ไทยแลนด์
Friday 29th of March 2024
0
نفر 0

ความอดทน คุณค่าแห่งจิตวิญญาณ


“และจงอดทนเถิด แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงอยู่กับผู้ที่อดทนทั้งหลาย“ (อัล-กุรอาน 8/46)

อิมามญะอฺฟัร ซอดิก(อ.) กล่าวว่า “แท้จริงแล้ว ถ้าความศรัทธามีร่างกาย ความอดทนคือหัวของมัน ร่างกายจะอยู่ไม่ได้โดยไม่มีหัว และเช่นเดียวกันนั้น เมื่อไม่มีความอดทน ความศรัทธาก็สูญหายไปด้วยเช่นกัน”

อิมามอะลี (อ.) ได้สอนไว้ว่า โครงสร้างของความศรัทธานั้น ประกอบขึ้นด้วยเสาหลักสี่ประการ คือ

1- ซ๊อบรฺ (ความอดทน)

2- ยะกีน (ความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้า)

3- อัดลฺ (ความยุติธรรม)

4- ญิฮาด (การต่อสู้ในหนทางของศาสนา)
ลักษณะของความอดทน

 ท่านอิมามอะลี (อ.) ยังได้อธิบายต่อไปอีกว่า  ความอดทนประกอบขึ้นด้วยคุณลักษณะสี่ประการ คือ

1- ความกระตือรือร้น : ผู้ที่มีความกระตือรือร้นต่อสวรรค์ จะไม่สนใจต่อสิ่งล่อลวงใจที่ชั่วร้าย

2- ความเกรงกลัว : ผู้ที่เกรงกลัวต่อไฟนรกจะละเว้นจากการกระทำบาป

3- ความศรัทธาอย่างแรงกล้า : ผู้ที่ปฏิบัติศาสนาด้วยความศรัทธาอย่างแรงกล้าจะอดทนต่อความยากลำบากของชีวิตในโลกนี้

4- การรอคอยอย่างมุ่งหวัง (ต่อความตาย) : ผู้ที่รอคอยอย่างมุ่งหวังต่อความตาย จะรีบเร่งในการกระทำความดี
ประเภท และระดับของความอดทน

นอกจากนี้อิมามอะลี (อ.) ยังได้กล่าวถึงประเภท และระดับของความอดทนว่ามีอยู่หลายระดับด้วยกัน โดยท่านได้อ้างอิงจากวจนะของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ.)

“ความอดทนมีสามระดับ คือ”

1- ความอดทนเมื่อประสบกับความทุกข์และความเจ็บปวด

2- ความอดทนในการเชื่อฟัง

3- ความอดทนในการที่จะไม่ดื้อดึงขัดขืน(ต่ออัลลอฮฺ) ประเภทที่สามนี้สูงส่งกว่าสองประเภทแรก

ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวอีกว่า “ความอดทนมีสองประเภทคือ”

1- อดทนต่อสิ่งที่ชอบ

2- อดทนต่อสิ่งที่ไม่ชอบ
ความอดทนและการเข้าถึงพระผู้เป็นเจ้า

ตราบใดที่มนุษย์ยังรู้สึกถึงความทุกข์ทรมานเจ็บปวดรวดร้าวภายในจากความโชคร้ายและความยากลำบากที่ประสบกับชีวิตของเขา การมะอฺรีฟะฮฺ หรือการเข้าถึงอย่างถ่องแท้ต่อพระผู้เป็นเจ้าของเขานั้นก็ยังบกพร่องอยู่ เมื่อมนุษย์บรรลุถึงความพอใจและยินดีต่อความโชคร้ายและสภาวะที่ล่อแหลม จิตวิญญาณของเขาก็จะไปถึงตำแหน่งสูงสุดของการใกล้ชิดต่อพระผู้เป็นเจ้า ความอดทนเพื่อละเว้นจากการกระทำบาปและปฏิบัติหน้าที่อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ถูกเชื่อมโยงไปสู่ความรู้อย่างเพียงพอในการประกอบศาสนกิจเพื่อผลในวันปรโลก
ผลของการอดทน

ความอดทนก่อให้เกิดผลที่ดีอย่างมากมาย รวมถึงการฝึกฝนและขัดเกลาจิตวิญญาณ ความอดทนในการสนับสนุนส่งเสริมการกระทำความดี และห้ามปรามการกระทำความชั่วนั้น จะทำให้มนุษย์มีความแน่วแน่และมั่นคงมากยิ่งขึ้น

ความเจ็บปวด เป็นห่วงกังวล และการตีโพยตีพายเมื่อต้องประสบกับความสูญเสียทางทรัพย์สิน ความตาย หรือเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นสัญญาณของความอ่อนแอทางจิตวิญญาณ สิ่งเหล่านี้จะทำลายบุคลิกภาพที่มั่นคงและมีเกียรติของมนุษย์  ทำลายพลังแห่งการคิดตัดสินใจ และบั่นทอนสติปัญญา ในช่วงเวลาที่เปราะบางเช่นนั้น ความอดทนคือกุญแจสำคัญในการไขไปสู่ความปลาบปลื้มยินดีและมีความสุข เพิ่มความมุ่งมั่นและเติมพลังในการหาทางออกเพื่อผ่านพ้นสถานการณ์ไม่พึงประสงค์เหล่านั้นไป ทำให้ตัดสินใจได้อย่างมีสติ และกระทำการอย่างชาญฉลาด

ความอดทนต่อการกระทำบาป เป็นบ่อเกิดของความตักวา(ความยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้า)

ความอดทนในการเชื่อฟัง เป็นบ่อเกิดของความใกล้ชิดต่อพระองค์

ความอดทนต่อความโชคร้าย เป็นบ่อเกิดของความปลาบปลื้มยินดีกับชะตากรรมและการตัดสินของพระองค์

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
อิมามฮุเซน (อ) ...
ชีวประวัติศาสดาแห่งอิสลาม ...
ทำไมชีอะฮ์จึงเรียกลูกๆ ...
...
อภัยทาน
ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ...
...
...
...

 
user comment