ไทยแลนด์
Tuesday 26th of November 2024
0
نفر 0

อะไรคือหน้าที่ของอิมาม

อะไรคือหน้าที่ของอิมาม

อะไรคือหน้าที่ของอิมาม


อิมาม ไม่เหมือนกับผู้นำธรรมดาทั่วไปที่มีหน้าที่ปกป้องพรมแดนและรักษาผลประโยชน์ของอิสลาม ทว่า อิมามนั้นมีหน้าที่ นอกเหนือไปจากนี้ เช่น การอธิบายอัล-กุรอาน อะฮฺกามอิสลาม ตอบคำถามประชาชนทั้งที่เป็นความเชื่อและการปฏิบัติ ป้องกันความคิดที่หลงผิดทางความเชื่อทุกประเภท และการเปลี่ยนแปลงที่อาจขึ้นกับอัล-กุรอานและหลักการอิสลาม ที่สำคัญไปกว่านั้น การนำเสนอความรู้ต้องครอบคลุมและไม่ผิดพลาด แน่นอนบุคคลทั่วไปที่แอบอ้าง การเป็นผู้นำเช่นนี้เขาไม่บริสุทธิ์จากความผิดพลาดแน่นอน


จริงอยู่ อิศมัต(ความสะอาดบริสุทธิ์)ไม่เท่าเทียมกับตำแหน่งนะบูวัต เพราะเป็นไปได้ที่บางคนอาจบริสุทธิ์จากบาปทั้งหมดแต่ไม่ได้รับตำแหน่งนะบูวัต เช่น ท่านหญิงมัรยัม (อ.) ซึ่งได้กล่าวไปแล้วในข้อที่อธิบายถึงความบริสุทธิ์ของศาสดา ดังนั้น ตำแหน่งนบีกับความบริสุทธิ์ (อิศมัต) เป็นคนละประเด็นกันแต่สามารถกล่าวได้ว่า คนที่มีความบริสุทธิ์ไม่ได้เป็นศาสดาทุกคน แต่ทุกคนที่เป็นศาสดาต้องบริสุทธิ์


นอกจากการวิเคราะห์ดังกล่าวแล้ว ยังมีอีกหลายสิ่งที่บ่งบอกว่าอิมามจำเป็นต้องมีความบริสุทธิ์ เช่น


1. พระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ที่ปรารถนาให้อิมามเป็นผู้สะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากความผิดบาปและความโสโครกทั้งหลาย อัลกุรอานกล่าวว่า


إِنَّمَا يُرِيدُ اللَّهُ لِيُذْهِبَ عَنكُمُ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَيْتِ وَيُطَهِّرَكُمْ تَطْهِيرًا


“อัลลอฮฺทรงประสงค์ที่จะขจัดมลทินออกไปจากพวกเจ้า โอ้อะฮฺลุลบัยตฺ และทรงประสงค์ที่จะขัดเกลาพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์อย่างแท้จริง”
 

โองการได้บ่งบอกถึงความบริสุทธิ์ของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ไว้ดังนี้ กล่าวคือ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีความประสงค์ที่เฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษ ที่จะให้บรรดาอะฮฺลุลบัยตฺมี ความสะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากมลทิน ซึ่งสิ่งจำเป็นสำหรับความบริสุทธิ์ของพวกเขาคือ สะอาดปราศจากความผิด เนื่องจากจุดประสงค์ของคำว่า ริจซุน ในโองการนั้นหมายถึง ความสกปรกโสโครกทุกชนิดที่เกิดในความคิด จิตใจ และการกระทำ และบาปนั้นเป็นผลพวง ที่มาจากมัน ขณะที่อีกด้านหนึ่งโองการกล่าวว่า ความประสงค์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) มีให้กับบุคคลที่มีความพิเศษเฉพาะเท่านั้นมิใช่ทุกคน  แน่นอน ความประสงค์ที่จะขัดเกลา ให้สะอาดบริสุทธิ์ตรงนี้ มีความแตกต่างกับความประสงค์ทั่ว ๆ ไป เนื่องความประสงค์ที่ ต้องการให้มุสลิมทั้งหลายมีความบริสุทธ์เป็นความประสงค์ด้าน การกำหนดเงื่อนไขเท่านั้น

 

อัล-กุรอานกล่าวว่า


“แต่ทว่าทรงประสงค์ที่จะให้พวกเจ้าสะอาด”


แน่นอนสิ่งนี้จะไม่เกิดกับบุคคลที่ฝ่าฝืน ขณะที่ความประสงค์นี้เป็นตักวีนียฺ (การกำหนดกฎสภาวะ) ซึ่งเป้าหมายและสิ่งที่ย้อนกลับไปสู่ความประสงค์อันได้แก่ ความบริสุทธิ์จากบาป ซึ่งจะไม่แยกออกจากความประสงค์


ดังนั้นความประสงค์ตักวีนียฺที่มีต่อความบริสุทธิ์ (อิศมัต) ของอะฮฺลุลบัยตฺ ไม่เป็นการปฏิเสธการเลือกสรรแต่อย่างใด ทำนองเดียวกันอิศมัตที่มีในบรรดาศาสดาก็ ไม่ได้เป็นการปฏิเสธการเลือกสรร เพราะความประสงค์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) เพียงอย่างเดียว ไม่อาจทำให้ความบริสุทธิ์เกิดขึ้นได้ถ้าหากไม่มีการเลือกสรร


2. เงื่อนไขที่กล่าวไว้ในฮะดีษษะเกาะลัยนฺ ที่ว่า “ฉันขอฝากสิ่งหนักสองสิ่ง ไว้ในหมู่พวกท่านได้แก่ อัล-กุรอานและลูกหลานของฉัน” จะสังเกตเห็นว่า อะฮฺลุลบัยตฺได้ถูกกล่าวไว้เคียงข้างกับอัล-กุรอาน


 ในความหมายก็คือ เมื่ออัล-กุรอานบริสุทธิ์จากความผิดพลาดทั้งหลาย อะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ก็บริสุทธิ์จากความผิดทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นความผิด ด้านจิตใจหรือการกระทำ ด้วยเหตุผลของฮะดีษที่กล่าวว่า


2.1 ตราบที่เจ้าได้ยึดมั่นอยู่กับทั้งสอง เจ้าจะไม่หลงทางตลอดไป


2.2 ทั้งสองจะไม่แยกออกจากกันเด็ดขาดจนกว่าทั้งสอง จะย้อนกลับคืนสู่ฉัน ณ สระน้ำ


เป็นที่ชัดเจน เพราะสิ่งที่ยึดมั่นนั้นเป็นมูลเหตุนำไปสู่การชี้นำ และทำให้รอดพ้น จากการหลงทางและการหลงผิด นอกจากนี้อะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) จะไม่แยกออกจากอัล-กุรอาน แสดงให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ (มะอฺซูม) ที่ปราศจากบาป


2.3 ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้เปรียบเทียบอะฮฺลุลบัยตฺของท่านเหมือนกับเรือ ของท่านศาสดานูฮฺ (อ.) ใครก็ตามได้ขึ้นเรือจะได้รับความปลอดภัย ส่วนผู้ที่ไม่ได้ขึ้นจะพบ กับความหายนะจมน้ำตาย


จากสิ่งที่กล่าวมาเป็นเหตุผลที่ชัดเจนส่วนหนึ่งที่ยืนยันถึงความบริสุทธิ์ของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) แน่นอนข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษรไม่ได้เฉพาะเจาะจงอยู่เพียงเท่านี้ ยังมีอัล-กุรอาน และฮะดีซอีกที่บ่งบอกถึงความบริสุทธิ์ของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.)

 

ขอขอบคุณเว็บไซต์อัชชีอะฮ์

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

28 ซอฟัร ...
ความเป็นพี่น้องในอิสลาม
กุรอานกับการแต่งกาย
ถุงเท้ามุสลิมะฮ์
ดุอาอ์ คือ ตัวกำหนดอิหม่าน”
กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการถือศีลอด
อะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ในอัล-กุรอาน
อัลกุรอาน คัมภีร์แห่งทางนำ
...
คุณลักษณะของมนุษย์ผู้สมบูรณ์

 
user comment