ไทยแลนด์
Tuesday 26th of November 2024
0
نفر 0

ความปราชัยและชัยชนะในทัศนะของอิสลาม

ความปราชัยและชัยชนะในทัศนะของอิสลาม

วามปราชัยและชัยชนะในทัศนะของอิสลาม

 

คำสองคำที่เรามักพูดถึงกันอยู่เสมอเมื่อมีสงครามเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสงครามและการสู้รบได้ยุติลง นั่นก็คือคำว่า “ความพ่ายแพ้” และ “ชัยชนะ” โดยทั่วไปคนส่วนใหญ่จะมองดูผลของสงครามและการต่อสู้แค่เพียงภาพภายนอกหรือเปลือกนอกของมันเท่านั้น แล้วก็จะตัดสินว่าฝ่ายใด “แพ้” และฝ่ายใด “ชนะ” ฝ่ายใดก็ตามที่ประสพความเสียหาย มีผู้คนล้มตายมากกว่า หรือถูกทำลายอย่างราบคาบ ฝ่ายนั้นก็คือ “ผู้พ่ายแพ้” และฝ่ายตรงข้ามคือ “ผู้ได้รับชัยชนะ” นี่คือ มุมมองของมนุษย์ทั่วไป

 

 คำถามมีอยู่ว่า “มนุษย์มีบรรทัดฐานอะไรเป็นเครื่องวัดว่า กองทัพฝ่ายหนึ่งประสพความสำเร็จ (คือได้รับชัยชนะ) ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งประสพความล้มเหลว (คือพ่ายแพ้)”

 บางทีดูผิวเผินแล้วอาจเป็นเรื่องง่ายที่จะบอกว่า ฝ่ายใดแพ้และฝ่ายใดชนะ แต่ในความเป็นจริงแล้วมันเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก

 

ในมุมมองของสติปัญญาและในมุมมองของศาสนาอิสลาม ถือว่าบรรทัดฐานในการวัดผลของการต่อสู้ศึกสงคราม มิได้อยู่ที่ชัยชนะหรือความพ่ายแพ้ทางด้านภายนอกหรือด้านวัตถุ เมื่อสงครามนั้นๆ ยุติลง แต่ในกรณีเช่นนี้ สติปัญญาจะถามว่า “กองทัพทั้งสองฝ่ายได้เข้าสู่สนามศึกด้วยเป้าหมายอะไร?” และเมื่อสงครามยุติลง และเมื่อกาลเวลาผ่านพ้นไปไม่ว่าจะด้วยเวลาอันสั้นหรือยาวนานก็ตาม ฝ่ายใดสามารถไปถึงยังเป้าหมายที่ตนเองกำหนดไว้ได้สำเร็จ? ศาสนาก็จะกล่าวว่า “ในการต่อสู้อย่างมีเป้าหมายและด้วยความบริสุทธิ์ใจของผู้ที่มีศรัทธา ไม่มีคำว่า “พ่ายแพ้” นอกจากว่าการต่อสู้นั้นได้เบี่ยงเบนไปจากแนวทางแห่งสัจธรรม”

เมื่อพิจารณาและใคร่ครวญถึงเป้าหมายอันสูงส่งของท่านอิมามฮุเซน (อ.) และรับรู้ถึงผลอันชัดแจ้งในการยืนหยัดต่อสู้และการพลีชีวิตของท่านในวัน “อาชูรอ”

 

คัมภีร์อัลกุรอานได้กล่าวถึงผลของการต่อสู้ไว้อย่างไร?

ในคัมภีร์อัล กุรอานมีหลายโองการที่กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้ ดังตัวอย่างซึ่งอัลลอฮ์ (ซบ.) ได้ทรงบัญชาต่อท่านศาสนทูต (ศ็อลฯ) ว่า

 “จงประกาศเถิด! พวกท่านรอคอย (และคาดหวัง) สิ่งใดที่จะมาประสพกับพวกเรากระนั้นหรือ? (ไม่มีสิ่งใดจะมาประสพกับพวกเราอย่างแน่นอน) เว้นเสียแต่หนึ่งจากสองความดีงามเท่านั้น (นั่นคือชัยชนะในการทำศึกหรือการเป็นชะฮีดในหนทางของอัลลอฮ์)” (บทอัตเตาบะฮ์/โองการที่ 52)

ลักษณะที่เลวร้ายประการหนึ่งของมุนาฟิกีน (พวกกลับกลอก) นั่นก็คือ หากมีความดีงามใดๆ มาประสพกับท่านศาสนทูต (ศ.) และบรรดาสาวกของท่าน พวกเขาจะรู้สึกกระวนกระวายและไม่พอใจ ในทางตรงกันข้าม หากมีความทุกข์ยากหนึ่งๆ มาประสพกับท่าน พวกเขาก็จะรู้สึกปีติยินดี

อัลลอฮ์ (ซบ.) ได้สอนท่านศาสนทูต (ศ็อลฯ) ให้ตอบโต้บุคคลที่มีพฤติกรรมเช่นนี้ด้วยคำพูดประโยคสั้นๆ ว่า “พวกท่านกำลังรอคอยและคาดหวังสิ่งใดที่จะเกิดขึ้นกับพวกเรากระนั้นหรือ? ไม่มีสิ่งใดจะมาประสพกับพวกเรา เว้นแต่หนึ่งจากสองความดีงามเท่านั้น”

 

  สำหรับบรรดาผู้ศรัทธา (มุอ์มิน) นั้นไม่มีทางตัน หนทางแรกของพวกเขา คือ

การต่อสู้ (ญิฮาด) ด้วยกับความบริสุทธิ์ใจ และจบลงด้วยกับความปราชัยของฝ่ายศัตรู และจะรอรับผลรางวัลของการต่อสู้และความเหนื่อยยากจากการต่อสู้ และรับเกียรติยศและความภาคภูมิใจทั้งในโลกนี้และปรโลก

หรือหนทางที่สอง นั่นคือ การลิ้มรสความหวานชื่นแห่งการเป็นชะฮีด ด้วยเจตนา (เหนียต) ที่บริสุทธิ์และหัวใจที่กระหาย และในสำนวนของคัมภีร์อัลกุรอานนั้น คือ การมีชีวิตที่นิรันดร และรอรับความโปรดปรานต่างๆ จากอัลลอฮ์ (ซบ.) โดยที่พระองค์ทรงตรัสว่า

“และเจ้าจงอย่าคิดว่าบรรดาผู้ที่ถูกฆ่าในหนทางของอัลลอฮ์นั้นตาย ทว่าพวกเขายังมีชีวิตอยู่ ณ องค์อภิบาลของพวกเขา ในสภาพที่ได้รับปัจจัยยังชีพ พวกเขามีความปลาบปลื้มต่อสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงประทานให้แก่พวกเขาจากความโปรดปรานของพระองค์…”

(บทอาลิอิมรอน/โองการที่ 169-170)

 

 และภายหลังจากการเป็นชะฮีดของบรรดามุอ์มิน เลือดของชะฮีดหรือผลต่างๆ ของการเป็นชะฮีดก็จะปรากฏขึ้นในสังคม และจะนำมาซึ่งเป้าหมายอันสูงส่งของการต่อสู้นั้น

 

อีกโองการหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่า “ชัยชนะ” และ “ความพ่ายแพ้” ในทัศนะของอิสลามนั้นมิได้วัดกันที่ผลทางด้านวัตถุหรือผลทางด้านภายนอกเมื่อสงครามและการต่อสู้ได้ยุติลงเพียงอย่างเดียว แต่อิสลามมองดูว่า ผู้ที่ทำการต่อสู้นั้นมีเป้าหมายอย่างไร และต่อสู้ในหนทางของใคร หากเป้าหมายเป็นเป้าหมายที่บริสุทธิ์และมีเจตนาบริสุทธิ์ และเป็นการต่อสู้เพื่อพิทักษ์ปกป้องหลักธรรมอันสูงส่งของพระผู้เป็นเจ้าแล้ว เขาคือผู้ประสพความสำเร็จและได้รับชัยชนะไม่ว่าเขาจะต้องประสพกับชะตากรรมเช่นไรก็ตาม

ในบท อันนิซาอ์ โองการที่ 74 อัลลอฮ์ (ซบ.) ได้ทรงตรัสว่า

“และผู้ใดที่ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์ ไม่ว่าเขาจะถูกฆ่าหรือจะพิชิตก็ตาม ในไม่ช้าเราจะให้รางวัลอันยิ่งใหญ่แก่เขา”

ในโองการนี้อัลลอฮ์ (ซบ.) ได้ทรงชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ผลบั้นปลายของผู้ที่ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์ (ซบ.) คือหนึ่งจากความดีงามสองประการ นั่นคือ

 

           1) ชะฮาดะฮ์ คือการถูกสังหารในหนทางของอัลลอฮ์

           2) มีชัยชนะเหนือฝ่ายศัตรู

 

 ในทั้งสองรูปแบบนี้ (หมายถึงทั้งในกรณีของการถูกสังหารและการได้รับชัยชนะ) เขาจะได้รับผลรางวัลตอบแทนอันยิ่งใหญ่จากอัลลอฮ์ (ซบ.)

ในที่นี้จะเห็นได้ว่า อัลลอฮ์ (ซบ.) ได้กล่าวถึงความเป็นไปได้ไว้เพียงสองรูปแบบเท่านั้น (คืออาจถูกสังหารหรืออาจได้รับชัยชนะ) แต่ความเป็นไปได้ในรูปแบบที่สามซึ่งได้แก่ “ความพ่ายแพ้” อัลลอฮ์ (ซบ.) มิได้กล่าวถึง และในหนทางดังกล่าวนี้เองอัลลอฮ์ (ซบ.) ต้องการชี้ให้เห็นโดยนัยว่า ผู้ที่ต่อสู้และทำศึกในหนทางของพระผู้เป็นเจ้านั้น ไม่มีคำว่า “พ่ายแพ้”

บุคคลที่ยืนหยัดต่อสู้อย่างมั่นคงในหนทางของอัลลอฮ์ (ซบ.) คำว่า “ปราชัย” หรือ “ความพ่ายแพ้” ในทางวัตถุไม่มีความหมายใดๆ สำหรับเขา บ่อยครั้งที่อัลลอฮ์ (ซบ.) ได้ทรงทำให้บรรดาผู้ที่ต่อสู้ในหนทางของพระองค์มีชัยชนะเหนือศัตรูในการศึกสงครามของพวกเขา แต่เราก็ไม่สามารถกล่าวได้ว่า ผลต่างๆ ของชัยชนะในลักษณะนี้จะมีมากไปภาคผลของการยืนหยัดต่อสู้อย่างมั่นคงจนกระทั่งได้รับการเป็นชะฮีด

 เราจะเห็นได้จากขบวนการต่อสู้ของท่านอิมามฮุเซน (อ.) แม้ว่าในภายนอกกองทัพของท่านจะถูกทำลายลงอย่างราบคาบจากฝ่ายศัตรู ท่านอิมามฮุเซน (อ.) และบรรดาสาวกของท่านได้กลายเป็นชะฮีด บรรดาสตรีและเด็กๆ รวมทั้งอะฮ์ลิลบัยต์ของท่านต้องถูกจับเป็นเชลย แต่ผลของมันนั้นมากมายและยิ่งใหญ่กว่าสงครามที่ได้รับชัยชนะเหนือข้าศึกในยุคแรกๆ ของอิสลามเสียด้วยซ้ำไป

 

เป้าหมายในการต่อสู้ของท่านอิมามฮุเซน (อ.)

 เป้าหมายในการยืนหยัดต่อสู้ของท่านอิมามฮุเซน (อ.) ก็เช่นเดียวกัน มิได้อยู่ที่ชัยชนะทางด้านภายนอกหรือทางด้านวัตถุ ดังจะเห็นได้จากคำพูดและสุนทรพจน์ต่างๆ ของท่าน ดังนั้นท่านจึงได้ตัดสินใจต่อสู้โดยไม่คำนึงว่าผลภายนอกของการต่อสู้นั้นจะจบลงอย่างไร!

 

 ท่านอิมามฮุเซน (อ.) ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนในเรื่องนี้ว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮ์! แท้จริงฉันมุ่งหวัง (และมั่นใจ) ว่า สิ่งที่อัลลอฮ์ประสงค์ที่จะให้ประสพกับพวกเรานั้นคือสิ่งที่ดีงาม ไม่ว่าเราจะถูกฆ่าหรือเราจะได้รับชัยชนะ” (อะยานุชชีอะฮ์/เล่ม 1/หน้า 597)

 

 ยิ่งไปกว่านั้น ในมุมมองของท่านอิมามฮุเซน (อ.) ถือว่าบรรดาผู้ที่พลีชีพของตนเองในหนทางของพระผู้เป็นเจ้า คือผู้ที่ได้รับชัยชนะโดยแท้จริง เพราะการเป็นชะฮีดคือ “ชัยชนะ” และ “ความสำเร็จ” อันยิ่งใหญ่ (เฟาซุนอักบัร) ส่วนบรรดาผู้ที่ล้าหลังและเบี่ยงเบนออกไปจากกองคาราวานของบรรดาชะฮีด พวกเขาจะมีชีวิตอยู่โดยปราศจากชัยชนะและความสำเร็จ และการมีชีวิตอยู่ในลักษณะเช่นนี้ในทัศนะของท่านอิมามฮุเซน (อ.) ถือเป็น “ความปราชัย” และ “ความอัปยศ” ที่ขมขื่นที่สุดในชีวิต

 

 ในขณะที่เคลื่อนขบวนออกจากมะดีนะฮ์ ท่านอิมามฮุเซน (อ.) ได้เรียกหากระดาษและปากกา ท่านได้เขียนสาส์นฉบับหนึ่งถึงบรรดาบนีฮาชิมด้วยประโยคสั้นๆ แต่แฝงไปด้วยเนื้อหาสาระและความหมายอันสูงส่ง

ภายหลังจากการกล่าวพระนามของอัลลอฮ์ (ซบ.) ท่านได้กล่าวว่า “แท้จริงผู้ใดก็ตามจากพวกท่านที่เข้าร่วมสมทบกับฉัน เขาก็จะได้รับชะฮีด และผู้ใดที่ละทิ้ง (จากการเข้าร่วมในครั้งนี้) เขาจะไปไม่ถึงซึ่งชัยชนะ วัสลาม”

 (มะนากิบ อิบนิชะฮ์รอชูบ/เล่ม 4/หน้า 76)

 

ท่านอิมามฮุเซน (อ.) ไม่มีเป้าหมายอื่นใดในการยืนหยัดต่อสู้ นอกจากการทำให้สัจธรรมและศาสนาของอัลลอฮ์ (ซบ.) ดำรงอยู่ เป็นการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว และเป็นการปกป้องรักษาไว้ซึ่งเกียรติยศและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ และท่านก็สามารถไปถึงยังเป้าหมายดังกล่าวได้ด้วยความสำเร็จ แม้ว่าตัวท่านและมิตรสหายของท่านจะต้องถูกสังหารลงในวันอาชูรอ ในแผ่นดินกัรบะลาอ์ก็ตาม

 ท่านอิมามฮุเซน (อ.) สามารถกระชากหน้ากากแห่งความชั่วร้ายของบนีอุมัยยะฮ์ออกได้ด้วยความสำเร็จ ท่านสามารถทำลายสภาวะแห่งความหวาดกลัวของประชาชนในการที่จะลุกขึ้นต่อต้านอำนาจการปกครองที่อธรรมและกดขี่ลงได้ ท่านสามารถปลุกจิตวิญญาณและความสำนึกในหน้าที่ความรับผิดชอบที่มีต่ออิสลามและต่อประชาชาติมุสลิมให้เกิดขึ้นในหัวใจของเหล่าศรัทธาชนทั้งหลาย และที่สุดแล้ว ด้วยกับเลือดอันบริสุทธิ์ของท่านอิมามฮุเซน (อ.) ท่านสามารถปลุกเร้าจิตวิญญาณแห่งการต่อสู้ (ญิฮาด) และการพลีอุทิศตนในหนทางแห่งสัจธรรม และการธำรงรักษาไว้ซึ่งหลักธรรมคำสอนอันสูงส่งของพระผู้เป็นเจ้าให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชาติมุสลิมได้

ทั้งหมดเหล่านี้คือเป้าหมายและเจตนารมณ์ของท่านอิมามฮุเซน (อ.) ในขบวนการต่อสู้แห่งอาชูรอของท่าน และเป้าหมายทั้งหมดนี้ได้บรรลุสู่ความเป็นจริง ดังนั้น ท่านอิมามฮุเซน (อ.) คือโฉมหน้าของผู้ที่ได้รับชัยชนะอย่างแท้จริงในสนามศึกแห่งกัรบะลาอ์

 

  ดังนั้น “ชัยชนะ” จึงมิใช่การพิชิตศึกสงครามได้เพียงอย่างเดียว แต่ “ชัยชนะ” ของเลือดที่มีเหนือคมหอกและคมดาบทั้งหลายต่างหากที่ถือเป็น “ชัยชนะ” และ “ความสำเร็จ” ขั้นสูงสุด

 

  วันหนึ่งในนครมะดีนะฮ์ อิบรอฮีม บุตรของฏ็อลฮะฮ์ ได้ถามท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) ด้วยเจตนาที่จะเย้ยหยันถากถางท่านว่า “ในเหตุการณ์แห่งอาชูรอนั้น ใครคือผู้ได้รับชัยชนะ?”

ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) ได้ตอบด้วยคำพูดประโยคสั้นๆ ว่า “เมื่อเวลาของการนมาซได้มาถึง ดังนั้น เจ้าก็จงอะซานและจงอิกอมะฮ์เถิด แล้วเจ้าก็จะได้รู้ว่าใครคือผู้ชนะ”

 (มักตะลุลฮุซัยน์/มุก็อรร็อม/370)

 

หมายความว่า สนามศึกแห่งกัรบะลาอ์ คือการทำสงครามระหว่าง ความศรัทธา (อีมาน) กับ การปฏิเสธ (กุฟร์) และ สัจธรรม (ฮักก์) กับ ความมดเท็จ (บาฏิล) และศัตรูนั้นมีเป้าหมายที่จะลบล้างทำลาย “กะลิมะตุลลอฮ์” (ดำรัสแห่งพระผู้เป็นเจ้า) แต่บิดาของฉันได้ย่างก้าวเข้าสู่สนามศึกสงครามเพื่อพิทักษ์นามชื่อแห่งพระผู้เป็นเจ้าและศาสนทูต และเพื่อปกป้องอำนาจการปกครอง (วิลายะฮ์) และความเป็นผู้นำ (อิมามะฮ์) ดังนั้น เมื่อเสียงอะซาน (การประกาศเชิญชวนสู่การนมาซ) ได้ดังขึ้น เมื่อการนมาซได้ถูกยืนขึ้น และคุณธรรมความดีทั้งหลายได้ถูกปฏิบัติสืบต่อไปในสังคมมนุษย์ เจ้าก็จะรู้ได้ว่า บรรดาศัตรูของท่านสามารถไปถึงยังเป้าหมายของพวกเขาที่ต้องการจะลบเลือนร่องรอยต่างๆ ของวะฮ์ยูของอัลลอฮ์ (ซบ.) ได้หรือไม่?

 

โดย : เชคมุฮัมมัดนาอีมประดับญาติ

ขอขอบคุณเว็บไซต์มูลนิธิส่งเสริมการศึกษาอิสลามและการพัฒนา

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

กุรอานกับเรื่องฟ้าผ่า
28 ซอฟัร ...
ความเป็นพี่น้องในอิสลาม
กุรอานกับการแต่งกาย
ถุงเท้ามุสลิมะฮ์
ดุอาอ์ คือ ตัวกำหนดอิหม่าน”
กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการถือศีลอด
อะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ในอัล-กุรอาน
อัลกุรอาน คัมภีร์แห่งทางนำ
...

 
user comment