ไทยแลนด์
Saturday 7th of December 2024
0
نفر 0

บทเรียนจากนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ บทที่ 10 “คนหัวรั้นและการปรึกษาหารือ”

ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มีนีน อิมามอะลี (อ) มีวจนะเอาไว้ว่า “คนหัวรั้นจะพบกับความหายนะ และบุคคลซึ่งเขาได้ปรึกษาหารือกับผู้มีความเชี่ยวชาญ และผู้มีความรู้ เขาจะมีส่วนร่วมในสติปัญญาของบุคคลเหล่านั้น”

ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มีนีน อิมามอะลี (อ) มีวจนะเอาไว้ว่า

 
“คนหัวรั้นจะพบกับความหายนะ และบุคคลซึ่งเขาได้ปรึกษาหารือกับผู้มีความเชี่ยวชาญ และผู้มีความรู้ เขาจะมีส่วนร่วมในสติปัญญาของบุคคลเหล่านั้น”

 
คำอธิบาย : ในทุกๆ กิจการงานนั้นที่มนุษย์จะเริ่มลงมือปฎิบัติ ก่อนการเริ่มหากเขาเอาแต่ใจตัวเอง ยึดเอาความคิดของตัวเองเป็นใหญ่ และไม่ฟังเสียงคัดค้าน หรือคำแนะนำของผู้ใดเลย ประการแรกอื่นใด เขาผู้นั้นกำลังกดขี่ตัวเองอยู่

 
ไม่มีมนุษย์คนใดในโลกนี้ที่จะมีความเข้าใจ หรือรู้เรื่องไปหมดเสียทุกเรื่องได้ และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาแน่นอนในแต่ละปัญหาเขาไม่สามารถที่จะแก้ไข หรือหาแนวทางรอดได้เสมอไป มนุษย์ทุกคนมีความเข้าใจที่มีขอบเขตในแต่ละเรื่องเท่านั้น กระนั้นก็ตามเขาก็ยังต้องประสบกับปัญหาบ้างไม่มากก็น้อยที่เขาคิดไม่ถึง

 
ในสถานการณ์เช่นนี้ หากบุคคลนั้นเขาถือเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่ และไม่ยอมที่จะเอ่ยคำปรึกษาผู้ใดเลยในการแก้ปัญหา แน่นอนยิ่งเขากำลังมุ่งสู่หนทางที่ผิดพลาด มีอย่างมากมายให้เห็นในสังคมปัจจุบัน บุคคลเหล่านั้นต้องพบกับความผิดพลาด บางครั้งถึงกับมีอันตรายต่อชีวิตของเขาเอง เกือบเอาชีวิตไม่รอด

 
แต่ทว่ายังมีอีกหลายคนที่เขาไม่ได้เอาแต่ความคิดของตัวเองเป็นใหญ่ ไม่ใช่คนหัวรั้น และจะขอคำปรึกษาจากผู้รู้ จากผู้ที่มีประสบการณ์ก่อนการลงมือทำงาน แน่นอนที่สุด บุคคลเหล่านั้นคือผู้ที่จะประสพความสำเร็จในหน้าที่การงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ที่เขาขอคำปรึกษาคือผู้ที่มีสติปัญญา และมีวิชาการความรู้ ก็เท่ากับว่าเขากำลังมีส่วนร่วมอยู่ในสติปัญญา และวิชาการของเขาเหล่านั้นด้วย

 
ลองนึกดูสักนิดว่า ครั้งหนึ่งเมื่อเราจำเป็นต้องเคลื่อนไหวของที่มีน้ำหนักมากจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง และเราไม่มีกำลังพอที่จะเคลื่อนไหวมันได้ เราต้องขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น เรามีความจำเป็นต่อความช่วยเหลือของผู้อื่นในการเคลื่อนย้ายของสิ่งนั้น นั่นหมายความว่าผู้ที่มาช่วยเราได้ออกแรงเพิ่มมาบนแรงของเราขณะที่เคลื่อนย้ายของแล้ว นั่นคือความหมายของการมีส่วนร่วมของผู้ที่เราขอความช่วยเหลือ

 
ในกรณีของการให้คำปรึกษาก็เช่นเดียวกัน เมื่อเราประสบกับปัญหาหนึ่งปัญหาใด และเราไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ด้วยตัวเอง เราต้องขอความช่วยเหลือจากผู้มีประสบการณ์ และผู้มีความรู้ หากเป็นเช่นนั้น ก็เท่ากับว่าเราได้มีส่วนร่วมในประสบการณ์ และความรู้ของพวกเขา เมื่อพวกเขาได้ให้คำปรึกษาแก่เรานั่นเอง

 
จากวจนะของท่านอะมีรุ้ลมุอ์มีนีน อิมามอะลี (อ) แสดงให้เราเห็นว่าเราควรต้องปรึกษากับผู้อื่นเสมอในทุกๆ เรื่องที่เราจะปฏิบัติ และหากเรามองไปในยุคปัจจุบันเราก็เห็นแล้วว่า การขอคำปรึกษามันมีความสำคัญจริงๆ

 
เพราะหากไม่สำคัญ ในวันนี้คงไม่มีธุรกิจหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับเจ้าของอย่างมหาศาล นั่นคือธุรกิจรับเป็นที่ปรึกษา รับปรึกษาในเรื่องต่างๆ อย่างมากมาย หรือแม้กระทั่งประธานาธิบดี หรือนายกรัฐมนตรีเอง ก็ยังมีที่ปรึกษาในด้านต่างๆ หลายคน

 

 
แปลและเรียบเรียงโดย เชคมาลีกี ภักดี

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ใครบ้างที่อัลลอฮฺทรงรัก?
...
...
ความสำคัญของบิสมิลลาฮ์ ...
อรรถาธิบายซูเราะฮ์ อัลฆอชิยะฮ์
นบีคิฎิร ในอัลกุรอาน
...
ทำไมต้องกล่าวบิสมิลลาฮ์?
สงครามก็อรกีซียา (Circesium) ...
ความอดทน คุณค่าแห่งจิตวิญญาณ

 
user comment