ไทยแลนด์
Tuesday 26th of November 2024
0
نفر 0

แนวทางที่ดีที่สุดในการยอมตนเป็นบ่าวของพระผู้เป็นเจ้า

แนวทางที่ดีที่สุดในการยอมตนเป็นบ่าวของพระผู้เป็นเจ้า



แนวทางที่ดีที่สุดในการยอมตนเป็นบ่าวของพระผู้เป็นเจ้า

 

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า

 

یا کُمَیْلُ! اِنَّ اَحَبَّ مَا امْتَثَلَهُ الْعِبادُ اِلَى اللهِ، بَعْدَ الاِقْرارِ بِه وَ بِاَوْلیائِه، التَّعَفُفُ وَ التَّحَمُّلُ وَ الاِصْطِبارُ

 

“โอ้กุเมลเอ๋ย! แท้จริงสิ่งที่เป็นที่รักยิ่งที่สุด ณ อัลลอฮ์ ที่ปวงบ่าวจะเชื่อฟังปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์ ภายหลังจากยอมรับ (ในเอกนุภาพของ) อัลลอฮ์ และ (การยอมรับในสิทธิอันชอบธรรมของพระองค์) นั่นคือตะอัฟฟุฟ (ความรักนวลสงวนตัวและการหลีกห่างจากความชั่ว) ความอดทนและความอดกลั้น” (1)

 

คำอธิบาย :

 

“ตะอัฟฟุฟ” «تَعَفُّف» คืออะไร? คำว่า “ตะอัฟฟุฟ” มี 2 ความหมาย คือ ความหมายเฉพาะและความหมายทั่งไป : ความหมายเฉพาะก็คือ ประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ คือ “ความรักนวลสงวนตัว” ตามสำนวนของคัมภีร์อัลกุรอานที่กล่าวว่า

وَ الَّذینَ هُمْ لِفُروجِهِمْ حافِظُونَ

“และบรรดาผู้รักษาอวัยวะพึงสงวนของพวกเขา” (2) หมายถึง การรักษานวลสงวนตัวจากความแปดเปื้อนทางเพศสัมพันธ์ ดังเช่นที่ท่านศาสดายูซุฟ (อ.) ได้รักษาตนเองจากสิ่งนั้น โดยแลกกับราคาอันหนักหน่วง (คือการถูกจำคุก)

 

      และความหมายทั่วไปนั่นคือ ทุกรูปแบบของความยำเกรง การสำรวมตน ความสมถะและความไม่ใส่ใจต่อสิ่งต้องห้าม (ฮะรอม) ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของทรัพย์สินเงินทอง ตำแห่งชื่อเสียงและปัจจัยอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต การรักนวลสงวนตัวจากความชั่ว ตามความหมายโดยรวมของมัน คือเครื่องบ่งชี้ถึงสถานภาพอันสูงส่งและความศรัทธา (อีหม่าน) ของมนุษย์

 

จุดประสงค์ของคำว่า «تَحَمُّل» “ตะฮัมมุ้ล” (ความอดกลั้น) คืออะไร? ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้นจะมีปัญหาต่างๆ มากมายติดตามมา ไม่ว่าจะในเรื่องของการศึกษาเล่าเรียน การคบค้าสมาคมกับเพื่อน การแสวงหาปัจจัยดำรงชีพที่อนุมัติ (ฮะลาล) การอิบาดะฮ์ (นมัสการ) และการยอมตนเป็นบ่าวของพระผู้เป็นเจ้า ความซื่อสัตย์ การรักนวลสงวนตัว การหลีกห่างจากความชั่ว การธำรงตนอยู่ในแนวทางของพระผู้เป็น กล่าวโดยสรุปแล้ว ทุกรูปแบบของกิจกรรมและการเคลื่อนไหวของมนุษย์ จะมีปัญหาอุปสรรคต่างๆ กีดขวางอยู่ในเส้นทางของเขา ซึ่งมนุษย์จะต้องอดกลั้นต่อปัญหาอุปสรรคเหล่านั้น และจะต้องไม่ท้อแท้สิ้นหวัง


      ความอดกลั้นกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ก็เช่นเดียวกับเรื่องอื่นๆ ที่จะต้องเรียนรู้บทเรียนจากแบบอย่างของท่านศาสดาแห่งอิสลาม (ซ็อลฯ) ในช่วงที่ศัตรูได้ทำร้ายท่านจนถึงขั้นฟันหัก หน้าผากของท่านได้รับบาดแผล ท่านไม่เพียงแต่ไม่ท้อแท้สิ้นหวังเท่านั้น แต่ทว่าด้วยกับการเอาชนะเหนือปัญหาอุปสรรคเหล่านี้ ในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นท่านก็ไม่ละมือจากการชี้นำ (ฮิดายะฮ์) ประชาชน และยังวิงวอนขอพรให้กับพวกเขาว่า

اَللّهُمَّ اهْدِ قَوْمى فَاِنَّهُمْ لایَعْلَمُونَ

“โอ้อัลลอฮ์! โปรดนำทางแก่กลุ่มชนของข้าพระองค์ (แม้พวกเขาจะทำผิดพลาดและทำร้ายข้าพระองค์) เพราะแท้จริงพวกเขาไม่รู้” (3)

การชี้นำทางประชาชนและการเผยแพร่ศาสนานั้น จำเป็นต้องมีความอดกลั้นต่อปัญหาอุปสรรคและความทุกข์ยากต่างๆ

 

«اِصْطِبَار» “อิศฎิบาร” (ความอดทน) คืออะไร? “อิศฎิบาร” มาจากรากศัพท์คำว่า «صَبْر» “ศ็อบร์” (ความอดทน) ความแตกต่างระหว่างคำว่า «صَبْر» “ศ็อบร์” กับคำว่า «تَحَمُّل» “ตะฮัมมุ้ล” นั่นก็คือ คำว่า «صَبْر» “ศ็อบร์” จะมีลักษณะในด้านบวก แต่คำว่า «تَحَمُّل» “ตะฮัมมุ้ล” จะมีลักษณะในด้านลบ ท่านอิมามอลี (อ.) กล่าวว่า

فَصَبَرْتُ وَ فِى الْعَیْنِ قَذًى وَ فِى الْحَلْقِ شَجاً

“ดังนั้น (ในตลอดช่วงการปกครองของค่อลีฟะฮ์ทั้งสามคนนั้น) ฉันจึงได้อดทน ในขณะที่ (ฉันนั้นเหมือนคนที่มี) หนามอยู่ในดวงใจและกระดูกอยู่ในลำคอ” (4) ช่วงเวลา 25 ปี ของการอดทนเช่นนี้ นับว่าเป็นเรื่องที่หนักหนาสากรรจ์อย่างแท้จริง


      เราเองก็เช่นเดียวกัน เพื่อที่จะส่งมอบการปฏิวัติอิสลามไปยังคนรุ่นต่อๆ ไปในอนาคต จำเป็นที่เราจะต้องมีความอดทนและอดกลั้น การรักนวลสงวนตัว การหลีกห่างจากสิ่งต้องห้าม (มุฮัรรอมาต) ต่างๆ ของพระผู้เป็นเจ้า ความอดกลั้นต่อปัญหาอุปสรรคและความความทุกข์ยากต่างๆ ความอดทนและการหักห้ามตน จะเป็นสื่อที่ดีงามและเหมาะสมที่สุดในการรักษาการปฏิวัติให้ดำรงอยู่

 

เชิงอรรถ :

บิฮารุลอันวาร, เล่มที่ 74, หน้าที่ 414
อัลกุรอานบทอัลมุอ์มินูน โองการที่ 5
บิฮารุลอันวาร, เล่มที่ 20, หน้าที่ 21
นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, ธรรมเทศนาที่ 3


แปลและเรียบเรียงโดย : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

กุรอานกับเรื่องฟ้าผ่า
28 ซอฟัร ...
ความเป็นพี่น้องในอิสลาม
กุรอานกับการแต่งกาย
ถุงเท้ามุสลิมะฮ์
ดุอาอ์ คือ ตัวกำหนดอิหม่าน”
กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการถือศีลอด
อะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ในอัล-กุรอาน
อัลกุรอาน คัมภีร์แห่งทางนำ
...

 
user comment