ไทยแลนด์
Sunday 28th of April 2024
0
نفر 0

ปรัชญาของวันอีดกุรบาน

สรรพสิ่งแห่งการสรรสร้างของพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) สามารถแบ่งออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ 1- กลุ่มที่จะปฏิบัติตามอารมณ์ความต้องการในทุกๆ สถานการณ์ อาธิเช่น บรรดาสัตว์ 2- กลุ่มที่จะคอยปฏิบัติตามคำสั่งประการเดียว อาธิเช่น มวลมะลาอิกะฮ์ 3- กลุ่มที่บางครั้งจะปฏิบัติตามอารมณ์ความต้องการของตนเอง แต่บางเวลาก็มีความสำนึกที่จะเลือกปฏิบัติตามคำ
 ปรัชญาของวันอีดกุรบาน

สรรพสิ่งแห่งการสรรสร้างของพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) สามารถแบ่งออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่
1- กลุ่มที่จะปฏิบัติตามอารมณ์ความต้องการในทุกๆ สถานการณ์ อาธิเช่น บรรดาสัตว์
2- กลุ่มที่จะคอยปฏิบัติตามคำสั่งประการเดียว อาธิเช่น มวลมะลาอิกะฮ์
3- กลุ่มที่บางครั้งจะปฏิบัติตามอารมณ์ความต้องการของตนเอง แต่บางเวลาก็มีความสำนึกที่จะเลือกปฏิบัติตามคำสั่งบ้างเป็นครั้งคราว ปะปนกันไป กลุ่มที่สามนี้ คือมนุษย์

 
มนุษย์ เมื่อเข้าสู่ภาวะที่ต้องเลือกระหว่างสองทางเลือก คือเลือกปฏิบัติตามความปรารถนาของตนเอง หรือเลือกปฏิบัติตามคำสั่งที่ถูกบัญญัติไว้ และสองทางเลือกดังกล่าวมีผลอย่างใหญ่หลวงต่อจิตวิญญาณ และการใช้ชีวิตทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

 
หากมนุษย์เลือกปฏิบัติตามอารมณ์ปรารถนาของตนเองโดยไม่แยแสต่อพระบัญญัติที่มี แน่นอนก็คงไม่ต่างอะไรนักกับ กลุ่มแรก นั่นคือสัตว์เดรัจฉาน มิหนำซ้ำมนุษย์ผู้นั้นจะมีสภาพที่ต่ำต้อยยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉานเหล่านั้นเสียอีก ด้วยเหตุผลที่ว่า มนุษย์ผู้นั้นเขามีสติปัญญา มีความคิด เข้าใจและรู้จักแบบอย่างอันดีงามจากบรรดาศาสดาของพระผู้เป็นเจ้า แต่เขากลับละเลยที่จะใช้สติปัญญา และความคิด ต่างกับสัตว์ ซึ่งพวกมันไม่มีสติปัญญา และความคิด

 
ดั่งพระดำรัสของอัลลอฮ์ (ซ.บ) ในซูเราะฮ์ อัลอะอ์รอฟ โองการที่ 179 “และมนุษย์ โดยที่พวกเขามีหัวใจซึ่งพวกเขาไม่ใช้มันทำความเข้าใจและพวกเขามีตา ซึ่งพวกเขาไม่ใช่มันมอง และพวกเขามีหู ซึ่งพวกเขาไม่ใช้มันฟังชนเหล่านี้แหละประหนึ่งปศุสัตว์ ใช่แต่เท่านั้น พวกเขาเป็นผู้หลงผิดยิ่งกว่า ชนเหล่านี้แหละ พวกเขาคือผู้ทีเผอเรอ”
จากโองการข้างต้น มนุษย์ที่น่ารังเกียจที่สุดคือมนุษย์ซึ่ง แกล้งเป็นใบ้ แกล้งหูหนวก แกล้งตาบอด ไม่ยอมที่จะใช้สติปัญญา และความคิด (ซึ่งมีพระดำรัสของพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) อยู่ในซูเราะฮ์อัลอัมฟาล โองการที่ 22) แม้ว่าบางครั้งบางโอกาส บางเรื่องไม่จำเป็นต้องใช้ความคิดและสติปัญญาเลย เขาก็ยังแกล้งตีมึนเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ตามสุภาษิตไทย

 
แต่ทว่าหากมนุษย์คนใดที่เขาเลือกปฏิบัติที่จะอยู่ภายใต้พระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้าแล้วไซร้ แน่นอนยิ่ง มนุษย์ผู้นั้นกำลังมีฐานภาพสูงส่งกว่าบรรดามวลมะลาอิกะฮ์ และกำลังมุ่งสู่การใช้ชีวิตเฉกเช่นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มนุษย์กลุ่มนี้ได้พบกับวันอีดที่แท้จริงแล้ว ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอนอันทรงเกียรติ เขาได้เลือกที่จะปฏิบัติตามพระบัญชา ที่ห้ามกิน ห้ามดื่ม ในเดือนรอมฎอนตลอดทั้งสามสิบวัน เขาคู่ควรกับการได้รับวันอีดฟิตร์เมื่อเดือนรอมฎอนจบสิ้นลง เนื่องจากเขาเลือกปฏิบัติตามพระบัญชาแทนการเลือกปฏิบัติตามความปราถนาของตนเอง

 
ดังนั้นเรื่องราวของการเชือดบุตรของท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ) ก็เช่นเดียวกัน เมื่อใคร่ครวญถึง ความรักที่มีต่อบุตรของตนเองของท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) คือความปรารถนา คือสัญชาติญาณ และสัญชาติญาณได้กล่าวแก่ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ทันทีว่า “จงอย่าเชือด อิสมาอีล บุตรของท่าน” เมื่อมีพระดำรัสจากพระองค์ว่าจงเชือดอิสมาอีลบุตรของเจ้า แต่พระบัญชา หรือภารกิจดังกล่าวที่ทรงบัญชาแก่ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) คือ “จงเชือด อิสมาอีล บุตรของท่าน”

 
ในเวลานั้นท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) มีสองทางเลือกเท่านั้น ไม่มีทางเลือกที่สาม คือ
1- “ไม่เชือดอิสมาอีลบุตรของตนเอง โดยปฏิบัติตามสัญชาติญาณ และอารมณ์ปราถนาของตนเอง”
2- “เชือดอิสมาอีลบุตรของตนเอง โดยปฏิบัติตามพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า”

 
แต่ในที่สุดท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ก็เลือกที่จะปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์ ดังนั้นวันดังกล่าวจึงเป็นวันอีด (อีดกุรบาน) สำหรับท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ) ที่ท่านนั้นสามารถเอาชนะเหนืออารมณ์ฝ่ายต่ำของตนเองได้ และปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์ และเมื่อท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ) ลงมือจะเชือดอิสมาอีลบุตรของตนเอง ขณะนั้นเองจึงมีพระบัญชาให้ยกเลิกการเชือดอิสมาอีล ด้วยการเชือดที่ยิ่งใหญ่กว่า ซึ่งการเชือดที่ยิ่งใหญ่กว่าในพระดำรัสของพระองค์นั้น ต้องทำความเข้าใจกันอีกว่ามันคือการเชือดอะไร??

 
ดังนั้นวันอีดกุรบาน คือสัญลักษณ์สำหรับมนุษย์ทุกๆ คนที่สามารถมีชัยชนะเหนือความปรารถนา และความต้องการของตนเองในทุกๆ วัน วันอีดกุรบานคือแบบอย่างอันยิ่งใหญ่สำหรับมนุษย์ชาติที่มุ่งสู่การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เนื่องจากได้มีรายงานหนึ่งจากอิมามอะลี (อ.) ซึ่งได้กล่าวว่า “ทุกๆ วันซึ่งไม่มีการกระทำความผิด วันนั้นคือวันอีด”

 
ปรัชญาของวันอีดกุรบาน คือวันซึ่งวิญญาณแห่งความสูงส่ง มีชัยชนะเหนือความปรารถนา ความต้องการ และตัณหาราคะต่างๆ

 

 

 
โดยเชคมาลีกี ภักดี

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

แบบอย่างความรัก ความเมตตา ...
...
...
...
ปรัชญาการละหมาดในอิสลาม
ท่านหญิงคอดีญะฮฺ บินติคุวัยลิด ...
...
...
บทเรียนจากอาชูรอถึงอัรบะอีน
...

 
user comment