ไทยแลนด์
Saturday 23rd of November 2024
0
نفر 0

อัรบาอีน ฮูซัยนี กับเลข40ในอิสลาม

อัรบาอีน ฮูซัยนี กับเลข40ในอิสลาม



อัรบาอีน ฮูซัยนี กับเลข40ในอิสลาม

 

ในวัฒนธรรมและหลักคำสอนของอิสลาม ตัวเลข 40 หรือ « أرْبَعِين »  นั้น นับได้ว่ามีความสำคัญอย่างมาก และได้ถูกปลูกฝังในความรู้สึก

นึกคิดของประชาชาติมุสลิมมาตลอดทุกยุคทุกสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับชาวชีอะฮ์อิมามียะฮ์ ประเด็นของตัวเลข 40 หรือ« أرْبَعِين »  นี้

เราสามารถพบเห็นได้จากฮะดิษจำนวนมากที่รายงานมาจากบรรดา

มะอ์ซูม(อ.) ตัวอย่างเช่น :

 วจนะของท่าน รอซูลุลลอฮ์ (ศ.) ที่ได้กล่าวว่า:

   مَنْ خَفِظَ مِنْ أُمَّتِيْ أرْبَعِيْنَ حَدِيْثًا مِمَّا يَحْتَاجُوْنَ إلَيْهِ مِنْ أَمْرِ دِيْنِهِمْ بَعَثَهُمُ   اللهُ يَوْمَ الْقِيَامَةِ فَقِيْهًا عَالِمًا

          “ผู้ใดก็ตามจากประชาชาติของฉันที่ท่องจำสี่สิบฮะดีษ ที่เขามีความจำเป็นต่อมันจากเรื่องของศาสนาของพวกเขา อัลลอฮ์จะทรงทำให้เขาฟื้นขึ้นมาในวันกิยามะฮ์ ในฐานะผู้มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในศาสนา(ฟะกีฮ์) และผู้รู้(อาลิม)”

 

 ในคำพูดของท่านอิมามญะอ์ฟัร อัศ ศอดิก(อ.) กล่าวว่า :

        إذا مَاتَ المُؤْمِنُ فَخَضَرَ جَنَازَتَهُ أرْبَعُوْنَ رَجُلاً مِنَ المُؤْمِنُوْنَ،فَقالُوا: اَللهُمَّ إنَّا لاَ نَعْلَمُ مِنْهُ إلاَّ خَيْرًا وَ أنْتَ أعْلَمُ بِهِ مِنَّا، قالَ اللهُ تَبَارَكَ وَ تَعَالَى: إنِّي أجَزْتُ شَهَادَتَكُمْ وَ غَفَرْتُ لَهُ مَا عَلِمْتُ مِمَّا لاَ تَعْلَمُوْنَ

          “เมื่อผู้ศรัทธาได้ตายลงโดยมีผู้ศรัทธาสี่สิบคนได้เข้าร่วมพิธีศพของเขา แล้วกล่าวว่า:โอ้อัลลอฮ์ แท้จริงพวกเราไม่รู้สิ่งใดจากพวกเขา นอกเสียจากความดีงาม ในขณะที่พระองค์ทรงรู้ดีเกี่ยวกับตัวเขามากกว่าพวกเรา อัลลอฮ์ผู้ทรงจำเริญผู้ทรงสูงส่ง จะทรงตรัสว่า:แท้จริง ข้ายอมรับ(และให้รางวัล)ต่อการเป็นสักขีพยานของพวกเจ้า และข้าได้อภัยโทษแก่เขาแล้วในสิ่งที่ข้ารู้จากสิ่งที่พวกเจ้าไม่รู้”

 

 ในฮะดีษอีกบทหนึ่งจากท่านอิมามบากิร(อ.) ท่านกล่าวว่า :

         مَا أخْلَصَ عَبْدٌ الإيْمَانَ بِاللهِ أرْبَعِيْنَ يَوْمًا،إلاَّ زَهْدَهُ اللهُ فِي الدُّنْيَا،وَ بَصَّرَهُ دَاءَهَا وَ دَوَاءَهَا،وَ أنْبَتَ الْحِكْمَةَ فِيْ قَلْبِهِ،وَ أنْطَقَ بِهَا لِسَانَهُ

                “ไม่มีบ่าวคนใดที่ทำให้ความศรัทธา(อีหม่าน)มีความบริสุทธิ์ต่ออัลลอฮ์เป็นเวลาสี่สิบวัน นอกเสียจากว่า อัลลอฮ์จะทรงทำให้เขามีความสมถะในโลกนี้ และจะทรงทำให้เขาเข้าใจถึงโรคร้ายของมัน และยารักษาของมัน และจะทำให้วิทยปัญญางอกงามขึ้นในหัวใจของเขา และจะทรงทำให้ลิ้นของเขาพูดด้วยวิทยปัญญานั้น”

 

 مَنْ شَرِبَ الخَمْرَ لَمْ تُحْتَسَبْ صَلَوتُهُ أرْبَعِيْنَ يَوْمًا

“ผู้ใดที่ดื่มสุรา การนมาซของเขาจะไม่ถูกคิดคำนวณเป็นเวลาถึงสี่สิบวัน”

 

  หรือในบางฮะดีษกล่าวว่า : “ใครก็ตามที่บริโภคอาหารฮะรอม ดุอาอ์ของเขาจะไม่ถูกตอบรับถึงสี่สิบวัน”

 

ในการพัฒนาการของกำเนิดมนุษย์เราก็เช่นกัน อัล-กุรอาน และฮะดีษ ได้กล่าวไว้ว่า :

“ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงของทารกในครรถ์มารดาจากสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่งนั้นใช้เวลา40 วัน ตัวอย่างเช่น :

การเปลี่ยนแปลงจากสภาพอสุจิ  (نُطْفَةٌ)  ไปเป็นก้อนเลือด  (عَلَقَةٌ)  จากก้อนเลือดไปเป็นก้อนเนื้อ (مَضْغَةٌ) จากก้อนเนื้อไปเป็นกระดูก และจากกระดูกไปเป็นเนื้อหุ้มกระดูก”

ใน อัล-กุรอานได้กล่าวว่า ท่านนบีมูซา(อ.) ได้ขึ้นไปอยู่บนภูเขา ฏูร (طُور) เพื่อรับคัมภีร์เตารอต (تَوْرَات) ใช้เวลา 40 วัน

ท่านนบีอาดัม(อ.) ได้อยู่ในท่าซุญูด (سُجُوْدٌ) เพื่อขออภัยโทษต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.)บนภูเขาซอฟา (صَفَا) เป็นเวลา 40 วัน

ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ.) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดาในขณะอายุ 40 ปี

ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ.) ได้ปลีกตัวจากท่านหญิงคอดียะฮ์ 40 คืนก่อนจะจุติท่านหญิงฟาติมะฮ์(อ.)

 

 นี่คือตัวอย่างส่วนหนึ่งจากฮะดีษและอัล-กุรอานที่อ้างถึงตัวเลข 40 (أرْبَعِينَ) ไม่ใช่เพียงแค่นี้ แต่ยังมีอีกนับเป็นร้อยๆตัวอย่างซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของตัวเลข 40 แม้ว่าเราจะไม่สามารถรู้ถึงฮิกมะฮ์ที่ซ่อนเร้นอยู่ของมันได้ก็ตาม

 

ในวัฒนธรรมแห่ง “อาชูรออ์” คำว่า อัรบาอีน (أرْبَعِيْنَ) นั้น หมายถึง วันที่ 40 ของการเป็นชะฮีด ของท่านอิมามฮุเซน(อ.) ซึ่งตรงกับวันที่ 20 ของเดือน ซอฟัร เป็นวันที่บรรดาชาวชีอะฮ์อิมามิยะฮ์ให้ความสำคัญอย่างมากวันหนึ่ง มีการจัด มัจญ์ลิซ และการรำลึกถึงวีรกรรมและโศกนาฏกรรมแห่ง “กัรบะลาอ์” มาตลอดทุกยุคสมัย

 

 หลักฐานที่สำคัญในเรื่องเกี่ยวกับ อัรบาอีน ของอิมามฮุเซน(อ.)นั้น ได้แก่ คำรายงาน (رِوَايَة) จากท่านอิมามฮะซัน อัล อัสการีย์(อ.)ที่ถูกรายงานไว้ในหนังสือจำนวนมากมายซึ่งได้กล่าวว่า :

          عَلاَمَاتُ المُؤْمِنِ خَمْسٌ:

صَلاَةُ إحْدَى وَخَمْسِيْنَ،وَ زِيَارَةُ أرْبَعِيْنَ،

وَ التَّخَتُّمُ بِالْْيَمِيْنِ،وَ تَعْفِيْرُ الجَبِيْنِ بِالسُّجُوْدِ،

وَ الجَهْرِ بِبِسْمِ اللهِ الرَّحْمَـنِ الرَّحِيْم

                “สัญลักษณ์ของผู้ศรัทธานั้นมีห้าประการคือ การนมาซห้าสิบเอ็ดรอกาอัต และการอ่านซิยาเราะฮ์อัรบาอีน และการสวมแหวนที่มือขวา และการเอาหน้าผากสัมผัสดินในขณะซุญูด และการอ่านบิสมิลลาฮ์ด้วยเสียงดัง”

 

 ท่านอิมามญะอ์ฟัร อัศ ศอดิก(อ.) ได้สอนให้ศ็อฟวาน  อัลญัมมาล صَفوَانٌ الجَمَّالُ อ่าน ซิยาเราะฮ์อัรบาอีนนี้ในช่วงเช้าภายหลังจาก

ดวงอาทิตย์ขึ้น นี่เป็น คำรายงานที่เชื่อถือได้ที่สุดเกี่ยวกับความสำคัญของอัรบาอีน และการอ่านซิยาเราะฮ์อิมามฮุเซน(อ.)ในวันนี้

 

  แหล่งที่มาของการให้ความสำคัญต่ออัรบาอีนอิมามฮุเซน(อ.)ในประวัติศาสตร์

ยังสามารถกล่าวถึงได้อีก 2 ประเด็นนั่นคือ :

1- ในหนังสือตารีค ฮะบีบ อัซซิยัร تارِيخ حَبِيب السير ได้บันทึกไว้ว่า : ยาซีด บุตรของ มุอาวิยะฮ์ ได้มอบศรีษะของบรรดาชูฮาดาอ์จำนวนหนึ่งคืนให้แก่ท่าน อิมามซัจญาด(อ.) และในวันที่ 20 ซอฟัร ท่านได้ฝังศรีษะเหล่านั้นลงไปกับร่างของบรรดาชูฮาดาอ์ ผู้เป็นเจ้าของศรีษะแต่ละท่าน

 

ท่านอะบูร็อยฮาน บีรูนีย์  ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัลอาษารุลบากียะฮ์ « الآثَار الباقية » ว่า:

ในวันที่ 20 ของเดือน ซอฟัร ศรีษะของท่านอิมามฮุเซน(อ.) ได้ถูกนำกลับไปฝังลงกับร่างอันบริสุทธ์ของท่าน ในช่วงเวลาที่อะฮ์ลุลบัยต์ของท่านอิมามฮุเซน(อ.)เดินทางออกจากเมืองชาม (شام) (ซีเรียปัจจุบัน) เพื่อกลับสู่เมืองมะดีนะฮ์ (مَدِيْنَة) และได้เข้าสู่แผ่นดินกัรบะลาอ์ (كَربَلاَ) ในวันอัรบะอีน เพื่อเป้าหมายในการซิยาเราะฮ์ท่านอิมามฮุเซน(อ.)และบรรดาชูฮาดาแห่งกัรบะลาอ์

 

  2- เป็นวันที่ท่านญาบิร บิน อับดุลลอฮ์ อันศอรีย์  ได้เดินทางมาจากมะดีนะฮ์มาถึงกัรบะลาอ์พร้อมกับ ท่านอะฏียะฮ์ เพื่อทำการซิยาเราะท่าน

อิมามฮุเซน(อ.)ในวันนั้นพอดี :

   ท่าน ญาบิร บิน อับดุลลอฮ์ อันศอรีย์ และ อะฏียะฮ์ บิน ซะอฺดฺ อัลกูฟีย์ ทั้งสองเป็นบุคคลสำคัญของชีอะฮ์อิมามิยะฮ์ ภายหลังจากการเป็น

ชะฮีดของท่านอิมามฮุเซน(อ.) ท่านทั้งสองได้มาซิยาเราะฮ์แผ่นดินกัรบะลาอ์ในวันอัรบะอีนของปีแรกนั่นเอง

นี่คือแหล่งที่มาของการให้ความสำคัญต่อ อัรบะอีนอิมามฮุเซน(อ.) และบรรดาชาวชีอะฮ์

 

โดย  สมาคมนักเรียนไทยในอิหร่าน อันศอรุลมะดีฮ์ (อ.ญ)

ขอขอบคุณเว็บไซต์ thaitalabeh

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
อิมามญะอฺฟัรกับวิทยาศาสตร์
ผู้ป่วยแห่งกัรบาลาอฺ (ตอนที่2)
อิมามริฎอ คือ ผู้ค้ำประกันกวาง
ทำไมต้องนมาซ?!
วจนะอิมามมะฮ์ดี
วันประสูติอิมามฮุเซน
ฮิญาบในอิสลาม
เรื่องเล่าในกุรอาน ตอนที่ 1
...

 
user comment