สุนทโรวาทอิมามอะลีในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ตอนที่ 2
ตราชูคุณค่าของมนุษย์
وَ قَالَ [عليه السلام] قِيمَةُ كُلِّ امْرِئٍ مَا يُحْسِنُهُ
قال الرضى و هى الكلمة التى لا تصاب لها قيمة و لا توزن بها حكمة و لا تقرن إليها كلمة
อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า คุณค่าของทุกคนอยู่ที่ความรู้และความสามารถ
ซัยยิดเราะฏียฺ กล่าวว่า สุนทโรวาทดังกล่าวไม่สามารถคิดมูลค่าให้ท่านได้ เนื่องจากไม่มีความรู้ใดเสมอเหมือนท่าน และไม่มีคำพูดใดสูงส่งไปกว่าคำพูดของท่าน
คุณค่าอันสูงส่งของมนุษย์
وَ قَالَ [عليه السلام] أُوصِيكُمْ بِخَمْسٍ لَوْ ضَرَبْتُمْ إِلَيْهَا آبَاطَ الْإِبِلِ لَكَانَتْ لِذَلِكَ أَهْلًا لَا يَرْجُوَنَّ أَحَدٌ مِنْكُمْ إِلَّا رَبَّهُ وَ لَا يَخَافَنَّ إِلَّا ذَنْبَهُ وَ لَا يَسْتَحِيَنَّ أَحَدٌ مِنْكُمْ إِذَا سُئِلَ عَمَّا لَا يَعْلَمُ أَنْ يَقُولَ لَا أَعْلَمُ وَ لَا يَسْتَحِيَنَّ أَحَدٌ إِذَا لَمْ يَعْلَمِ الشَّيْءَ أَنْ يَتَعَلَّمَهُ وَ عَلَيْكُمْ بِالصَّبْرِ فَإِنَّ الصَّبْرَ مِنَ الْإِيمَانِ كَالرَّأْسِ مِنَ الْجَسَدِ وَ لَا خَيْرَ فِى جَسَدٍ لَا رَأْسَ مَعَهُ وَ لَا فِى إِيمَانٍ لَا صَبْرَ مَعَهُ
อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า ข้าขอแนะนำเจ้า 5 ประการด้วยกัน มาตรว่าผู้ขี่ได้รีบเร่งทะยานเข้าไป และอดทนต่อความยากลำบากในการเดินทาง ฉะนั้น ดีกว่า
ถ้าคนหนึ่งคนใดจากพวกเจ้าจะไม่ตั้งความหวังกับใครอื่นนอกจากพระผู้อภิบาลของเขา
ไม่เกรงกลัวสิ่งใดนอกจากบาปของตน
บุคคลควรไต่ถามถึงเรื่องที่ตนไม่รู้ไม่ควรอายที่จะกล่าวว่า"ฉันไม่รู้"
ไม่ต้องอายบุคคลใดที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่เจ้าไม่รู้
เจ้าจงอดทน เพราะความอดทนเป็นส่วนหนึ่งของความศรัทธา ประหนึ่งศีรษะที่เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย ความศรัทธาที่ปราศจากความอดทน เหมือนกับร่างกายที่ปราศจากศีรษะ ถือว่าไม่มีมีค่าแต่อย่างใด
การเผชิญหน้ากับพวกสอพลอ
وَ قَالَ [عليه السلام] لِرَجُلٍ أَفْرَطَ فِى الثَّنَاءِ عَلَيْهِ وَ كَانَ لَهُ مُتَّهِماً أَنَا دُونَ مَا تَقُولُ وَ فَوْقَ مَا فِى نَفْسِكَ
อิมามอะลี (อ.) กล่าวแก่ชายคนหนึ่งที่สุดโต่งในการยกย่องท่าน แต่ไม่ยอมพูดสิ่งที่ซ่อนอยู่ในใจว่า ข้าต่ำต้อยกว่าคำพูดที่เจ้าเอ่ยออกมา แต่ดีกว่าสิ่งที่ซ่อนอยู่ในใจเจ้า
ประชาชนหลังสงคราม
وَ قَالَ [عليه السلام] بَقِيَّةُ السَّيْفِ أَبْقَى عَدَداً وَ أَكْثَرُ وَلَداً
อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า ผู้คนที่หลงเหลืออยู่จากคมดาบและสงคราม มีจำนวนมั่นคงและบุตรหลานมากมาย
หลีกเลี่ยงการกล่าวอ้างความรู้
وَ قَالَ [عليه السلام] مَنْ تَرَكَ قَوْلَ لَا أَدْرِى أُصِيبَتْ مَقَاتِلُهُ
อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า บุคคลใดละเว้นการกล่าวว่า ไม่รู้ เขาได้ก้าวไปสู่ความตาย
ประสบการณ์ของชายสูงอายุเหนือกว่าบารมีของชายหนุ่ม
وَ قَالَ [عليه السلام] رَأْيُ الشَّيْخِ أَحَبُّ إِلَيَّ مِنْ جَلَدِ الْغُلَامِ وَ رُوِيَ مِنْ مَشْهَدِ الْغُلَامِ
อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า ฉันชอบวิสัยทัศน์ของชายสูงอายุมากกว่าความพยายามของชายหนุ่ม (บางรายงานกล่าวว่า ดีกว่าการต่อสู้ของเด็กหนุ่ม)
คุณค่าของการลุแก่โทษ
وَ قَالَ [عليه السلام] عَجِبْتُ لِمَنْ يَقْنَطُ وَ مَعَهُ الِاسْتِغْفَارُ
อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า ฉันประหลาดใจกับบุคคลที่สามารถขอลุแก่โทษได้แต่เขาสิ้นหวัง
ปัจจัยความปลอดภัย 2 ประการของมุสลิม
وَ حَكَى عَنْهُ أَبُو جَعْفَرٍ مُحَمَّدُ بْنُ عَلِيٍّ الْبَاقِرُ [عليه السلام] أَنَّهُ
قَالَ كَانَ فِى الْأَرْضِ أَمَانَانِ مِنْ عَذَابِ اللَّهِ وَ قَدْ رُفِعَ أَحَدُهُمَا فَدُونَكُمُ الْآخَرَ فَتَمَسَّكُوا بِهِ أَمَّا الْأَمَانُ الَّذِى رُفِعَ فَهُوَ رَسُولُ اللَّهِ (ص) وَ أَمَّا الْأَمَانُ الْبَاقِى فَالِاسْتِغْفَارُ قَالَ اللَّهُ تَعَالَى وَ ما كانَ اللَّهُ لِيُعَذِّبَهُمْ وَ أَنْتَ فِيهِمْ وَ ما كانَ اللَّهُ مُعَذِّبَهُمْ وَ هُمْ يَسْتَغْفِرُونَ
รายงานโดยท่านอิมามบากิร (อ.) จากท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า มี 2 สิ่งบนโลกนี้เป็นเหตุให้ปลอดภัยจากการลงโทษของอัลลอฮ์ ซึ่งหนึ่งในสองสิ่งถูกยกเลิกไปแล้ว ยังคงเหลืออีกหนึ่งเดียวจงยึดสิ่งนั้นให้มั่นคง ส่วนความปลอดภัยที่ถูกยกเลิกไป คือ เราะซูลแห่งอัลลฮฺ (ซ็อล ฯ) ส่วนความปลอดภัยที่เหลืออยู่ การลุแก่โทษ อัลลอฮ์ ตรัสกับเราะซูลว่า อัลลอฮ์จะไม่ทรงลงโทษพวกเขาขณะที่เจ้าอยู่ในพวกเขา และอัลลอฮ์จะไม่เป็นผู้ทรงลงโทษพวกเขา ถ้าพวกเขาขออภัยโทษ
การปรับปรุงโลกนี้และโลกหน้า
وَ قَالَ [عليه السلام] مَنْ أَصْلَحَ مَا بَيْنَهُ وَ بَيْنَ اللَّهِ أَصْلَحَ اللَّهُ مَا بَيْنَهُ وَ بَيْنَ النَّاسِ وَ مَنْ أَصْلَحَ أَمْرَ آخِرَتِهِ أَصْلَحَ اللَّهُ لَهُ أَمْرَ دُنْيَاهُ وَ مَنْ كَانَ لَهُ مِنْ نَفْسِهِ وَاعِظٌ كَانَ عَلَيْهِ مِنَ اللَّهِ حَافِظٌ
อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า บุคคลใดเปลี่ยนแปลงตัวเองระหว่างเขากับอัลลอฮ์ อัลลอฮ์จะทรงเปลี่ยนแปลงระหว่างเขากับบุคคลอื่น บุคคลใดปรับปรุงกิจการงานโลกหน้าของเขา อัลลอฮ์จะทรงปรับปรุงกิจการงานโลกนี้ของเขา บุคคลใดตักเตือนตนเอง อัลลอฮ์จะทรงปกป้องเขา
การรู้จักนักปราชญ์
وَ قَالَ [عليه السلام] الْفَقِيهُ كُلُّ الْفَقِيهِ مَنْ لَمْ يُقَنِّطِ النَّاسَ مِنْ رَحْمَةِ اللَّهِ وَ لَمْ يُؤْيِسْهُمْ مِنْ رَوْحِ اللَّهِ وَ لَمْ يُؤْمِنْهُمْ مِنْ مَكْرِ اللَّهِ
อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า คุณค่าของนักปราชญ์ผู้สมบูรณ์ คือ ผู้ที่ไม่ทำให้ประชาชนสิ้นหวังในพระเมตตาของอัลลอฮ์ หรือสิ้นหวังในความกรุณาปรานีของพระองค์ หรือไม่ทำให้ประชาชนไม่ปลอดภัยจากการลงโทษของอัลลอฮ์