ไทยแลนด์
Tuesday 14th of January 2025
0
نفر 0

อิมามอะลี(อ.) ผู้นำที่ไม่มีใครเหมือน (ตอนที่ 1)

ในหน้าประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติได้มีผู้นำเกิดขึ้นมากมายตลอดหลายยุคสมัย ผู้นำเหล่านั้นจำนวนมากได้ตำแหน่งผู้นำมาด้วยการใช้กำลังหรือการสืบทอดตำแหน่ง และบางคนถูกคัดเลือกขึ้นเป็นผู้นำเพราะคุณสมบัติที่โดดเด่นบางอย่างที่พวกเขามีอยู่ ผู้นำในกล่มหลังนี้ก็มีบางคนที่ผลงานและการทุ่มเทเพื่อมนุษยชาติของเขาไม่อาจจำกัดอยู่กับช่วงเวลาหรือสถานที่ที่เฉพาะเจาะจง วิถีชีวิตของพวกเขา ผลงาน และคำสอนของวีรบุรุษเหล่านั้นยังคงเป็นแรงบันดาลใจและแรงผลักดันสำหรับคนรุ่นต่อๆ ไปอยู่เสมอ
อิมามอะลี(อ.) ผู้นำที่ไม่มีใครเหมือน (ตอนที่ 1)

ในหน้าประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติได้มีผู้นำเกิดขึ้นมากมายตลอดหลายยุคสมัย ผู้นำเหล่านั้นจำนวนมากได้ตำแหน่งผู้นำมาด้วยการใช้กำลังหรือการสืบทอดตำแหน่ง และบางคนถูกคัดเลือกขึ้นเป็นผู้นำเพราะคุณสมบัติที่โดดเด่นบางอย่างที่พวกเขามีอยู่ ผู้นำในกล่มหลังนี้ก็มีบางคนที่ผลงานและการทุ่มเทเพื่อมนุษยชาติของเขาไม่อาจจำกัดอยู่กับช่วงเวลาหรือสถานที่ที่เฉพาะเจาะจง วิถีชีวิตของพวกเขา ผลงาน และคำสอนของวีรบุรุษเหล่านั้นยังคงเป็นแรงบันดาลใจและแรงผลักดันสำหรับคนรุ่นต่อๆ ไปอยู่เสมอ

 

ประมุขของศรัทธาชน อะลี อิบนฺ อบูฏอลิบ เป็นผู้นำหนึ่งเดียวที่โดดเด่นอยู่ท่ามกลางผู้นำอื่นๆ ทั้งหมด นอกจากที่มีความเชื่อในสภาวะการเป็นอิมามและอำนาจการปกครองของท่านแล้ว ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมจำนวนมากก็ได้ยกย่องต่อบุคลิกภาพและคุณสมบัติที่ไม่มีใครเหมือนของท่าน และพยายามที่จะกล่าวถึงแง่มุมต่างๆ จากบุคลิกภาพของผู้นำตลอดกาลท่านนี้ และได้เขียนหนังสือและเอกสารวิจัยหลายร้อยฉบับเกี่ยวกับตัวท่าน

 

อิมามอะลี(อ.) ได้รับการเลี้ยงดูให้เติบโตมาโดยท่านศาสนาทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ.) ภายใต้การปกครองของท่าน และท่านได้ถูกยกระดับมาอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เป็นการเกินจริงเลยหากจะกล่าวว่า ท่านคือของขวัญที่อิสลามมอบให้แก่โลกและมนุษยชาติ

 

ท่านอะลี(อ.) จากประสูติจนถึงรุ่งอรุณแห่งอิสลาม

 

อิมามอะลี(อ.) เป็นบุตรของท่านอบูฏอลิบ อิบนฺ มุฏฏอลิบ และท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ บินติ อะซัด อิบนฺ ฮาชิม ท่านถือกำเนิดเมื่อวันที่ 13 รอญับ 30 ปี หลังจากปีช้าง (อามุล-ฟีล) ชีวิตของท่านเริ่มต้นขึ้นในกะอฺบะฮ์ ซึ่งได้กลายมาเป็นกิบลัต(ทิศทางที่มุสลิมหันไปหา) ของมุสลิม และสิ้นสุดในมัสยิดกูฟะฮ์(ประเทศอิรัก)

 

มันเป็นความประสงค์ของอัลลอฮ์ตั้งแต่ช่วงวัยแรกเริ่มของชีวิตท่าน ท่านศาสดาของอัลลอฮ์ได้เลี้ยงดูท่านมาในตักของท่าน มักกะฮ์และกุเรชประสบกับภาวะอดอยาก ศาสดามุฮัมมัด(ศ.) ได้หารือกับลุงของท่านคือท่านอับบาสที่เป็นคนมั่งมี และแนะนำให้ท่านช่วยเหลือท่านอบูฏอลิบ(อ.) ด้วยการรับเลี้ยงดูลูกๆ ของเขา ท่านอับบาสเห็นชอบกับคำแนะนำนี้จึงไปพบกับท่านอบูฏอลิบและแจ้งให้ทราบถึงความตั้งใจนี้ ท่านอบูฏอลิบกล่าวว่า "ให้อากีลอยู่กับฉัน..." ท่านมุฮัมมัด(ศ.) ได้เลือกท่านอะลี(อ.) และท่านอับบาสได้รับท่านญะอฺฟัรไป ต่อมาภายหลัง ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ.) ได้กล่าวว่า "ฉันได้เลือกคนที่อัลลอฮ์ทรงคัดเลือกให้แก่ฉัน"

 

นักเขียนบางคนมีความเห็นว่า การที่ท่านศาสดา(ศ.) รับท่านอะลี(อ.) มาเลี้ยงดู เพราะท่านต้องการจะทดแทนบุญคุณที่ท่านเคยได้รับจากท่านอบูฏอลิบและท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (บิดามารดาของท่านอะลี(อ.) ที่เคยดูแลท่านเหมือนกับลูกของตัวเองมาก่อนขณะที่ท่านยังอยู่ในวัยเยาว์ อย่างไรก็ตาม จากสิ่งที่ท่านศาสดา(ศ.) ได้กล่าวไว้ และจากคุณสมบัติของท่านอะลี(อ.) จึงเป็นได้ชัดเจนว่ามันเป็นพระประสงค์ของอัลลอฮ์ ที่จะให้ท่านอะลี(อ.) ได้เติบโตขึ้นมาโดยท่านศาสดา(ศ.) และอยู่ภายใต้การดูแลของท่าน

 

บุคลิกภาพของท่านอะลี(อ.) ในวัยเยาว์ได้รับการหล่อหลอมโดยท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ.) และต่อมาภายหลัง เมื่อท่านได้ประกาศถึงภาวการณ์เป็นศาสดาของท่าน นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่บันทึกไว้ว่า ท่านอะลี(อ.) คือผู้ชายคนแรกที่เข้ารับศาสนาอิสลาม ท่านอะลี(อ.) เป็นสาวกเพียงคนเดียวของท่านศาสดา(ศ.) ที่ไม่เคยก้มศีรษะหรือสักการบูชาเทวรูปใดๆ มาก่อนเลย

 

ท่านไม่เคยมุ่งหวังต่อสิ่งใดเลยนอกจากการแสดงหาความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮ์ และความพอใจของท่านศาสดา(ศ.) และความจริงใจ ความหนักแน่นมั่นคง ความเสียสละอุทิศตน และความกล้าหาญในการรับใช้ "เตาฮีด" เป็นคุณสมบัติบางประการที่โดดเด่นของท่านที่ไม่มีใครปฏิเสธได้

 

ท่านอะลี(อ.) จากรุ่งอรุณของอิสลามจนถึงการวายชนม์ของท่านศาสดา(ศ.)

 

การทอแสงแรกรุ่งของอิสลามในแถบอารเบีย ซึ่งถูกโจมตีจากพวกอวิชชา(ญาฮีลียะฮ์) และพวกบูชาเจว็ด ไม่เพียงแต่ได้เปลี่ยนแปลงหน้าประวัติศาสตร์ในดินแดนนั้นเท่านั้น แต่ยังส่งอิทธิพลไปยังชาติและประชาชนอื่นๆ ในโลกนี้อีกด้วย ประเพณีป่าเถื่อนที่เคยถือว่าเป็นค่านิยมในสมัยนั้น การเป็นศัตรูระหว่างชนเผ่า การฝังทารกหญิงทั้งเป็น ฯลฯ ถูกลบล้างไปในฐานะเป็นสิ่งที่ชั่วร้ายและทารุณโดยศาสนาใหม่ที่เรียกว่าอิสลาม การเปลี่ยนแปลงในสังคมและความเชื่อตามขนบประเพณีของบุคคลครั้งนี้ เป็นผลของการดิ้นรนต่อสู้และเพียรพยายามมานานหลายปีของท่านศาสดา(ศ.) และบรรดาสาวกที่ใกล้ชิดและจริงใจของท่าน ซึ่งในจำนวนนั้น ท่านอะลี(อ.) มีบทบาทที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ผลงานของท่านในการเผยแผ่อิสลามอุทาหรณ์ที่ถูกกล่าวขวัญ และท่านเป็นของขวัญที่ยิ่งใหญ่ที่อิสลามและศาสดา(ศ.) ของอิสลามได้มอบให้แก่มนุษยชาติ การจะกล่าวถึงผลงานของท่านอะลี(อ.) ที่เกี่ยวกับตั้งรากฐานของอิสลามจำเป็นต้องเขียนเป็นหนังสือที่แบ่งเป็นหลายภาค แต่ในทีนี้ เราจะกล่าวถึงในบางประเด็นเท่านั้น

 

1. เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในมักกะฮ์

 

ก. เยามุล อันซอรฺ

 

หลังจากโองการ "...และจงตักเตือนญาติสนิทของเจ้า..." ถูกประทานลงมา ท่านศาสดา(ศ.) ได้รับบัญชาจากอัลลอฮ์ให้เผยแพร่ต่อสาธารณะ และเชิญชวนให้รับอิสลาม ดังนั้น ท่านจึงขอให้ท่านอะลี(อ.) จัดเตรียมอาหารและเชิญญาติใกล้ชิดของท่านมา หลังรับประทานอาหาร ท่านได้ประกาศอย่างเปิดเผยถึงสภาวะการเป็นศาสดาของท่าน และได้ถามว่า "ผู้ใดในหมู่พวกท่านที่จะช่วยเหลือฉันในภารกิจของฉัน เพื่อจะเป็นพี่น้องของฉัน ผู้สืบทอดของฉัน และคอลิฟะฮ์ของฉัน?" มีเพียงท่านอะลี(อ.) เท่านั้นที่ยืนขึ้นและกล่าวสัตยาบรรณ และท่านศาสดา(ศ.) จึงได้กล่าวแนะนำท่านในฐานะเป็นผู้สืบทอดและคอลิฟะฮ์ของท่าน

 

ข. ลัยละตุล มาบิต

 

ถึงแม้ชาวกุเรชจะพยายามขัดขวางการเผยแพร่อิสลาม แต่ชาวเมือง "ยัษริบ" ก็ได้เข้ารับอิสลาม และให้สัตยาบรรณที่จะปกป้องอิสลามด้วยดาบของพวกเขา ข่าวนี้สร้างความโกรธแค้นให้แก่ชาวกุเรช ซึ่งพวกเขาได้จัดประชุมอย่างเร่งด่วนและตัดสินใจที่จะทำการลอบสังหารท่านศาสดา(ศ.) ในการเปิดเผยแผนการนี้ ท่านศาสดา(ศ.) ได้สั่งให้ท่านอะลี(อ.) สวมเสื้อคลุมของท่านแล้วนอนในที่ของท่าน เพื่อทำลายแผนการชั่วร้ายของบรรดาศัตรูของอิสลาม และเพื่อเปิดทางสะดวกให้แก่ "การฮิจเราะฮ์" (การอพยพ) จากมักกะฮ์ไปยังมะดีนะฮ์ของท่าน ภายหลังจากเหตุการณ์นี้ ที่สะท้อนให้เห็นถึงการเสียสละอุทิศตนอย่างลึกซึ้ง ความกล้าหาญ และความจงรักภักดีของอิมามอะลี(อ.) ที่มีต่อศาสนทูตของอัลลอฮ์(ศ.) และภารกิจอันสูงส่งของท่าน ญิบรีลได้นำข่าวมาแจ้งว่า

 

"โอ้บุตรของอะบูฏอลิบ ไม่มีใครเหมือนกับเจ้า อัลลอฮ์ได้บอกแก่เทวทูตทั้งหลายในสวรรค์ทั้งเจ็ดเกี่ยวกับเจ้า"

ขอขอบคุณเว็บไซต์อะฮ์ลุลบัยต์อะคาเดมี


source : alhassanain
0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

อิมามมูซา อัลกาซิม
ความไว้วางใจ และ ...
ฮิดายะฮ์ (การชี้นำ)ในอัลกุรอาน
จริยธรรมของอิมามมูซา กาซิม (อ.)
เรื่องเล่าในกุรอาน ตอนที่ 2
สถานะและเกียรติของมนุษย์
กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการถือศีลอด
ชีวประวัติของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ...
อาณาจักรแห่งผู้กลับใจ
ท่านหญิงซากีนะฮ์(อ.) ...

 
user comment