ไทยแลนด์
Saturday 23rd of November 2024
0
نفر 0

ผู้ที่จะสำนึกเสียใจมากที่สุดใน(วันกิยามะฮ์)ปรโลก



ผู้ที่จะสำนึกเสียใจมากที่สุดใน(วันกิยามะฮ์)ปรโลก

 

มนุษย์เรา ด้วยกับปัจจัยหลายประการ อย่างเช่น การขาดการวางแผนที่เหมาะสมสำหรับอนาคตของตนเอง และทำนองเดียวกันนี้ การขาดความมีระเบียบวินัยในแบบแผนของตนในช่วงเวลาต่างๆ ของชีวิต จะทำให้เขาต้องเผชิญกับความสำนึกเสียใจอย่างมากมาย ความสำนึกเสียใจต่างๆ ซึ่งบางอย่างอาจชดเชยได้ และอีกบางอย่างจะเป็นความเศร้าโศกเสียใจที่ใหญ่หลวงที่จะคงคู่อยู่กับตัวมนุษย์ตลอดไปและจะไม่มีวันออกไปจากหัวใจและความคิดของเขา


     ความสำนึกเสียใจ อย่างเช่น ความสำนึกเสียใจต่อการที่เราไม่ได้แสดงความเคารพให้เกียรติและความกตัญญูต่อพ่อแม่ โดยที่ท่านทั้งสองได้จากพวกเราไปแล้ว หรือความสำนึกเสียใจและความโศกเศร้าหลังจากที่ความทุกข์ยากและการทดสอบที่หนักหน่วงได้มาประสบกับตัวเรา ไฉนเราจึงไม่เตรียมพร้อมตนเองเท่าที่ควรจะเป็น และมาถึงตอนนี้เราได้ต้องเผชิญกับความล้มเหลวที่ใหญ่หลวง  หรือความสำนึกเสียใจที่เราไม่ได้ตื่นขึ้นในยามค่ำคืนเพื่อประกอบอิบาดะฮ์และภาวนาขอพรต่อพระผู้เป็นเจ้าซึ่งสิ่งเหล่านี้วันหนึ่งมันจะมาประสบกับคนเรา


      ในโองการต่างๆ ของคัมภีร์อัลกุรอานได้ชี้ถึงความสำนึกเสียใจบางส่วนที่บุคคลทั้งหลายจะเผชิญกับมันในโลกนี้หรือในปรโลก ตัวอย่างเช่น :


1) - ความสำนึกเสียใจต่อการคบหาสมาคมกับเพื่อนเลวในโลกนี้ :


يَا وَيْلَتَى لَيْتَنِي لَمْ أَتَّخِذْ فُلانًا خَلِيلا


“โอ้ความวิบัติของฉัน ! ฉันไม่น่าคบคนนั้นเป็นเพื่อนสนิทเลย” (1)


     เพื่อนมีอิทธิพลและมีบทบาทสำคัญอย่างมากในชีวิตของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้เองศาสนาอิสลามจึงให้ความสำคัญกับการทำความรู้จักเพื่อนและการเลือกคบหาสมาคมกับเพื่อน


      ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า :


ثَلَاثٌ مَنْ عَلَامَاتِ الْمُؤْمِنِ عِلْمُهُ بِاللهِ وَمَنْ يُحِبُّ وَمَنْ يُبْغِضُ


“สามประการเป็นส่วนหนึ่งจากสัญลักษณ์ของผู้ศรัทธา : 1. ความรู้ของเขาที่มีต่ออัลลอฮ์ 2. ต่อคนที่พระองค์ทรงรัก และ 3.ต่อคนที่พระองค์ทรงเกลียดชัง” (2)


      ในเนื้อหาส่วนนี้เราจะชี้ถึงคุณลักษณะของเพื่อนที่ดีและไม่ดี และเราจะกล่าวถึงบรรดาผู้ที่การคบหาสมาคมกับพวกเขาเป็นสิ่งที่ถูกตำหนิในทัศนะของอิสลาม

เพื่อนที่ดีคือใคร?


     เกี่ยวกับการคบหาสมาคมกับเพื่อนที่ดีนั้น ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้แนะนำหลักเกณฑ์บางอย่างไว้ :


     ท่านอิบนุอับบาสได้เล่าว่า : ประชาชนได้ถามท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) ว่า : “โอ้ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์! ผู้ร่วมสมาคมที่ดีนั้นคือใคร? ท่านได้อธิบายหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้ :


مَنْ ذَكَّرَكُمْ بِاللّهِ رُؤْیَتُهُ وَ زادَ كُمْ فِی عِلْمِكُمْ مَنْطِقُهُ وَ ذَكَّرَكُمْ بِالْاخِرَةِ عَمَلُهُ


“ผู้ที่การพบเห็นเขาจะทำให้พวกท่านรำลึกถึงอัลลอฮ์ และคำพูดของเขาจะเพิ่มพูนในความรู้ของพวกท่าน และการกระทำของพวกเขาจะทำให้พวกท่านรำลึกถึงอาคิเราะฮ์ (ปรโลก)” (3)

 

1.คนที่พบเห็นเขาจะทำให้ท่านรำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้า


      เพื่อนที่ดี คือผู้ที่เมื่อท่านเห็นเขาจะทำให้ท่านรำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้า นั่นหมายความว่าเขาได้ถูกย้อมสีแห่งพระผู้เป็นเจ้า


      พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสกับศาสดาของพระองค์ว่า :


وَلَا تَطْرُدِ الَّذِينَ يَدْعُونَ رَبَّهُم بِالْغَدَاةِ وَالْعَشِيِّ يُرِيدُونَ وَجْهَهُ


“และเจ้าจงอย่าผลักไส (และละทิ้งจากการคบหาสมาคมกับ) บรรดาผู้ที่วิงวอนต่อพระผู้อภิบาลของพวกเขา ทั้งในเวลาเช้าและเวลาเย็น โดยที่พวกเขาปรารถนาความโปรดปรานจากพระองค์” (4)

 


      และในทางกลับกัน พระองค์ทรงตรัสว่า :

 


وَاصْبِرْ نَفْسَكَ مَعَ الَّذِينَ يَدْعُونَ رَبَّهُم بِالْغَدَاةِ وَالْعَشِيِّ يُرِيدُونَ وَجْهَهُ


"และจงอดทนตัวของเจ้าเองให้อยู่ร่วมกับบรรดาผู้ที่วิงวอนต่อพระผู้อภิบาลของพวกเขา ทั้งยามเช้าและยามเย็น โดยที่พวกเขาปรารถนาความโปรดปรานจากพระองค์” (5)

 


     การคบหาสมาคมกับบรรดาผู้ที่เมื่อเราพบเห็นพวกเขาจะทำให้เรารำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้านั้น จะเป็นสื่อทำให้ตัวเราสะอาดบริสุทธิ์จากลักษณะที่ไม่ดีงาม เนื่องจากเมื่อเราได้อยู่กับบุคคลเหล่านี้ เราจะไม่ปล่อยให้ความผิดบาปและการละเมิดฝ่าฝืนเกิดขึ้นจากตัวเรา

 

 

2.คนที่คำพูดของเขาจะเพิ่มพูนความรู้ของท่าน


     การมีปฏิสัมพันธ์และการคบหาสมาคมกับผู้รู้ (อาลิม) เป็นส่วนหนึ่งจากคบหาสมาคมที่น่าสรรเสริญเป็นอย่างยิ่ง และได้รับการส่งเสริมจากศาสนาอิสลาม การคบหาสมาคมกับผู้รู้ในขั้นแรกนั้นจะช่วยปกป้องคนเราให้พ้นจากอันตรายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการคบหาสมาคมกับคนโง่เขลา และยิ่งไปกว่านั้นจะเป็นสื่อทำให้คนเราคุ้นเคยกับความรู้และมารยาทต่างๆ


     ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้เขียนไว้ในจดหมายที่ส่งถึงมาลิก อัลอัชตัรว่า :


وَ أَكْثِرْ مُدَارَسَةَ اَلْعُلَمَاءِ وَ مُنَاقَشَةَ اَلْحُكَمَاءِ


“และจงแลกเปลี่ยนความรู้กับบรรดาผู้รู้และจงถกกับบรรดาปวงปราชญ์ให้มาก” (6)

 


    และท่านอิมามมูซา กาซิม (อ.) ได้อ้างคำพูดจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ที่กล่าวว่า :


سائلوا العلماء، وخاطبوا الحكماء، وجالسوا الفقراء


“ท่านทั้งหลายจงถามบรรดาผู้รู้ จงสนทนากับปวงปราชญ์และจงนั่งร่วมกับคนยากจน” (7)

 

3.คนที่การกระทำของเขาจะทำให้ท่านรำลึกถึงปรโลก


     หลักเกณฑ์ที่สามซึ่งมีปรากฏในฮะดีษ (วจนะ) ของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) นั่นก็คือว่า สมควรที่จะคบหาสมาคมกับคนที่ด้วยสื่อของความกลัวนรกและวันกิยามะฮ์จะทำให้เขาเอาตัวออกห่างจากความชั่ว และสิ่งนี้เองจะเป็นสาเหตุทำให้คนเราเมื่อพบเจอเขาและเห็นความกลัวต่อวันกิยามะฮ์ในตัวของเขา จะเตือนสติเราให้รำลึกถึงปรโลกและวันกิยามะฮ์  การระลึกถึงปรโลกและวันแห่งการตอบแทนตัดสิน จะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะยับยั้งเราจากการทำบาป


      พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสไว้ในคัมภีร์อัลกุรอานว่า :

 


أَلَا يَظُنُّ أُولَئِكَ أَنَّهُمْ مَبْعُوثُونَ لِيَوْمٍ عَظِيمٍ


“พวกเหล่านั้นมิได้คิดบ้างหรือว่า พวกเขาจะถูกให้ฟื้นคืนชีพในวันอันยิ่งใหญ่” (8)

 


      การใคร่ครวญในโองการนี้จะทำให้เราเข้าใจว่า หากมนุษย์เพียงแค่คาดคิดถึงความเป็นไปได้ว่า จะมีวันกิยามะฮ์ และระดับของการคาดคิดไปถึงขั้นที่ทำให้เขาระลึกถึงวันกิยามะฮ์แล้ว เขาย่อมจะไม่ทำบาป

 


      พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสเกี่ยวกับบรรดาศาสดาของพระองค์ว่า :


إِنَّا أَخْلَصْنَاهُم بِخَالِصَةٍ ذِكْرَى الدَّارِ


“เราได้ทำให้พวกเขาสะอาดบริสุทธิ์ เนื่องจากการรำลึกถึงปรโลก” (9)

 


     หากคนเราเลือกคบหาสมาคมกับคนที่เมื่อพบเห็นเขา ทำให้เราระลึกถึงวันปรโลกและเราจะไม่ทำบาปนั่น แสดงว่าเราได้เลือกเพื่อนที่สมบูรณ์แบบและเราจะไม่เบี่ยงเบนไปจากเส้นทางแห่งมนุษย์

 


     เนื้อหาที่ได้ผ่านไปนั้นนอกเหนือจากคุณลักษณะต่างๆ ของเพื่อนที่ดีแล้ว เรายังสามารถรับรู้ถึงมารยาทของมิตรภาพได้ด้วยเช่นกัน กล่าวคือ มิตรภาพจำเป็นต้องวางอยู่บนหลักเกณฑ์สามประการ คือ ความรู้ การรำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้าและการระลึกถึงวันกิยามะฮ์  การระลึกถึงวันกิยามะฮ์ นั้นจะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะช่วยป้องกันมนุษย์จากบาป

 


      2)- ความเสียใจที่ไม่ได้ดำเนินตามแนวทางของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) :

 


وَيَوْمَ يَعَضُّ الظَّالِمُ عَلَىٰ يَدَيْهِ يَقُولُ يَا لَيْتَنِي اتَّخَذْتُ مَعَ الرَّسُولِ سَبِيلًا


“และวันที่ผู้อธรรมจะกัดมือของเขา (และ) จะกล่าวว่า “โอ้! ฉันน่าจะยึดแนวทางอยู่กับศาสนทูต” (10)

 


      3)-ความเสียใจของบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาที่ไม่ได้รับชัยชนะเหนือบรรดาผู้ศรัทธาซึ่งพวกเขาจะไม่ได้รับมันอย่างแน่นอน :

 


إِنَّ الَّذِينَ كَفَرُوا يُنْفِقُونَ أَمْوَالَهُمْ لِيَصُدُّوا عَنْ سَبِيلِ اللَّهِ فَسَيُنْفِقُونَهَا ثُمَّ تَكُونُ عَلَيْهِمْ حَسْرَةً ثُمَّ يُغْلَبُونَ وَالَّذِينَ كَفَرُوا إِلَى جَهَنَّمَ يُحْشَرُونَ


“แท้จริงบรรดาผู้ที่ปฏิเสธศรัทธานั้นจะบริจาคทรัพย์สินของพวกเขา เพื่อขัดขวาง (ประชาชน) จากแนวทางของอัลลอฮ์ แล้วพวกเขาก็จะบริจาคมันต่อไปภายหลังทรัพย์สินนั้นก็จะกลายเป็นความเสียใจแก่พวกเขา แล้วพวกเขาก็จะถูกพิชิต และบรรดาผู้ที่ปฏิเสธศรัทธานั้นพวกเขาจะถูกรวมไปยังนรก” (11)

 


      4)-ความเสียใจจากความบกพร่องในการปฏิบัติตามคำสั่งของพระผู้เป็นเจ้า :

 


تَقُولَ نَفْسٌ يَا حَسْرَتَا عَلَىٰ مَا فَرَّطتُ فِي جَنبِ اللَّهِ وَإِن كُنتُ لَمِنَ السَّاخِرِينَ


“แต่ละชีวิตจะกล่าวว่า โอ้อนิจจาต่อสิ่งที่ฉัน ได้ละทิ้ง (หน้าที่) ที่มีต่ออัลลอฮ์ และฉันเคยอยู่ในหมู่ผู้เย้ยหยัน” (12)

 


      ด้วยเหตุนี้เอง พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงสูงส่ง ได้ทรงใช้ให้ท่านศาสนทูตของพระองค์เตือนมนุษย์ทั้งมวลเกี่ยวกับวันแห่งความสำนึกเสียใจ ไว้ในโองการที่ 39 ของบทมัรยัม โดยตรัสว่า :

 


وَأَنذِرْهُمْ يَوْمَ الْحَسْرَةِ إِذْ قُضِيَ الْأَمْرُ وَهُمْ فِي غَفْلَةٍ وَهُمْ لَا يُؤْمِنُونَ


“และเจ้าจงเตือนพวกเขาถึงวันแห่งความเสียใจ เมื่อกิจการทั้งมวลได้ถูกทำให้สิ้นสุดลง และพวกเขาอยู่ในการหลงลืม และพวกเขาไม่ศรัทธา” (13)

 


      แต่ในท่ามกลางความสำนึกเสียใจเหล่านี้และแม้ว่าคนจำนวนมากในวันกิยามะฮ์จะต้องประสบกับความสำนึกเสียใจและความเศร้าโศกที่มีต่ออดีตของตน แต่ความเศร้าโศกเสียใจของบางคนเป็นเรื่องที่ร้ายแรงยิ่งโดยที่ไม่อาจเปรียบเทียบกับความเสียใจของคนอื่น ๆ ได้เลย ในท่ามกลางคนเหล่านี้ มีคนสองกลุ่มที่จะชี้ถึงในที่นี้ :

 

1.คนที่ขายปรโลกของตนเพื่อโลกนี้ของคนอื่น


      ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) กล่าวว่า :

 


إِنَّ أَشَدَّ النَّاسِ نَدَامَةً یَوْمَ الْقِیَامَةِ رَجُلٌ بَاعَ آخِرَتَهُ به دنیا غَیْرِهِ


“คนที่จะสำนึกเสียใจมากที่สุดในวันแห่งการพิพากษา คือคนที่ขายปรโลกของตัวเองให้กับโลกนี้ของผู้อื่น” (14)

 

2.คนที่พูดถึงความยุติธรรม ในขณะที่ตนเองไม่รักษาความยุติธรรม

 


       ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า :

 


اِنَّ مِن اَعظَمِ النّاسِ حَسرَهً یَومَ القِیامَهِ، مَن وَصفَ عَدلاً ثُمَّ خالَفَهُ اِلَى غَیرِه


“แท้จริงคนที่จะสำนึกเสียใจมากที่สุดในวันแห่งการพิพากษา คือคนที่พูดถึงคนเกี่ยวกับความยุติธรรม แต่แล้วเขาปฏิบัติตรงข้ามกับมันต่อผู้อื่น” (15)

 


3.คนที่แสวงหาทรัพย์สินมาด้วยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง :


     ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า :


إِنَّ أَعْظَمَ الْحَسَرَاتِ يَوْمَ الْقِيَامَةِ حَسْرَةُ رَجُلٍ كَسَبَ مَالًا فِي غَيْرِ طَاعَةِ اللَّهِ فَوَرِثَهُ رَجُلٌ فَأَنْفَقَهُ فِي طَاعَةِ اللَّهِ سُبْحَانَهُ فَدَخَلَ بِهِ الْجَنَّةَ وَ دَخَلَ الْأَوَّلُ بِهِ النَّارَ


“แท้จริงคนที่จะสำนึกเสียใจมากที่สุดในวันแห่งการพิพากษา คือความสำนึกเสียใจของคนที่แสวงหาทรัพย์สินในหนทางที่ไม่เชื่อฟังอัลลอฮ์ แล้วคนอื่นได้รับมันเป็นมรดกและใช้จ่ายมันไปในการเชื่อฟังอัลลอฮ์ (ซ.บ.) แล้วเขาได้เข้าสู่สวรรค์ด้วยกับมัน ในขณะที่ชายคนแรกเข้าสู่นรกด้วยกับมัน” (16)

 


     หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะบริหารจัดการกับแนวทางและแบบแผนต่างๆ ในการดำเนินชีวิตของเราในลักษณะที่จะไม่ทำให้เราต้องประสบกับความสำนึกเสียใจและความเศร้าโศกในชีวิต และจะทำให้เราภาคภูมิใจและได้รับชัยชนะตลอดไป

 

เชิงอรรถ :


1.อัลกุรอานบทอัลฟุรกอน โองการที่ 28


2.อุซูลุลกาฟี , เล่ม 2 , หน้า 126


3.บิฮารุ้ลอันวาร , เล่มที่ 15 , หน้าที่ 51


4.อัลกุรอานบทอัลอันอาม โองการที่ 52


5.อัลกุรอานบทอัลกะฮ์ฟี่ โองการที่ 28


6.นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ , จดหนมายฉบับที่ 53


7.มีซานุลฮิกมะฮ์ , เล่ม 1 , หน้า 402


8.อัลกุรอานบทอัลมุฏ็ฮฟฟิฟีน โองการที่ 4 และ 5


9.อัลกุรอานบทศ๊อด โองการที่ 46


10.อัลกุรอานบทอัลฟุรกอน โองการที่ 27


11.อัลกุรอานบทอัลอันฟาล โองการที่ 36


12.อัลกุรอานบทอัซซุมัร โองการที่ 56


13.อัลกุรอานบทมัรยัม โองการที่ 39


14.กันซุลอุมมาล , เล่ม 3 , หน้า 510


15.วะซาอิลุชชีอะฮ์ , เล่ม 1 , หน้า 295


16.นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ , ฮิกมะฮ์ที่ 429

 

ขอขอบคุณเว็บไซต์ islamicstudiesth

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
ชีวประวัติของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ...
...
เดือนรอมฎอน เดือนแห่งอัลอิสลาม
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัลอิคลาศ ตอนที่ ...
อาลัมบัรซัค ...
ความสำคัญของพ่อแม่ในอิสลาม
ความกตัญญูต่อบิดามารดา
ท่านอะบูฏอลิบ คือ ใคร
ฮิดายะฮ์ (การชี้นำ)ในอัลกุรอาน

 
user comment