงเป็นการเน้นที่เฉพาะเจาะจงสำหรับพระองค์

ประโยคจึงเริ่มต้นด้วย “การปฏิเสธ” ลา นะฟี ญินซฺ เพื่อเน้นให้เห็นความสำคัญของคำว่า

 “อิลาฮะ” ซึ่งถือว่าเป็นคำนามที่เป็นนะกิเราะฮฺ (มิได้ระบุเจาะจง) แน่นอน บริบทของการปฏิเสธนี้ ให้ประโยชน์ในแง่รวมทั้งหมด โดยปฏิเสธพระเจ้าที่มีทั้งหมดบนโลก และปฏิเสธการมีส่วนร่วมในความเป็นพระเจ้าของพระเจ้าที่แท้จริง ดังนั้น การที่กล่าวว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใด “นอกจาก” อิลลา นั่นเป็นจำกัดให้เห็นถึงความสำคัญอันเฉพาะสำหรับ อัลลอฮฺ เพื่อประกาศให้รู้ว่าไม่มีใคร หรือสิ่งใดมีส่วนร่วมในการเป็นพระผู้อภิบาลของพระองค์ ดังนั้น ในความเป็นจริงจึงพิสูจน์ด้วยประโยคที่กล่าวว่า “นอกจากอัลลอฮฺ” เพื่อบ่งบอกให้เห็นถึงความเป็นหนึ่งเดียวของพระองค์ และประกาศให้เห็นว่า นอกจากอัลลอฮฺแล้ว ไม่มีผู้ใดคู่ควรต่อการเคารพภักดี

แต่สำหรับชะฮาดัตที่สอง จุดประสงค์ต้องการพิสูจน์ให้เห็น การเป็นศาสนทูตอิสลามของท่านศาสดา (ซ็อลฯ)  ซึ่งมิได้จำกัดเฉพาะอยู่แค่ท่านศาสดาเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ จึงพิสูจน์ด้วยประโยคบอกเล่าธรรมดา เพื่อชี้ให้เห็นถึงการเป็นศาสดาของท่านเท่านั้น

 

กล่าวอีกรูปแบบหนึ่งใน คำตอบก็คือ การกล่าว ชะฮาดะตัยนฺ ในการปฏิญาณตนผนวกด้วยสองประโยค[1] ซึ่งคำปฏิญาณประโยคแรก[2] เป็นการพิสูจน์และสารภาพถึงความเป็นหนึ่งเดียงของพระเจ้า ซึ่งเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่คู่ควรต่อการเคารพภักดี และเป็นผูอภิบาลโลกนี้ ส่วนชะฮาดัตที่สอง[3] ต้องการพิสูจน์ให้เห็นถึงการเป็นศาสนทูตของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ซึ่งมิได้จำกัดการเป็นศาสทูตไว้แค่ท่านศาสดาเท่านั้นย ด้วยเหตุนี้เอง คำปฏิญาณ ประโยคแรก เท่านั้นที่เฉพาะเจาะจงเพียงแค่อัลลอฮฺ[4] จึงเริ่มต้นประโยคด้วย “ลานะฟีญินซ” เพื่อว่าคำต่อไปคือ “อิลาฮะ” ซึ่งในที่นี้ถือว่าเป็นคำนามที่ไม่ได้ระบุเฉพาะเจาะจง ดังนั้น ในบริบทของการปฏิเสธดังกล่าว จึงส่งผลให้เห็นถึงการปฏิเสธที่เป็นส่วนมรวมทั้งหลาย นั่นคือ พระเจ้าทั้งหลายที่มีอยู่บนโลกนี้ หรือเทพเจ้าที่คิดว่ามีส่วนร่วมในการบริบาลของพระเจ้า จึงถูกขจัดออกไปจนหมดสิ้น ด้วยประโยค “อิลลา” ที่เรียกว่า “อิลลา ฮัซรียะฮฺ” นั่นหมายถึง ความคู่ควรเหมาะสมในการเคาพภักดีนั้นมีอยู่ใน อัลลอฮฺ เพียงพระองค์เดียว และเพื่อประกาศให้รู้ว่าพระองค์ไม่หุ้นส่วนอันใดทั้งสิ้นในการบริบาล ดังนั้น ในประโยคจึงปฏิเสธด้วยคำว่า “อิลลัลลอฮฺ” นอกจากอัลลอฮฺ บ่งบอกให้เห็นถึงความเป็นหนึ่งเดียว เป็นการจำกัดให้เห็นถึงความสำคัญอันเฉพาะสำหรับ อัลลอฮฺ เพื่อประกาศให้รู้ว่าไม่มีใคร หรือสิ่งใดมีส่วนร่วมในการเป็นพระผู้อภิบาล หรือคู่ควรแก่การแสดงความเคารพภักดีนอกจากพระองค์เท่านั้น[5]

ส่วนประโยคที่สอง (อัชฮะดุ อันนะ มุฮัมมะดัน เราะซูลลุลอฮฺ) เนื่องจากเป้าหมายคือ ต้องการพิสูจน์ให้เห็นถึง การเป็นศาสนทูตของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ซึ่งมิได้จำกัดหรือระบุเจาะสำหรับศาสดาเท่านั้น[6] ด้วยเหตุนี้ รูปประโยคจึงไม่ได้ใช้ในลักษณะของ การปฏิเสธและพิสูจน์ ดังนั้น จึงใช้ประโยคในลักษณะของการบอกเล่า เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า การเป็นศาสนทูตนั้นสำหรับท่านศาสดา และศาสดาคนอื่นๆ ด้วย

คำว่า “ลาอิลาฮะ อัลลัลลอฮฺ” ถือเป็นสโลแกนในการเชิญชวนของบรรดาศาสดาทั้งหลาย แม้แต่ศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) เองก็เช่นเดียวกัน ในเบื้องต้นที่ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ประกาศเชิญชวนนั้น ท่านได้ประกาศเชิญชวนประชาชนไปสู่ การเคารพภักดีต่อพระเจ้าองค์เดียว กล่าวว่า «قولوا لا اله‌ الّا اللَّه‌ تفلحوا» “จงประกาศเถิด ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ เพื่อจะได้ประสบความสำเร็จ”

คำกล่าวที่กล่าวว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ” บ่งบอกให้เห็นถึงความสำคัญ 3 ประการดังนี้

1) การบ่งบอกที่ตรงกัน กับความเป็นหนึ่งเดียว ในการแสดงความเคารพภักดี และปฏิเสธเทพเจ้าทั้งหมด นอกจากอัลลอฮฺ

2) การบ่งบอกอันจำเป็น ที่มีต่อประเภทต่างของความเป็นหนึ่งเดียว เช่น ความเป็นหนึ่งเดียวในอาตัน พระลักษณะ การกระทำ และทฤษฎี

3) การบ่งบอกอันเฉพาะ ที่มีต่อการยืนในสิ่งที่ท่านศาสนทูต ได้นำมาประกาศสั่งสอน หมายถึงหลังจากปฏิญาณถึงความเป็นหนึ่งเดียว และการคู่ควรแก่เคารพภักดีของพระเจ้าแล้ว จำเป็นต้องเชื่อฟังคำพูดของพระองค์ ในการประทานศาสดาลงมาประกาศสั่งสอน ประทานคัมภีร์ แต่งตั้งตัวแทนเพื่อรักษาศาสนาและคำสอน พร้อมทั้งจัดวางกฎระเบียบ [7]

มุสลิมทุกคนจำเป็นต้องเชื่อทั้งสามการบ่งบอกดังกล่าวนี้ ซึ่งนอกจากความเชื่อทางจิตใจแล้ว ยังต้องมีการแสดงออกทางการปฏิบัติด้วย เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงความจริใจ และความบริสุทธิ์ใจที่มีต่อระดับของเตาฮีดทั้งหลาย[8]

บางทีอาจเกิดคำถามในความคิดของมนุษย์ว่า การเชิญชวนไปสู่การแสดงความเคารพภักดีพระเจ้าองค์เดียว คือรากเหง้าหนึ่งของการพิสูจน์ในการมีอยู่ของพระผู้อภิบาล ดังนั้น เบื้องต้นต้องพิสูจน์ก่อนว่า โลกนี้มีพระเจ้าผู้ทรงบริบาลดูแลอยู่จริง หลังจากนั้นจึงค่อยพิสูจน์ความเป็นหนึ่งเดียวของพระองค์ เนื่องจาก บรรดาศาสดาแห่งพระเจ้า ก่อนที่จะพิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้าแก่ประชาชน ได้เชิญชวนประชาชนไปสู่การเคารพภักดีพระองค์ ทั้งที่ยังไม่รูว้าพระองค์มีอยู่จริงหรือไม่

คำตอบสำหรับความสงสัยนี้ ต้องกล่าวว่า ตามความเป็นจริงแล้ว การมีอยู่ของพระผู้อภิบาล คือ สิ่งที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งมีอยู่ในสัญชาติญาณของมนุษย์ทุกคน โดยที่ไม่จำต้องอาศัยการสั่งสอน หรือการเชิญชวนของศาสดา  แม้กระทั่งการยอมรับการเชิญชวนของศาสดา ที่เชิญชวนไปสู่พระเจ้าองค์เดียว ในฐานะผู้ทรงรังสรรค์ และทรงเป็นผู้อภิบาลโลก พร้อมกับปฏิเสธเทพเจ้าหลากหลาย เหล่านี้ล้วนเป็นสัญชาติญาณที่ซ๋อนอยู่ในธรรมชาติของความเป็นมนุษย์[9] ถ้าหากว่าธรรมชาติการมีอยู่ของพระเจ้า มิได้ฝังอยู่ในสัญชาติญาณของมนุษย์แล้วละก็ บรรดาศาสทูตแห่งพระเจ้าก็จะต้องเผชิญปัญหา ยากกว่านี้อีกหลายเท่าในการเชิญชวนมนุษย์ ทว่าแม้แต่การเผยแผ่ของท่านก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จ เหมือนดังที่เป็นอยู่ก็เป็นไปได้

พระผู้อภิบาลผู้ทรงเกรียงไกร การถึงการแสวงหาพระเจ้าของมนุษย์ อันเป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน โองการกล่าวแก่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ว่า ..

«فَأَقِمْ وَجْهَکَ لِلدِّینِ حَنیفاً فِطْرَتَ اللَّهِ الَّتی‌ فَطَرَ النَّاسَ عَلَیْها لا تَبْدیلَ لِخَلْقِ اللَّهِ ذلِکَ الدِّینُ الْقَیِّمُ وَ لکِنَّ أَکْثَرَ النَّاسِ لا یَعْلَمُونَ»؛

“ดังนั้น เจ้าจงผินหน้าของเจ้าสู่ศาสนาอันเที่ยงธรรม [ปฏิบัติตาม] ธรรมชาติของอัลลอฮฺทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมา มิมีการเปลี่ยนแปลงในการสร้างของอัลลอฮฺ นั่นคือศาสนาอันเที่ยงตรง แต่ส่วนมากของมนุษย์ไม่รู้”[10]

คำว่า “ฟิตรัต” ในภาษาอาหรับถือว่าเป็น อิสมุ มัซดัร ในที่นี้หมายถึงการซ่อน หรือการตกลงเรื่องการรู้จักพระเจ้า โดยทั่วไปแล้วสิ่งนี้หยั่งลึกอยู่ในสัญชาติญาณของมนุษย์ ซึ่งคำอธิบายของมันในแง่ของหลักความศรัทธา จริยธรรม ความเชื่อด้วยจิตใจ และการปฏิบัติ รวมอยู่ใน ดีนฮะนีฟา อันได้แก่อิสลามนั่นเอง ด้วยเหตุนี้เอง พระผู้อภิบาลผู้ทรงเกรียงไกร จึงเน้นย้ำถึงเรื่องความจำเป็นในหลักศรัทธา และโครงสร้างของศาสนาอิสลาม พร้อมกันนั้น พระองคยังทรงมีบัญชาบัญชาโดยตรงกับท่านศาสดา ให้สั่งสอนเชิญชวนประชาติ ไปสู่ศาสนาที่เที่ยงธรรม อันได้แก่อิสลาม เพื่อว่าธรรมชาติดั้งเดิมนี้ของมนุษย์ จะได้ตื่นตัวขึ้นมาและเชื่อฟังปฏิบัติตาม คำสอนของอัลกุรอาน และศาสนา และเวลานั้นมนุษย์จะได้พบกับความเป็นมนุษย์ที่แท้จริงของตน อีกทั้งยังได้รับความสุขความเจรญิที่แท้จริงที่สิ่งนั้นกำลังรอคอยเขาอยู่[11]

 

 แหล่งอ้างอิง

[1] أَشْهَدُ أَنْ‌ لَا إِلَهَ‌ إِلَّا اللَّهُ - أَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّداً رَسُولُ اللَّه‌.

[2] أَشْهَدُ أَنْ‌ لَا إِلَهَ‌ إِلَّا اللَّهُ‌ُ‌.

[3] أَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّداً رَسُولُ اللَّه‌.

[4] لَا إِلَهَ‌.

[5] ดะอาซ ฮะมีดาน กอซิม อิอ์รอบุลกุรอาน อัลกะรีม เล่ม 3 หน้า 20 ดารุลมุนีร และดารุลฟารอบี ดามัสกัส พิมพ์ครั้งแรก ปี ฮ.ศ. 1425

[6] เนื่องจากเรามิได้มีศาสดาเฉพาะศาสดามุฮัมมัดเท่านั้น ทว่าศาสดาคนอื่นเช่น ศาสดานูฮฺ อิบรอฮีม มูซา อีซา และ ...ล้วนจัดว่าเป็นศาสดาของพระเจ้าท้งสิ้น ดังนั้น การเป็นศาสนทูตจึงไม่ได้จำกัดแค่ท่านศาสดา มุฮัมมัด (ซ็อลฯ) เท่านั้น

[7] ฏ็อยยิบ อับดุล ฮุเซน อัฏฏ็อยยิบ อัลบะยาน ฟี ตัฟซีร อัลกุรอาน, เล่ม 11, หน้า 143, 141, อิสลาม เตหะราน พิมพ์ครั้งที่ 2, 1378

[8] อ้างแล้วเล่มเดิม

[9] กุลัยนี มุฮัมมัด ยะอฺกูบ ฮุซัยนี ฮัมเมดอนนี นะญัฟฟี มุฮัมมัด เดะรัคชอน คัดลอก และวิเคราะห็มาจากอุซูลกาฟีย์ เล่ม 1, หน้า 176 สำนักพิมพ์ อิลมียะฮฺ กุม พิมพ์ครั้งแรก 1363

[10] อัลกุรอาน บทโรม 30

[11] ซัยนี ฮัมเมดอนนี ซัยยิดฮุเซน อันวารเดะรัคชอน ผู้ตรวจทาน มุอัมมัด บะฮฺบูดี มุฮัมมัดบากิร เล่ม 12 หน้า 419 ร้านขายหนังสือ ละฎีฟฟี เตหะรานี พิมพ์ครั้งแรก ปี ฮ.ศ. 1404

 

ขอขอบคุณเว็บไซต์อิสลามเควสท์


source : alhassanain
0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

นะบูวะห์ (ตอนที่ 5)
...
อิมามฮุเซนฺ (อ.) คือ ใคร
ซิกรุลลอฮ์ด้วยจิต
...
สาเหตุการกล่าวคำปฏิญาณในอิสลาม
มุนาญาต อัชชากกีน ...
ปรัชญาแห่งอุปสรรคในชีวิต
บันทึกประวัติ “ปาเลสไตน์” ...
มารู้จักอิมามมะฮฺดีย์

 
user comment