ไทยแลนด์
Saturday 23rd of November 2024
0
نفر 0

อียิปต์ ธรรมาสน์ของอิมามมะฮ์ดี (อ.) ในยุคการปรากฏกายของท่าน

อียิปต์ ธรรมาสน์ของอิมามมะฮ์ดี (อ.) ในยุคการปรากฏกายของท่าน



อียิปต์ ธรรมาสน์ของอิมามมะฮ์ดี (อ.) ในยุคการปรากฏกายของท่าน

 

      

มีรายงานฮะดีษ (คำรายงาน) บทหนึ่งได้กล่าวว่า ท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) จะทำให้อียิปต์เป็นมิมบัร (ธรรมาสน์) สำหรับ (การประกาศคำสอนของ) ศาสนาอิสลาม โดยมีปรากฏในคำรายงานของอะบายะฮ์ อัลอะซะดี ที่รายงานมาจากท่านอิมามอะลี (อ.) ซึ่งเขากล่าวว่า :

 

 

 

 

سمعت أمير المؤمنين ع وهو مشتكي (متكِ) وأنا قائم عليه قال: ” لابنين بمصر منبرا, ولا نقضن دمشق حجرا حجرا ولأخرجن اليهود والنصارى من كور العرب ولأسوقن العرب بعصاي هذه! قال قلت : كأنك تخبر انك تحيا بعد ما تموت؟ فقال هيهات يا عباية قد ذهبت في غير مذهب .يفعله رجل مني

 

ฉันได้ยินท่านอมีรุลมุอ์มินีน (อ.) กล่าวในขณะที่แสดงความรู้สึกอัดอั้นใจ (นั่งเอนกาย) และฉันยืนอยู่ต่อหน้าท่าน ว่า “แน่นอนยิ่งฉันจะสร้างมิมบัร (ธรรมาสน์ที่ชี้ทางสว่าง) ขึ้นในอียิปต์ และแน่นอนยิ่งฉันจะรื้อทำลายหินทีละก้อนทีละก้อน และฉันจะขับไล่ชาวยะฮูด (ยิว) และนัศรอนีออกจากแผ่นดินอาหรับทั้งหลาย และฉันจะบังคับชาวอาหรับ (มาสู่สัจธรรม) ด้วยไม้เท้านี้ของฉัน”

 

       

อะบายะฮ์ กล่าวว่า : ฉันได้กล่าวว่า “(โอ้ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน)! ดูเหมือนว่าท่านกำลังจะบอกข่าวว่า ภายหลังจากความตายท่านจะมีชีวิตขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง (และท่านจะกระทำสิ่งเหล่านี้!)” ท่านกล่าวว่า “หาใช่เช่นนั้นไม่

โอ้อะบายะฮ์เอ๋ย! จุดประสงค์จากคำพูดเหล่านี้ของฉันไม่ใช่อย่างที่เจ้าคิด แต่บุรุษผู้หนึ่งจากเชื้อสายของฉันจะกระทำสิ่งเหล่านี้”

(บิฮารุ้ลอันวาร เล่มที่ 52 หน้าที่ 60)

 

      

และในคำรายงานอีกบทหนึ่งจากท่านอิมามอะลี (อ.) ซึ่งพูดถึงท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) และบรรดาสาวกของท่าน โดยที่ท่านกล่าวว่า :

 

ثم يسيرون إلى مصر فيصعد منبره فيخطب الناس فتستبشر الأرض بالعدل وتعطي السماء قطرها والشجر ثمرها والأرض نباتها وتتزين لأهلها وتأمن الوحوش حتى ترتعي في طرق الأرض كالأنعام ويقذف في قلوب المؤمنين العلم فلا يحتاج مؤمن إلى ما عند أخيه من العلم فيومئذ تأويل الآية : يغني الله كلاً من سعته

 

“…ต่อจากนั้นพวกเขาจะเดินทางมุ่งสู่อียิปต์ และจะขึ้นสู่มินบัร (ธรรมาสน์) และจะกล่าวปราศรัยต่อประชาชน แล้วแผ่นดินจะได้รับการแจ้งข่าวดีเกี่ยวกับความยุติธรรม ท้องฟ้าจะให้น้ำฝนของมัน ต้นไม้จะให้ผล พื้นดินจะให้การเจริญเติบโตแก่พืชพันธุ์ และจะประดับประดาความสวยงามแก่ชาวดิน และสัตว์ป่าจะอยู่ในความปลอดภัย กระทั่งว่า มันจะหากินหญ้าอยู่ตามถนนหนทางต่างๆ บนแผ่นดินประหนึ่งดั่งปศุสัตว์ทั้งหลาย ความรู้จะถูกนำเข้าสู่หัวใจของปวงผู้ศรัทธา โดยที่ไม่มีผู้ศรัทธาคนใดจำเป็นต้องอาศัยความรู้จากพี่น้อง (ผู้ศรัทธา) ของตนเลย และในวันนั้นก็คือการตีความ (ตะอ์วีล) ของโองการ ที่กล่าวว่า “อัลลอฮ์จะทรงประทานความพอเพียงแก่เขาทั้งหมด จากความมั่งคั่งของพระองค์”

(บิชาร่อตุ้ลอิสลาม หน้าที่ 71)

       

จากคำรายงาน (ริวายะฮ์) ทั้งสองบทนี้ ทำให้เข้าใจได้ว่า ในยุครัฐบาลของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) อียิปต์จะกลายเป็นศูนย์กลางวิชาการความรู้และเป็นศูนย์กลางการสื่อสารที่โดดเด่นในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อพิจารณาถึงสำนวนที่ว่า :

 

لابنين بمصر منبرا

“แน่นอนยิ่งฉันจะสร้างมิมบัร (ธรรมาสน์ ที่ชี้ทางสว่าง) ขึ้นในอียิปต์”

    

   และสำนวนที่ว่า :

 

ثم يسيرون إلى مصر فيصعد منبره

 

“ต่อจากนั้นพวกเขาจะเดินทางมุ่งสู่อียิปต์ และเขา (มะฮ์ดี) จะขึ้นสู่มินบัร (ธรรมาสน์) ของตน”

 

      

กล่าวคือ ท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) และสาวกของท่านจะเดินทางไปยังประเทศอียิปต์ ไม่ใช่เพื่อที่จะไปพิชิตมันหรือไปจัดตั้งอำนาจการปกครองของท่านที่นั่น แต่ทว่าเนื่องจากประชาชนจะรอคอยต้อนรับท่านอิมาม (อ.) และสาวกของท่าน เพื่อที่ท่านจะขึ้นสู่มินบัร (สถานที่ประกาศคำสอนของศาสนา) ของท่าน ซึ่งท่านจะสร้างมันขึ้นที่นั่น ดังที่ท่านอมีรุ้ลมุอ์มินีน (อ.) ได้กล่าวถึง และเพื่อที่จะส่งคำสอนของท่านออกไปทั่วโลกจากที่แห่งนั้น

 

ที่มา : หนังสือ “อัศรุซซุฮูร” (ยุคแห่งการปรากฏกาย) เชคอะลี อัลกูรอนี

ขอขอบคุณเว็บไซต์ ซอฮิบซะมาน

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ประวัติย่อของอิมามมุฮัมมัด ...
คุณสมบัติของอัล-กุรอาน
สานสัมพันธ์กับอิมามซะมาน
...
...
...
...
อิมามญะอฺฟัรกับวิทยาศาสตร์
ผู้ป่วยแห่งกัรบาลาอฺ (ตอนที่2)
อิมามริฎอ คือ ผู้ค้ำประกันกวาง

 
user comment