แพทย์ศาสตร์เชิงจิตวิญญาณ
แพทย์ศาสตร์เชิงจิตวิญญาณ, วิศวกรรมและการก่อสร้างเชิงจิตวิญญาณ และศิลปศาสตร์เชิงจิตวิญญาณถูกรวบรวมในวิชาอัคล้าก (จริยศาสตร์อิสลาม) อย่างครบถ้วน
เมื่อมนุษย์มีชีวิตแห่งความเป็นมนุษย์ แน่นอนว่าย่อมมีความป่วยไข้และความตายแห่งความเป็นมนุษย์เป็นสิ่งคุกคามในชีวิต จึงต้องมีการบำบัดรักษาความเป็นมนุษย์อยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้เอง มนุษย์จึงต้องพึ่งพาแพทย์ศาสตร์ในเชิงจิตวิญญาณ
ความสวยงามและความน่าเกลียดในโลกนี้ไม่ถือเป็นคุณค่าอันจีรังแต่อย่างใด
มนุษย์ที่เป็นศิลปินทางจิตวิญญาณเท่านั้นที่มีความสามารถพิเศษในการตกแต่งใบหน้าและเรือนร่างของตนเองในวันฟื้นคืนชีพ (กิยามะฮ์)
ความรู้และการปฏิบัตินั้นมีปฎิกิริยาต่อกัน ความรู้จะผลักดันให้เกิดการปฎิบัติ และการปฎิบัติจะทำให้ความรู้เกิดการผลิดอกออกผล
ด้วยเหตุนี้ มนุษย์ผู้มีความยำเกรง(ในเชิงปฏิบัติ) จึงสามารถเดินหน้าสู่เป้าหมายได้อย่างง่ายดายและราบรื่น และเขาสามารถเข้าถึงในสิ่งที่ซ่อนเร้นจากสายตาของคนทั่วไป
มนุษย์ไม่สามารถที่จะมีวิถีชีวิตที่สมบูรณ์ได้โดยปราศจากศาสนา และด้วยเหตุนี้เองที่มนุษย์ไม่สามารถจะดำรงตนตามหลักจริยธรรมได้โดยปราศจากศาสนาเช่นกัน
จนถึงป่านนี้ เราเองยังไม่ยอมเชื่อกันเลยว่าการตะวัสสุล (การวานสื่อบรรดามะอ์ศูมีนสู่อัลลอฮ์) นั้นมีผลลัพธ์ทางวิชาการและการเรียนรู้
แน่นอนว่าดุอาอย่างดุอาสะฮัร (อ่านยามย่ำรุ่งในเดือนรอมฏอน) มิได้มีผลลัพธ์ด้อยไปกว่าผลที่ได้จากการศึกษาและแลกเปลี่ยนทัศนะทางวิชาการเลย
ดุอาอะเราะฟะฮ์ก็เช่นกัน พวกท่านจงศึกษาเจาะลึก และจงแลกเปลี่ยนทัศนะกันอย่างเข้มข้นเกี่ยวกับดุอานี้
หากเป็นไปได้ ในวันอะเราะฟะฮ์ก็ขอให้ถือศีลอดมุสตะฮับ (สุนัต) ด้วย ด้วยกับเนื้อหาของดุอานี้ พวกท่านจะได้ตั้งเป้าหมายอันสูงส่งได้สำเร็จ
ผู้ที่เข้าศึกษาในสถาบันศึกษาศาสนาก็ดี ในมหาวิทยาลัยก็ดี ล้วนแล้วแต่ควรตั้งเป้าหมายของตนเองในระดับโลก
และขอดุอาให้อัลลอฮ์ทรงบันดาลให้โลกอิสลามและทั่วทั้งโลกได้รับประโยชน์จากปลายปากกาและธรรมวาจาของเขาโดยถ้วนหน้า
ฉะนั้นจึงไม่ควรตั้งเป้าหมายของตนไว้เพียงการจัดการแก้ไขปัญหาในหมู่บ้านหรือตำบลที่ตนเองอยู่เท่านั้น
สรุปใจความการบรรยายธรรมของ อายะตุลลอฮ์ ญะวาดี ออโมลี