ไทยแลนด์
Saturday 28th of December 2024
0
نفر 0

นบีมุฮัมมัด พระเมตตาของพระเจ้&

ในบรรทัดฐานของมนุษย์ ความจำเริญและความเป็นศิริมงคล (บะรอกะฮฺ) ของการที่บุคคลหนึ่งถือกำเนิดขึ้นมาในโลกนี้นั้น มีความผกผันโดยตรงกับผลที่เกิดขึ้นตามมาทั้งทางตรงและทางอ้อมจากบุคคลผู้ นั้น จากบรรทัดฐานดังกล่าวการถือกำเนิดของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) จึงเป็นการถือกำเนิดที่จำเริญและมีศิริมงคลที่สุด ความจำเริญนี้เกิดขึ้นตั้งแต่วินาทีแรกที่ท่านได้ถือกำเนิดเลยทีเดียว ทั้งนี้เนื่องจากเมื่อคำนึงถึงการที่ท่านศาสดาอีซา (อ) ได้ประกาศถึงความเป็นศิริมงคลของตัว
นบีมุฮัมมัด พระเมตตาของพระเจ้&

ในบรรทัดฐานของมนุษย์ ความจำเริญและความเป็นศิริมงคล (บะรอกะฮฺ) ของการที่บุคคลหนึ่งถือกำเนิดขึ้นมาในโลกนี้นั้น มีความผกผันโดยตรงกับผลที่เกิดขึ้นตามมาทั้งทางตรงและทางอ้อมจากบุคคลผู้ นั้น จากบรรทัดฐานดังกล่าวการถือกำเนิดของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) จึงเป็นการถือกำเนิดที่จำเริญและมีศิริมงคลที่สุด
ความจำเริญนี้เกิดขึ้นตั้งแต่วินาทีแรกที่ท่านได้ถือกำเนิดเลยทีเดียว ทั้งนี้เนื่องจากเมื่อคำนึงถึงการที่ท่านศาสดาอีซา (อ) ได้ประกาศถึงความเป็นศิริมงคลของตัวท่านตั้งแต่วันแรกของการถือกำเนิดที่ว่า "وَجَعَلَنی مُبَارکا اَینَ مَا کُنتُ - และพระองค์ทรงให้ฉันมีศิริมงคลไม่ว่าฉันจะอยู่ที่ใดก็ตาม" 1 ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ซึ่งประเสริฐที่สุดย่อมมีความจำเริญมากยิ่งกว่า

นอกจากนั้น ปรากฏการณ์แปลกๆ ที่อุบัติขึ้นในมุมต่างๆ ของโลกในขณะที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ถือกำเนิดดังที่บันทึกอยู่ในตำราประวัติศาสตร์ อาทิเช่น พระราชวังของกษัตริย์คุสโรเกิดความเสียหาย, ไฟในโบสถ์ของชาวโซโรแอสเตอร์ได้ดับลง, ทะเลทราบสาเวะฮ์ที่คนบางกลุ่มถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ได้แห้งขอดและกลาย เป็นทะเลเกลือ, เทวรูปโดยรอบอาคารกะอฺบะฮ์ล้มครืนลงมา เป็นต้น ปรากฏการณ์เหล่านี้เป็นเครื่องหมายและการแจ้งข่าวดีถึงความจำเริญ (บะรอกะฮฺ) ของท่านศาสดา (ศ) กล่าวคือ ด้วยกับการย่างก้าวอันจำเริญของท่านสู่โลกนี้ ความต่ำต้อยของมนุษย์ทั้งที่เป็นผลมาจากอำนาจปกครองที่อธรรม ดังเช่นที่เกิดขึ้นอณาจักรเปอร์เซียและโรมันในขณะนั้น และทั้งที่เป็นผลพวงของการเคารพภักดีสิ่งอื่นจากอัลลอฮฺนั้น จะหมดสิ้นไปในที่สุด และด้วยกับการถือกำเนิดอันเป็นมงคลยิ่งนี้ มนุษย์จะเป็นอิสระจากแอกและพันธนาการของการกดขี่ที่ถูกยัดเยียดให้กับมนุษย์ โดยผู้ปกครองที่อธรรม และพันธนาการของความงมงายและความเชื่อที่เป็นโมฆะอันนำมาซึ่งความต่ำต้อย ด้อยค่าที่ได้ทำให้มนุษย์ต้องก้มหัวและบูชามนุษย์ด้วยกัน รวมทั้งสิ่งที่ด้อยค่ากว่าตนเอง เช่น ก้อนหินและสัตว์

แม้ว่าโลกในขณะที่ท่านศาสดาถือกำเนิดจะมีอารยธรรมสำคัญๆ เช่น อารยธรรมจีน, เปอร์เซีย และไอยคุปต์ และมีความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ ดังจะเห็นได้จากการมีอยู่ของนักกวีและนักปราชญ์เมธีก็ตาม แต่คุณสมบัติที่สวนทางกันอย่างสิ้นเชิงของ "การถดถอยทางศีลธรรม" ได้ทำให้มนุษย์พบกับทางตันและเริ่มเคยชินกับอำนาจอื่นจากอัลลอฮฺ, อำนาจของความอธรรม, ความแตกแยกทางชนชั้น, การถือพรรคถือพวก, เผ่าพันธ์นิยม, การตกเป็นทาสของความเห็นแก่ตัว, การเข่นฆ่ามนุษย์ ฯลฯ ดังที่ท่านอิมามอะลี อิบนุ อะบีฏอลิบ (อ) ได้กล่าวถึงสภาพของสังคมโลกในขณะนั้นว่า "الدُّنیا کاسفةُ النُّور ظاهِرَةُ الغرُور " โลกในขณะนั้น แสงรัศมีแห่งความผาสุกที่แท้จริงของมนุาย์ได้ถูกบดบังด้วยกับผลพวงอันเกิดจากอำนาจปกครองของกฏเกณฑ์และอำนาจที่อธรรม

ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) จึงมาเพื่อ "ปลุก" โลกและมนุษยชาติให้ตื่น ซึ่งถือเป็นพันธกิจที่ยิ่งใหญ่ของท่านศาสดา ดังที่กุรอานกล่าวว่า: "ان هو الّا ذکر للعالمین" 2 ท่านศาสดาคือ "ซิกร์" ผู้ทำหน้าที่เตือนให้รำลึกได้และผู้เตือนสำทับ

นอกจากการตื่นตัวทางจิตวิญญาณแล้ว การตื่นตัวทางวิชาการในโลกอิสลามที่ได้แผ่กระจายออกไปสู่โลกภายนอกด้วยการไป มาหาสู่กันหรือแม้กระทั่งการขยายดินแดน และได้มอบคำสอนและแนวคิดอันทรงคุณค่า เช่น สิทธิมนุษยชน, เสรีภาพ, ความเท่าเทียมกัน และภราดรภาพของมนุษย์ ให้เป็นของกำนัลแก่โลกนั้น ก็ถือเป็นอีกความจำเริญหนึ่งของบุรุษผู้สูงส่งท่านนี้

ความยิ่งใหญ่ของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ)
นอกจากโองการกุรอานหลายโองการที่พรรณนาถึงความยิ่งใหญ่และสถานภาพอันสูง ส่งของท่านศาสดาแล้ว วิถีของอะฮฺลุลบัยต์ สมาชิกในครอบครัวของท่านศาสดาผู้ตระหนักถึงสถานภาพของท่านเป็นอย่างดีนั้น เป็นอีกแหล่งข้อมูลหนึ่งที่จะฉายภาพที่แท้จริงของท่านศาสดาได้อย่างสมบูรณ์

มีรายงานว่าเมื่อนามชื่อของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ถูกกล่าวถึง ความยิ่งใหญ่และความสมบูรณ์ของท่านจะส่งผลต่อจิตใจของท่านอิมามศอดิก (อ) จนทำให้สีหน้าของท่านเปลี่ยนไป

อะบู ฮารูน รายงานว่า วันหนึ่งเขาได้เข้าพบอิมาม ท่านได้กล่าวกับเขาว่า: หลายวันแล้วที่ฉันไม่ได้พบเธอ อะบู ฮารูนกล่าวว่า: อัลลอฮฺได้ทรงประทานบุตรชายคนหนึ่งให้ฉัน อิมามกล่าวว่า: ขอให้อัลลอฮฺทรงบันดาลให้เขาเป็นความจำเริญสำหรับเธอ เธอตั้งชื่อเขาว่าอะไร? อะบู ฮารูน กล่าวตอบว่า: ฉันตั้งชื่อเขาว่า มุฮัมมัด

ทันที่ที่อิมามได้ยินชื่อนี้ ท่านได้ก้มลงจนเกือบถึงพื้นเพื่อแสดงความคารวะต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) พร้อมกับกล่าวพรึมพรำว่า มุฮัมมัด มุฮัมมัด มุฮัมมัด หลังจากนั้น ท่านจึงกล่าวว่า: ขอพลีชีวิตของฉัน ชีวิตของลูกๆ และบิดาของฉัน และชึวิตของชาวโลกทั้งหมดเพื่อท่านศาสดา เธอจะต้องไม่ด่าว่าเขา อย่าตบตีเขา อย่าทำสิ่งไม่ดีกับเขา จงรู้ไว้เถิดิว่า บ้านใดที่มีคนชื่อมุฮัมมัด บ้านนั้นจะมีแต่ความจำเริญและศิริมงคล 3

จากคำแนะนำและคำกล่าวของอิมามศอดิก (อ) แสดงให้เห็นถึงสถานภาพอันสูงส่งของท่านศาสดา (ศ) ได้เป็นอย่างดี เพราะแม้แต่การตั้งชื่อด้วยชื่อของท่านศาสดานั้นก็ยังเป็นที่มาของเกียรติ และความจำเริญ

วิถีศาสดา, แบบอย่างอันสมบูรณ์สำหรับมนุษย์
แบบอย่างอันสมบูรณ์ของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) คืออีกความจำเริญหนึ่งของท่าน แบบอย่างที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงอย่างกลมกลืนกับธรรมชาติของมนุษย์ในทุกขั้นตอนของชีวิต ในวาระครบรอบวันคล้ายวันถือกำเนิดของท่านศาสดาในปี ฮ.ศ. ๑๔๓๐ นี้ ผู้เขียนใคร่ขอนำเอาแบบอย่างและวิถีของท่านศาสดาสองประการมาศึกษาร่วมกันเพื่อการนำมาประยุกต์ใช้ชีวิตของเราในฐานะผู้เจริญรอยตามท่านต่อไป

ความรักและการมีเมตตาธรรม
"ความรักและการมีเมตตาธรรม" เป็นคำสอนทางศีลธรรมที่สวยงามที่สุด ดังที่ท่านศาสดา (ศ) กล่าวว่า: "หากความรักและการมีเมตตาธรรมเปลี่ยนเป็นเรือนร่าง มันจะกลายเป็นสิ่งที่สวยงามที่สุดที่อัลลอฮฺได้ทรงสร้างขึ้นมา"

ความรักและความเมตตามีบทบาทอย่างยิ่งในการโน้มน้าวผู้คนเข้าสู่สรรจธรรม ทำให้ความสัมพันธ์ต่อกันแน่นแฟ้นและอบอุ่นยิ่งขึ้น และขจัดความแตกแยกและความผูกพยาบาทให้หมดไป ดังที่อิมามอะลี (อ) ได้กล่าวว่า:
"قلوب الرجال وحشیّة فمن تألّفها اقبلت علیه - หัวใจของผู้คนนั้นปราดเปรียว ผู้ใดเข้าหามันด้วยความรัก มันจะคุ้นเคยกับเขา"

ความอ่อนโยนของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ในการปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในสังคมคือแบบปฏิบัติของท่านที่มีพื้นฐานมาจากความรักและการมีเมตตาธรรมดังกล้าว ซึ่งได้นำความสำเร็จมาให้ท่านศาสดาทั้งในเวทีทางสังคมในฐานะผู้เชิญชวนผู้คนไปสู่ความดีงามและในเวทีทางการเมืองในฐานะผู้นำรัฐอิสลาม ซึ่งกุรอานได้กล่าวถึงแบบปฏิบัติดังกล่าวนี้ไว้ว่า:
فبما رحمة من الله لِنتَ لهم و لو کنتَ فظّا غلیظَ القلب لأنفضُّوا من حَولک
"ด้วยกับอานิสงก์ของพระเมตตาจากอัลลอฮฺ เจ้าจึงอ่อนโยนต่อพวกเขา และหากเจ้าหยาบคายและมีจิตใจแข็งกระด้างแล้ว พวกเขาจะเตลิดไปจากจากอย่างแน่นอน" 4

บางคนอาจเข้าใจผิดว่าเราจะต้องอ่อนโยนไปเสียทุกเรื่องจนอาจกลายเป็นความอ่อนแอและไม่จริงจัง แต่หากเราได้ศึกษาแบบปฏิบัติของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) โดยละเอียดแล้ว เราจะพบว่าในเรื่องที่เกี่ยวกับหลักการและความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายนั้น ท่านจะเข้มงวดอย่างยิ่ง ดังที่ท่านได้กล่าวถึงการบังคับใช้ข้อกฎหมายว่า: "ประชาชาติในอดีตได้รับความหายนะมาแล้ว เพราะพวกเขาลำเอียงในการบังคับใช้ข้อกฎหมาย เมื่อชนชั้นสูงทำความผิด พวกเขาจะละเลยการลงโทษ แต่หากสามัญชนทำความผิดเดียวกันนั้น พวกเขาจะถูกลงโทษ ขอสาบานด้วยกับพระผู้ซึ่งชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ว่า ฉันจะไม่ละเลยและผ่อนปรนในการบังคับใช้ข้อกฎหมายเป็นอันขาด แม้ว่าผู้กระทำผิดจะเป็นญาติใกล้ชิดของฉันก็ตาม"

ในสงครามค็อยบัรซึ่งเกิดขึ้นในปี ฮ.ศ. ที่เจ็ดและกองทัพมุสลิมเป็นฝ่ายชนะ ศ่อฟียะฮฺ บุตรสาวของ หัยย์ อิบนุ อัคฏ็อบ ปราชญ์ยิวนามอุโฆษ คือเฉลยศึกที่ บิลาล ได้นำตัวเธอพร้อมกับหญิงอีกคนหนึ่งไปยังเมืองมะดีนะฮฺ โดยบิลาลได้พานางเดินผ่านศพของเครือญาติของนางที่นอนตายอยู่ในสนามรบ ซึ่งทำให้เธอร้องไห้และข่วนหน้าข่วนตาของตน เมื่อท่านศาสดาทราบว่าบิลาลไม่ได้รักษามิติทางศีลธรรมและความรักของอิสลามในเรื่องนี้ ท่านจึงกล่าวตำหนิเขาว่า: "โอ้ บิลาล ความเมตตาได้ถูกถอดถอนออกไปจากเธอแล้วกระนั้นหรือ เธอจึงได้หญิงทั้งสองเดินผ่านศพของผู้คนของนาง" ความเคร่งครัดของท่านศาสดาในเรื่องนี้แม้แต่ในสงคราม และการกล่าวตำหนิสหายรักของท่านข้างต้นนั้น ล้วนบ่งชี้ให้เห็นถึงแบบแผนในการมีความรักและความเมตตาธรรมต่อผู้อื่นของท่านศาสดาแห่งอิสลามได้อย่างชัดเจน

การปฏิสัมพันธ์กับผู้คนด้วยความจริงใจและความอบอุ่น การกล่าวสลามทักทายผู้อื่นก่อน การไม่ปล่อยของของท่านก่อนเมื่อจับมือกันในขณะทักทาย การฟังคำพูดของผู้อื่นจนจบโดยไม่พูดตัดบท การถามไถ่ถึงมิตรสหายของท่านเมื่อไม่พบหน้ากันสักสองสามวัน ซึ่งท่านจะขอพรให้เขาหากเขาเดินทางไปนอกเมือง ไปเยี่ยมเขาหากเขาอยู่ในเมือง และไปเยี่ยมไข้เขาหากเขาล้มป่วย รวมทั้งการนมาซรวมกันเป็นหมู่คณะ (ญะมาอะฮฺ) ให้สั้นลงเนื่องจากท่านได้ยินเสียงเด็กทารกร้องเพื่อให้แม่ของเด็กที่ร่วมนมาซอยู่กับท่านนั้นกลับไปดูแลลูกได้เร็วยิ่งขึ้น ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นแบบปฏิบัติของท่านศาสดาที่มีพื้นฐานมาจากความรักและการมีเมตตาธรรมทั้งสิ้น

มีรายงานว่า วันหนึ่งท่านศาสดากำลังนมาซอยู่ ฮุซัยน์ (อ) หลานตัวน้อยของท่านได้คลานเข้ามาและขึ้นไปขี่หลังในขณะที่ท่านก้มกราบ เมื่อท่านเงยขึ้นนั่งท่านจะค่อยๆ เอาหลานรักนั่งบนพื้น แต่เมื่อท่านศาสดาก้มกราบอีกครั้ง หลานของท่านก็จะขึ้นขี่หลังอีก เหตุการณ์ดำเนินไปเช่นนี้จนท่านศาสดานมาซเสร็จ ยิวคนหนึ่งที่ยืนดูเหตุการณ์ทั้งหมดอยู่แต่ไกล จึงเดินเข้ามาหาท่านแล้วกล่าวว่า: ท่านปฏิบัติกับลูกหลานอย่างที่เราไม่เคยเห็นการปฏิบัติเช่นนี้ในหมู่พวกเราเลย ท่านศาสดาจึงกล่าวว่า: หากเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮฺและศาสดาของพระองค์แล้ว จงรักและเมตตาเด็กๆ ฉากและคำพูดดังกล่าวของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ทำให้ยิวผู้นั้นศรัทธาต่ออิสลามและประกาศตัวเป็นมุสลิม

การรู้จักและรักษาสิทธิของผู้อื่น
การตระหนักและการรักษาสิทธิของพระผู้อภิบาล, สิทธิของธรรมชาติรอบกาย, สิทธิของตนเอง และสิทธิของเพื่อนมนุษย์ คืออีกแบบแผนหนึ่งของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ที่เป็นพื้นฐานของชีวิตของท่าน

การที่ท่านศาสดาถือว่าการเคารพภักดีของตนเองเล็กน้อยและจะต้องทุ่มเทปฏิบัติให้มากยิ่งๆ ขึ้น แม้จะได้รับการปรามจากอัลลอฮฺว่า:
"ما انزلنا علیک القرآن لتشقی
"เรามิได้ประทานกุรอานแก่เจ้าเพื่อให้เจ้าต้องลำบาก" 5 ก็ตามนั้น สืบเนื่องมาจากการที่ท่านศาสดาคำนึงถึงความยิ่งใหญ่และความเมตตาอันหาที่สิ้นสุดมิได้ของพระองค์ และตระหนักถึงสิทธิของพระองค์ที่คู่ควรต่อการได้รับการเคารพภักดี

ท่านศาสดาได้กล่าวถึงท่านหญิงค่อดีญะฮฺ (อ) ภรรยาที่ซื่อสัตย์ผู้เป็นมารดาแห่งศรัทธาชนที่แท้จริงว่า: "ภายใต้ฟากฟ้านี้ ไม่มีสตรีคนใดมีความยิ่งใหญ่ บุคคลิกภาพ ความบริสุทธิ์ใจ และการเสียสละเท่ากับค่อดีญะฮฺ" ท่านศาสดากล่าวสรรเสริญท่านหญิงค่อดีญะฮฺ (อ) มิใช่เพราะเธอเป็นภรรยาของท่าน แต่เป็นเพราะสิทธิที่เธอควรได้รับ ดังที่ท่านศาสดาได้กล่าวถึงคุณงามความดีของเธอไว้ว่า: "ค่อดีญะฮฺเข้าใจและยอมรับคำพูดและความคิดของฉัน ในขณะที่คนอื่นไม่มีความสามารถใคร่ครวญมันได้ และเธอได้มอบทรัพย์สินของเธอแก่ฉันในขณะที่คนอื่นๆ พากันหนีห่างไปจากฉัน"

การจูบมือท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ บุตรสาวของท่าน การยืนต้อนรับเมื่อเธอเข้าพบ และการให้เกียรติอย่างที่สุดของท่านต่อบุตรสาวผู้สูงศักดิ์ผู้นี้ ก็เนื่องมาจากสิทธิที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานให้เธอ และท่านศาสดาเองก็ตระหนักและรักษาสิทธิของเธออย่างสมบูรณ์



เชิงอรรถ
1. กุรอานบทมัรยัม โองการที่ ๓๑
2. กุรอานบทยูสุฟ โองการที่ ๑๐๔
3. บิหารุลอันวาร เล่ม ๑๗ หน้า ๖-๓๐
4. กุรอานบทอาลิอิมรอน โองการที่ ๑๕๙
5. กุรอานบทฏอฮา โองการที่ ๒

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

เรื่องราวสอนชีวิต”
ท่านหญิงซากีนะฮ์(อ.) ...
ร็อจอะฮฺคืออะไร ?
ฮิญาบในอิสลาม
จากมักกะฮ์สู่มะดีนะฮ์ ...
นบีมุฮัมมัด พระเมตตาของพระเจ้&
ความไว้วางใจ และ ...
เรื่องเล่าในกุรอาน ตอนที่ 1
ค่ำคืนแห่งความมุ่งหวัง ...
กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการถือศีลอด

 
user comment