เทววิทยาอิสลาม บทที่ 6
การตั้งชื่อศาสตร์เกี่ยวกับหลักศรัทธาว่า เทววิทยา
ประเด็นที่น่าสนใจอีกประเด็นหนึ่ง คือ ทำไมศาสตร์นี้จึงมีชื่อว่า “อิลมุลกะลาม – عِلْمُ الْكَلاَمِ” เป็นภาษาอาหรับ ให้ความหมาย ประโยคหรือคำพูด
และอีกประเด็นหนึ่งที่ควรแก่การค้นคว้าคือการตั้งชื่อว่า”อิลมุลกะลาม”ได้ถูกเรียกมาตั้งแต่สมัยใด?
นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า สาเหตุที่ถูกเรียกขานว่า “อิลมุลกะลาม” เนื่องจากเพื่อเพิ่มศักยภาพความสามารถทางการพูดและการสนทนา เป็นการสื่อถึงความสามารถในการใช้หลักการการพิสูจน์ และการวิภาษวิธี
นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า สาเหตุที่ถูกเรียกว่า “อิลมุลกะลาม” เพราะเหตุว่า เป็นวิธีการและธรรมเนียมปฏิบัติของ นักวิชาการสมัยก่อนมักจะเริ่มต้นสารบัญแต่ละหัวข้อเรื่องของงานเขียนของตัวเองในตำราโดยใช้ ประโยคว่า
كَلاَمُناَ فِي
“กะลามุนา ฟี...แปลว่า บทสนทนาของเราในเรื่อง......หรือแปลว่า คำพูดในเรื่อง....
นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า ที่ถูกตั้งชื่อนี้เนื่องจากว่า วิชานี้พูดถึงประเด็นปัญหาที่กลุ่มสำนักคิดจารีตนิยม(อะฮ์ลุลฮะดีษ)จำต้องสงบปากห้ามใช้เหตุผลและห้ามการถกและวิภาษวิธี
นักวิชการบางท่านกล่าวว่า ชื่อนี้ได้ถูกเรียกขานในช่วงสมัยที่ถกเถียงกันในประเด็นเรื่อง กะลามุลเลาะฮ์ -พระดำรัสของอัลเลาะฮ์(ซบ.)เป็นสิ่งถูกสร้าง(มัคโลค-مخلوق) หรือ เป็นสิ่งเดิม(กอดีม-قديم)มีอยู่คู่กับอาตมันของอัลเลาะฮ์
สองทัศนะนี้ได้ถูกนำมาถกเถียงกัน จนเป็นจุดสนใจในสังคมมุสลิมอย่างมาก และเพิ่มระดับความรุนแรงมากขึ้นจนกระทั่งทำให้ประชาชนต้องสังเวยชีวิตเป็นจำนวนมากจากเหตุการณ์ครั้งนั้น
ในยุคสมัยนี้จึงถูกขนามว่า”ยุควิกฤตการณ์ด้านเทววิทยา”หมายความว่า ในยุคนั้นประเด็นปัญหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานด้านความเชื่อทางศาสนา ว่าด้วยเรื่อง พระดำรัสของอัลเลาะฮ์(กะลามุลเลาะฮ์)เป็นสิ่งใหม่หรือเป็นสิ่งเดิม
จากสาเหตุดังกล่าวจึงเรียกวิชาที่เกี่ยวกับหลักศรัทธาว่า อิลมุลกะลาม
และวิชาที่เกี่ยวข้องกับหลักการพื้นฐานทางด้านหลักศรัทธาถูกเรียกว่า “อิลมุลกะลาม” ในภาษาอาหรับ ความหมายตรงตามศัพท์ภาษาอัลกฤษ คือ Theology แปลเป็นภาษาไทยคือ วิภาษวิทยาหรือเทววิทยา
ดังนั้น”อิลมุลกะลาม”จึงแปลเป็นไทยว่า “เทววิทยาอิสลาม”
บทความโดย เชคญะวาด สว่างวรรณ