ไทยแลนด์
Saturday 23rd of November 2024
0
نفر 0

นะบูวะห์ (ตอนที่ 5)



นะบูวะห์ (ตอนที่ 5)


สภาวะความเป็นศาสดา


ข้อคลางแคลงสงสัยต่างๆเกี่ยวกับศาสดา(1)

 

คัมภีร์อัลกรุอาน ได้ยืนยันว่า การปรากฏตัวของบรรดาศาสดา คือ

ฮิกมะฮฺ (วิทยปัญญาหรือปรัชญาของเป้าหมาย)เพื่อที่จะให้มนุษย์เข้าถึงปรัชญาแห่งเป้าหมายด้วยกับกฎเกณฑ์และคำสอนต่างๆที่ศาสดานำมาทำหน้าที่คอยควบคุมความประพฤติของมนุษย์ ทั้งที่เป็นหลักศรัทธา หลักปฏิบัติและจริยธรรม เพื่อนำมนุษย์พัฒนาไปสู่ความเจริญและความสมบูรณ์สูงสุด


ทว่า มนุษย์กลับเข้าใจว่า พระผู้เป็นเจ้าได้ส่งศาสดาจำนวนมากให้ปรากฏขึ้นในตะวันออกกลางเพียงเท่านั้น ทำไมศาสดาไม่ถูกส่งไปยังพื้นที่อื่นๆด้วย ทำไมไม่ถูกส่งไปยังตะวันตก ทำไมไม่ถูกส่งไปยังแถบชมพูทวีป และอีกทั้งในยุคนั้นการสื่อสารก็เป็นไปอย่างยากลำบาก แล้วพวกเขาจะได้รับสาสน์จากพระผู้เป็นเจ้ากันอย่างไร


การสร้างพื้นฐานความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวนี้ เบื้องต้นมนุษย์ต้องทำความเข้าใจในทุกบริบทการปรากฏของบรรดาศาสดาก่อน ประเด็นข้อคลางแคลงสงสัยนี้ ซึ่งหากตั้งข้อสังเกต คำถามดังกล่าวเป็นคำถามที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากอัลลอฮฺ(ซบ)ได้ยืนยันในคัมภีร์อัลกรุอานไว้ว่า พระองค์ทรงส่งศาสดาไปทุกๆประชาชาติ ดังนี้


ซูเราะฮฺอัลฟาฏิร โองการที่ 24

 

إِنَّا أَرْسَلْنَاكَ بِالحَْقِّ بَشِيرًا وَ نَذِيرًا وَ إِن مِّنْ أُمَّةٍ إِلَّا خَلَا فِيهَا نَذِير

 

“แท้จริงเราได้ส่งเจ้ามาด้วยสัจธรรมเพื่อที่เจ้าจะได้แจ้งข่าวดีและแจ้งข่าวร้ายและไม่มีประชาชาติใด เว้นแต่ประชาชาตินั้นจะมีผู้ตักเตือนมายังพวกเขาแล้ว”


ซูเราะฮฺนิซาอฺ โองการที่ 164

 

وَ رُسُلًا قَدْ قَصَصْنَاهُمْ عَلَيْكَ مِن قَبْلُ وَ رُسُلًا لَّمْ نَقْصُصْهُمْ عَلَيْكَ وَ كلََّمَ اللَّهُ مُوسىَ تَكْلِيمًا

 

“และมีศาสดาบางท่านที่เราได้แถลงเรื่องราวของพวกเขาให้เจ้ารู้ในก่อนหน้าเจ้าและมีศาสดาบางท่านที่เราไม่ได้แถลงให้เจ้าในเรื่องราวของพวกเขาให้เจ้ารู้และอัลลอฮฺ(ซบ)ได้ตรัสกับมูซา(อ)โดยตรงโดยไม่ผ่านญิบรออีล”

 

ซูเราะฮ์อัลนะลฺ โองการที่ 36

 

وَ لَقَدْ بَعَثْنَا فىِ كُلِّ أُمَّةٍ رَّسُولاً أَنِ اعْبُدُواْ اللَّهَ وَ اجْتَنِبُواْ الطَّغُوت

 

“และโดยแน่นอนยิ่งเราได้ส่งศาสดาไปในทุกๆประชาชาติ โดยมีบัญชาว่า พวกเจ้าจงเคารพภักดีอัลลอฮฺ(ซบ)และจงออกห่างจากผู้นำที่อธรรม (ฏอฆูต)”

 

คำอธิบาย : จากโองการต่างเหล่านี้ ยืนยันว่า ทุกๆประชาชาตินั้นมีศาสดาอยู่ ทว่าบริบทการปรากฏในแต่ละพื้นที่ จะมาในรูปแบบหลากหลาย เช่น บางพื้นที่มาในลักษณะผู้ตักเตือน บางพื้นที่มาเพื่อเชิญชวนเข้าสู่ความดี

 

เห็นได้ว่า อัลกรุอานได้ยืนยันเป็นหลักฐานมาก่อนหน้าแล้ว ฉะนั้น เมื่อจนต่อตรรกะและเหตผล หากมนุษย์จะอ้างว่า เขาไม่รู้เรื่องราวของศาสดานั้น ไม่ได้หมายความว่า พระผู้เป็นเจ้าไม่ได้ส่งศาสดาลงมา กลับกันพระองค์ส่งศาสดาลงมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะนำไปสู่ข้อคลางแคลงข้อต่อไปว่า เมื่อพระองค์ส่งศาสดาเป็นจำนวนมาก แต่ทำไม่มนุษย์ส่วนมากยังคงทำชั่วอยู่ อีกทั้งยังคงไม่มีคุณธรรม ไม่มีศีลธรรม ไม่มีจริยธรรมอยู่และยิ่งเลวร้ายไปกว่านั้นบางครั้งบรรดาสาวกของศาสดาท่านหนึ่ง กลับมีปัญหาหรือสู้รบกับสาวกของศาสดาอีกท่านหนึ่ง


ตัวอย่าง : ความขัดแย้งในปาเลสไตน์ไม่ได้เกิดจากความขัดแย้งในคำสั่งสอนของศาสดา แต่เกิดจากความละเมิดในคำสั่งสอนของศาสดาต่างหาก


หากย้อนไปสมัยโบราณตามบันทึกในประวัติศาสตร์ มีดินแดนส่วนหนึ่งในตะวันออกกลางชื่อว่า “ดินแดนปาเลสไตน์” มีผู้คนอาศัยอยู่จำนวนหนึ่งส่วนมากมีเชื้อสายกันอาน(อาหรับ)และเชื้อสายฟิลิสติน ซึ่งก็คือบรรพบุรุษของชาวปาเลสไตน์ในปัจจุบัน


ต่อมา ชาวยิว(เชื้อสายของชาวอิสราเอลในปัจจุบัน) จำนวนหลายแสนคนหลบหนีจากการเป็นทาสในอียิปต์และหนีมายังดินแดนนี้ ได้ทำการบุกรุกเพื่อชิงพื้นที่นี้ แน่นอนว่าชาวปาเลสไตน์หรืออาหรับเจ้าของพื้นที่จำนวนมากที่ยังคงอยู่ในดินแดนปาเลสไตน์เกิดความไม่พอใจเป็นอย่างมากที่ยิวมาแย่งพื้นที่ของตน


ประกอบกับคนในดินแดนปาเลสไตน์ถูกเลี้ยงดูแบบอาหรับและวัฒนธรรมแบบอิสลาม อีกทั้งมีบทบาทมากที่สุดในดินแดนปาเลสไตน์เป็นเวลาพันกว่าปี


ทว่า ยิวกลุ่มไซออนนิสต์ยึดมั่นในพระคัมภีร์ที่ถูกบิดเบือนว่า “พระเจ้าได้ประทานดินแดนแห่งนี้ให้กับชาวยิว ดังนั้นดินแดนนี้จึงเป็นของยิวตั้งแต่อดีตกาล” จึงได้ทยอยยึดแผ่นดินในดินแดนปาเลสไตน์เรื่อยๆ ท่ามกลางความไม่พอใจของชาวปาเลสไตน์หรืออาหรับที่เป็นเจ้าของพื้นที่ มีการเผชิญหน้ากันหลายครั้ง เล็กบ้างใหญ่บ้าง จนนำไปสู่เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์และสงครามครั้งใหญ่จึงเกิดขึ้นเรื่อยมาไม่จบไม่สิ้น


จากเหตุการณ์ในปาเลสไตน์ เห็นได้ว่าไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างชาวมุสลิมที่เป็นสาวกของศาสดามูฮัมหมัด(ศ็อลฯ)กับชาวยิวที่เป็นสาวกของศาสดามูซา(อ)แต่เป็นความละเมิดของยิวไซออนิสต์ต่างหาก

 

ประเด็นนี้ปฐมเหตุการเกิดของมนุษย์ มนุษย์ถูกสร้างมาวางอยู่บนพื้นฐานของ “เจตนารมณ์เสรี(อิคติยาร) คือ มนุษย์มีสิทธิในการเลือก”


ดังนั้นจึงมีทั้งผู้ที่ปฏิบัติตามและมีทั้งผู้ละเมิดคำสั่งต่างๆของพระผู้เป็นเจ้าที่นำมาโดยศาสดานั้นๆ และเหตุผลที่พระองค์มอบ “อิคติยาร” แก่มนุษย์ก็เพื่อที่จะทดสอบมนุษย์ ดั่งที่พระองค์ทรงตรัสในอัลกรุอ่าน


ซูเราะฮฺอัลมุลกฺ โองการที่ 2 ได้ยืนยันว่า

 

الَّذِى خَلَقَ الْمَوْتَ وَ الحَْيَوةَ لِيَبْلُوَكُمْ أَيُّكمُْ أَحْسَنُ عَمَلًا وَ هُوَ الْعَزِيزُ الْغَفُور

 

“พระองค์ผู้ซึ่งทรงสร้างชีวิตและความตายเพื่อที่จะทดสอบพวกเจ้า ว่ามีผู้ใดบ้างในหมู่พวกเจ้ามีการงานที่ดีงามและพระองค์คือผู้ทรงเกรียงไกรผู้ทรงอภัยเสมอ”

 

ซูเราะฮฺฮูด โองการที่ 7

 

وَ هُوَ الَّذِى خَلَقَ السَّمَاوَاتِ وَ الْأَرْضَ فىِ سِتَّةِ أَيَّامٍ وَ كَانَ عَرْشُهُ عَلىَ الْمَاءِ لِيَبْلُوَكُمْ أَيُّكُمْ أَحْسَنُ عَمَلا

 

“พระองค์ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินในระยะหกวัน และบัลลังก์ของพระองค์นั้นอยู่เหนือน้ำ เพื่อพระองค์จะทรงทดสอบพวกเจ้าว่า ผู้ใดเป็นผู้มีการงานที่ดีเยี่ยม”

 

ซูเราะฮฺอัลกะฮฺฟิ โองการที่ 7

 

إِنَّا جَعَلْنَا مَا عَلىَ الْأَرْضِ زِينَةً لهََّا لِنَبْلُوَهُمْ أَيهُُّمْ أَحْسَنُ عَمَلا

 

“แท้จริงเราได้ทำให้สิ่งที่อยู่บนแผ่นดินเป็นที่ประดับประดาแก่มัน เพื่อที่จะทดสอบพวกเขาว่าผู้ใดบ้างที่มีการงานที่ดีงาม”

 

ซูเราะฮฺอัลอันอาม โองการที่ 165

 

وَ هُوَ الَّذِى جَعَلَكُمْ خَلَئفَ الْأَرْضِ وَ رَفَعَ بَعْضَكُمْ فَوْقَ بَعْضٍ دَرَجَتٍ لِّيَبْلُوَكُمْ فىِ مَا ءَاتَئكمضهسه

 

“พระองค์ทรงทำให้พวกเจ้าเป็นผู้สืบทอดบนหน้าแผ่นดิน และทรงเทิดบางคนในหมู่พวกเจ้าเหนืออีกบางคนซึ่งฐานันดรต่างๆ เพื่อพระองค์จะได้ทรงทดสอบพวกเจ้าในสิ่งที่พระองค์ได้ทรงประทานให้แก้พวกเจ้า”

 

คำอธิบาย : จากโองการต่างๆเหล่านี้เป็นที่ยืนยันว่า มนุษย์ถูกสร้างมาบนโลกนี้เพื่อถูกทดสอบด้วยกับสิ่งต่างๆ และการทดสอบจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมนุษย์มีทางเลือก ทว่าการถูกบังคับโดยไม่มีทางเลือกใดๆไม่ถือว่าเป็นการทดสอบ


ดังนั้น หากมนุษย์ทำความเข้าใจโดยภาครวม จะเห็นได้ว่า เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น จะมีทั้งผู้ที่สอบผ่านและมีทั้งสอบไม่ผ่าน มีทั้งคนดีและคนชั่ว ซึ่งเกิดมาจากตัวของมนุษย์เอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคำสั่งสอนของแต่ละศาสดา และแน่นอนว่าหากมนุษย์ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของศาสดาอย่างแท้จริงแล้ว สาวกของศาสดาแต่ละท่านก็จะไม่ทะเลาะกัน


ขอขอบคุณ สถาบันศึกษาศาสนาอัลมะฮ์ดี

 

 

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

นะบูวะห์ (ตอนที่ 5)
...
อิมามฮุเซนฺ (อ.) คือ ใคร
ซิกรุลลอฮ์ด้วยจิต
...
สาเหตุการกล่าวคำปฏิญาณในอิสลาม
มุนาญาต อัชชากกีน ...
ปรัชญาแห่งอุปสรรคในชีวิต
บันทึกประวัติ “ปาเลสไตน์” ...
มารู้จักอิมามมะฮฺดีย์

 
user comment